10 บทสรุปแห่งปี 2020 ศึกสตาร์ทอัพแห่งเอเชียและวิกฤตโควิด-19 (State of Asian Startups 2020)

May 20, 2021
Neuy Priyaluk

ในปีที่ผ่าน เราแทบจะพูดได้อย่างเต็มปากว่าเป็น 'ปีมรณะของไวรัส COVID-19'

ซึ่งภายใต้วิกฤตนี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไรบ้าง? มนุษย์เราจะยังมีความรู้สึกในแง่บวกกับ Covid-19 ได้อยู่หรือไม่? แล้วอะไรคือผลพวงที่ได้รับมาจากมาตรการ Work-From-Home?

Tech in Asia ได้จัดทำแบบสำรวจสตาร์ทอัพในระยะ Early Stage รวมมากกว่า 400 สตาร์ทอัพ โดยมีเนื้อหาอินไซด์พร้อมรายละเอียดที่สำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:


1. Work From Home กลายเป็น New Normal ไปซะแล้ว

Covid-19 ได้นำทุกคนเข้าสู่ระบบการทำงานจากที่บ้าน (Working from home) นับตั้งแต่ต้นปี 2020 ผู้คนทั้งโลกต้องยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในรูปแบบใหม่นี้ จนเปลี่ยนเป็นความเคยชิน เราพบว่า 20% ของกลุ่มสำรวจ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 3 เท่าของปีก่อน ต้องทำงานทั้งหมดแบบทางไกล และ 71.84% ของคนกลุ่มนั้น เลือกที่จะทำงานที่บ้านในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา

ยิ่งไปกว่านั้น 73.5% ของกลุ่มสำรวจบอกว่า พวกเขามีความประสงค์ที่จะทำงานทางไกล ถึงแม้ว่าวิกฤตการณ์ครั้งนี้จะจบลงแล้ว ก็ยังคงคิดว่า การทำงานในอนาคตจะกลายเป็นการทำงานแบบ Hybrid ที่พนักงานจะมีความยืดหยุ่นกับสถานที่การทำงานมากขึ้น

2. ชั่วโมงทำงานที่ ยาวว..ว นานกว่าเดิม

พนักงานสตาร์ทอัพเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจกล่าวว่า พวกเขารู้สึกว่าพวกเขามีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น ทำงานมากขึ้น และหนักขึ้นจากปีก่อน แต่จากการสำรวจตัวเลขชั่วโมงเฉลี่ยการทำงานต่อวัน กลับไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

เราจึงมีข้อสันนิฐานกันว่า สาเหตุของความรู้สึกนี้ อาจเกิดจากความคลุมเครือของขอบเขตการทำงาน (Blurred Boundaries) ระหว่างการทำงาน และการอยู่บ้าน เนื่องจากพนักงานรู้สึกว่าตนเองต้องตอบข้อความเกี่ยวกับการทำงานนอกออฟฟิศ

3. 'คนโสด' ไม่ใช่ 'คนโปรด' อีกต่อไป..

จากการสำรวจปี 2019 พบว่า Top 3 สิ่งที่ผู้คนมักจะโดนเหยียดมากที่สุดคือ เชื้อชาติ Race (35.4%) รองลงมาคือ สัญชาติ Nationality (30.3%) และตามมาด้วย อายุ Age (29.3%) ในขณะที่การเลือกปฏิบัติตามอายุนั้นมักพบเห็นได้ทั่วไป แต่ในปีที่ผ่านมากลับพบว่า การเลือกปฏิบัติจากสถานะการแต่งงานนั้นเพิ่มขึ้นมากถึง 15.1% จากปีก่อน ซึ่งมีเพียงแค่ 3%

พนักงานที่ไม่มีลูกจะโดนเลือกปฏิบัติมากกว่า ซึ่งเราอาจตีความได้ว่า การเป็น “โสด” นั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการยอมรับ เนื่องจาก คนโสด จะถูกมองว่าต้องมีเวลาว่างมากกว่า ควรจะเพิ่มความพยายามให้กับการทำงานได้มากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เราไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เราคาดการณ์ได้ว่า มันอาจจะมาจากเทรนด์การ Work From Home ที่คิดว่าคนมีครอบครัวจะต้องใช้เวลาไปกับการเลี้ยงลูก

4. อัตราการถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว

พิษโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก การเติบโตหยุดชะงักและชะลอตัวลง หลายอุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยว การบิน และการบริการ ถูกตีกรอบด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ มากมายจนธุรกิจกลายเป็นอัมพาต วิกฤตครั้งนี้บีบบังคับให้หลายบริษัทต้องหาวิธีลดต้นทุน และควบคุมการใช้จ่ายอย่างไม่ปราณี บางบริษัทจึงจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้บริษัทยังคงสามารถอยู่รอดได้ในวิกฤตการณ์เช่นนี้

อัตราการถูกเลิกจ้างสูงขึ้นมากถึง 5% จากปีก่อน รัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก จึงเร่งหามาตรการเพื่อช่วยเหลือบุคคลกลุ่มนี้ในตลาดแรงงาน

จากกลุ่มสำรวจของ Tech in Asia พบว่า เวียดนามกลายเป็นประเทศที่บริษัทมีนโยบายการเลิกจ้างงานสูงที่สุด ส่งผลให้อัตราคนว่างงานในเวียดนามมีมากที่สุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการจับจ่ายใช้สอยของประชากรที่ลดต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและรายได้

5. การจ้างงานยังคงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักในปี 2021

สถานการณ์ที่ไม่มั่นคงของเศรษฐกิจส่งผลให้หลายบริษัทระมัดระวัง และคิดถึงเรื่องการจ้างงานอย่างรอบครอบมากขึ้น เกือบ 40% ของผู้ถูกสำรวจ รู้สึกว่าพวกเขาจะหางานได้ยากขึ้นในปี 2021 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี

6. พนักงานเรียกร้องขอโบนัส และสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น

โบนัส การศึกษาหรือการเทรนนิ่ง หุ้นของบริษัท การจ่ายค่าล่วงเวลา (Overtime) หรือการสนับสนุนด้านสุขภาพ คือ Top 5 ของสิทธิประโยชน์ที่พนักงานสตาร์ทอัพเรียกร้องมากที่สุดในปี 2020 นี้ เทียบกับปีที่แล้ว มีเพียงแค่ โบนัสและการสนับสนุนด้านสุขภาพเท่านั้น ที่ติดท็อป จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้กลายเป็นความจำเป็นมากขึ้น

มากไปกว่านั้น พนักงานยังรู้สึกว่าพวกเขายังคงได้รับ สิทธิการดูแลลูก (Childcare) และสิทธิประโยชน์ในสถานที่ทำงาน (Workplace Benefit) ไม่เพียงพอ

ดังตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ทำงานที่บ้าน (Work From Home) ต้องทำงานควบคู่ไปกับการเลี้ยงลูกในทุกวันทุกเวลา อีกทั้งพนักงานต่างก็เสียสิทธิที่จะได้รับจากการไปออฟฟิศ เช่น ขนม สิ่งสันทนาการ สวัสดิการ หรือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

7. การเติบโตของ Blockchain

การปรับใช้เทคโนโลยี Blockchain สูงขึ้น 7.5% จากปี 2019 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการพุ่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของ Bitcoin จนถึง US$29,389 ในวันที่ 31 ธันวาคมของปี 2020 ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017

การพุ่งทะยานของราคา Bitcoin ครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่นักลงทุนมองว่า Cryptocurrency เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่คล้ายกับทอง ประกอบกับบริษัทธุรกรรมทางการเงินออนไลน์อย่าง Paypal ได้เพิ่มการให้บริการด้านการซื้อ ขาย และถือ Cryptocurrency ทำให้เกิดการเข้าถึงของผู้คนทั่วโลก

Initial Coin Offerings (ICO) คือ การระดมทุนด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผ่านระบบ Blockchain ให้กับบุคคลทั่วไปนั้น มีข้อจำกัดด้านความคุ้มครองและการเยียวยาตามกฎหมาย เนื่องจากถูกค้ำด้วยเรดาห์ของคน 

กว่า 20% ของกลุ่มสำรวจกล่าวว่า บริษัทของตนมีความสนใจที่จะทำ ICO ในปี 2021 นี้ ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เทียบจากปีที่ผ่านมา มากไปกว่านั้นคนจำนวนกว่าเท่าตัวคิดว่า ICOs จะมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปีนี้

Security Token Offerings การออกและเสนอขายหลักทรัพย์โดยใช้ Token เป็นหลักฐานการแสดงสิทธิในสินทรัพย์ และการเอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แบบ Direct Listings ที่ใช้ Decentralized Exchange Protocols ดังเช่น Uniswap นั้น อาจได้รับความนิยมต่อจาก ICO ก็เป็นได้

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก sec.or.th


8. 'จีน' ครองมหาอำนาจ 'สตาร์ทอัพ' ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด

หากพูดถึงแรงบันดาลใจให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในเอเชีย กว่า 40% ของกลุ่มสำรวจ มักจะกล่าวถึง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในขณะที่อีก 26.9% ตอบว่า ตัวพวกเขาเองนี่แหละ ที่เป็นแรงบันดาลใจ

ส่วนสตาร์ทอัพรายใหญ่อย่าง Grab, Gojek, Alibaba รวมไปถึง Jack Ma ก็ได้กลายเป็น 4 อันดับแรก ที่สร้างผลกระทบทางบวกที่ใหญ่ที่สุดให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในทวีปเอเชียนี้

ในสภาวะวิกฤตเช่นนี้ การทำงานและการประชุมแบบทางไกลเป็นที่นิยมอย่างมาก บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีสื่อสารแบบเห็นหน้ากันอย่าง Zoom จึงคว้าตำแหน่งที่ 5 ไปครอบครองได้อย่างไม่มีข้อสงสัย

9. สตาร์ทอัพเชื่อมั่น สามารถระดมทุนเพิ่มได้ในปี 2021

ในขณะที่ขนาดและปริมาณการลงทุนกับ Venture Capital ทั่วโลกลดลงอย่างเห็นได้ชัดในครึ่งปีแรกของ 2020 โดยแต่ละบริษัทมีการระดมทุนเพียง 29.1% ในปี 2020 แต่อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากกว่าครึ่ง (54.4%) ของกลุ่มสำรวจ ยังมีแนวความคิดทางบวก และเชื่อว่า การลงทุนจะสามารถขยายขนาดขึ้นได้ในปี 2021

10. เกิดกระแส SaaS เทรนด์แห่งอนาคต

วิกฤตการณ์ครั้งนี้ เป็นตัวเร่งเครื่องให้เกิดการปรับใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น หลายหน่วยงาน อย่างทีมวิศวกร ก็ได้หันมาใช้เครื่องมือ SaaS มากขึ้น ซึ่งสูงถึง 10% ถัดมาเป็นทีม Marketing ที่ปรับใช้ SaaS ในการจัดการข้อมูล เพิ่มขึ้น 5%

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้ skill ในการปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อเตรียมรับมือกับโลกในทศวรรษใหม่นี้ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดยคุณกระทิง และ Disrupt

อ่านรายละเอียด คลิก: https://www.disruptignite.com 

#CXO #TheNextCXO

ขอบคุณข้อมูลจาก techinasia
https://www.techinasia.com/state-of-asian-startups-2020 


Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง