แอบส่อง EdTech ที่ StormBreaker ลงทุน Batch ล่าสุด น่าสนใจอย่างไร ?

November 17, 2021
Yui Jantanarak

ความท้าทาย EdTech ไทยใน 10 ปีที่ผ่านมา..

เนื่องจากที่ผ่านมาการทำธุรกิจ EdTech ในประเทศไทย มักถูกนักลงทุนมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ยากและมีอุปสรรค บางส่วนยังมีความไม่มั่นใจว่าการศึกษารูปแบบใหม่/เทคโนโลยี จะสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าการศึกษาแบบดั้งเดิมได้ อีกทั้งโอกาสในการสร้างรายได้จากกลุ่มเป้าหมายยังมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งยังต้องแข่งขันกับคอนเทนต์หรือแพลตฟอร์มต่างชาติ สังเกตได้จาก 10 ปีที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนใน EdTech ไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่าง E-Commerce, Logistic, Fintech ที่ดูดเงินนักลงทุนไปมหาศาล ในบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้เล่าถึง ภาพรวม EdTech Ecosystem ในประเทศไทย ซึ่งทาง StormBreaker Accelerator ที่ก่อตั้งโดยดิสรัปท์ ก็เกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่อยากจะช่วยสนับสนุนให้เกิด Ecosystem ของ EdTech (Education Technology) ในไทยให้เติบโต ปัจจุบัน StormBreaker ลงทุนใน EdTech ไปแล้ว 13 บริษัท และยังได้ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อลงทุนใน Social Impact Startup อีก 5 บริษัท เพื่อสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจ

EdTech รุ่นพี่โตกระฉูด ขานรับโลกแห่งอนาคต

ปัจจุบัน EdTech ไทย มี EdTech อย่าง Conicle Learning Platform จาก batch 2 ของสตอร์มเบรกเกอร์ซึ่งระดมทุนได้ถึง 90 ล้านบาท ในรอบ Series A เพื่อ Reskill/Upskill ลูกค้าองค์กร ตอบรับเทรนด์ดิจิทัลที่มีความต้องการทักษะดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการ Talent จำนวนมาก จึงยินดีจ่ายเงินให้กับแพลตฟอร์มที่สามารถแก้ปัญหาการเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกัน บุคคลทั่วไป นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาที่กำลังจะเรียนจบ หรือคนที่ต้องการเปลี่ยนงาน ก็ต้องการการการ Reskill/Upskill ความรู้ ทักษะใหม่ ๆ แห่งโลกอนาคตเช่นกัน เพราะหลักสูตรในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยปรับตัวไม่ทัน โดยประเทศไทยมีนักศึกษาที่เรียนจบด้าน Digital เพียงแค่ครึ่งเดียวของที่ตลาดต้องการ หรือมีเพียง 17,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงคนที่เรียนจบมาแล้วทำงานไม่ตรงสายด้วย ทำให้สุดท้ายแล้วมีคนทำงานด้าน Digital จริง ๆ แค่ 3,000-5,000 รายเท่านั้น

'Future Skill' แพลตฟอร์มพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับคนไทย

ทั้งหมดทั้งมวลทำให้สตอร์มเบรกเกอร์สนใจลงทุนใน Future Skill และได้พูดคุยกับ คุณวิน โอชวิน จิรโสตติกุล ผู้ก่อตั้ง Future Skill แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคตสำหรับคนทั่วไป ในด้าน Business, Technology และ Design โดย FutureSkill มีคอร์สมากมายที่น่าสนใจ เช่น การสร้างเว็บ application, data science การจัดการข้อมูล ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เรียนจบแล้วสามารถสร้างรายได้ได้ โดยแต่ละคอร์สมีราคาหลักร้อยเท่านั้น โดยคุณวิน co-founder ของ Future Skill ยังบอกอีกว่า ..

“หลายคนคิดว่าคนไทยไม่ชอบอ่านชอบเรียน แต่ไม่จริงเลย คนไทยเป็นคนชอบเรียนรู้มาก อัตราเรียนจบบ้านเราสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 2 เท่า และทุก ๆ เดือนการเติบโตของผู้เรียนก็เพิ่มขึ้น เป็นตัวพิสูจน์ว่าเมืองไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาทักษะแล้วจริง ๆ”

ซึ่งเทรนด์ปัจจุบัน ผู้เรียนต้องการเรียนกับผู้เชี่ยวชาญตัวจริง (Real Expert) ที่มีประสบการณ์ทำงานในสายงานนั้นๆ, สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่ผู้เรียนต้องเผชิญ, มี Use Case การนำไปใช้ และแง่มุมที่เกิดขึ้นจริงในสายงานเมืองไทย พร้อมได้ประกาศนียบัตร (Certificate) เพื่อตีตราประทับว่าผู้เรียนมีสกิลนั้นจริง

และเมื่อมาดูที่ตัวเลขธุรกิจ พบว่า Futureskill เป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจและกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด อีกทั้งทีมผู้ก่อตั้งก็มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาทั้ง ด้าน Content,  Agency รวมถึงมีความเชี่ยวชาญเรื่องการตลาดออนไลน์ โดยสตอร์มเบรกเกอร์มองว่า การลงทุนใน Future Skill เราอยากเข้าไปช่วยในส่วนของ Strategy, Partnership ช่วย Explore โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ กับ Partner ใหม่ ๆ เช่น ผู้ประกอบการที่อยู่ในเครือข่ายของเรา เพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโตขึ้น รวมถึงช่วยวางแผนการระดมทุนในรอบถัดไป เนื่องจาก Futureskill ยังไม่เคยระดมทุนมาก่อน โดยเราได้เข้าไปเป็นนักลงทุนกลุ่มแรก ๆ (นอกเหนือจากกลุ่มผู้ก่อตั้ง) และมองว่า FutureSkill ยังมีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกมาก ท่ามกลางความต้องการทักษะใหม่ ๆ และความรู้ใหม่ ๆ ที่ต้องอัพเดตทุกวัน และ FutureSkill ก็ได้เข้ามาอยู่ใน Batch4 ของสตอร์มเบรกเกอร์เป็นที่เรียบร้อย

'Vulcan' ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ ส่งเสริมอุตสาหกรรม AI ไทย

นอกจากนี้การจะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Digital Economy ได้อย่างเต็มศักยภาพ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก (ด้วยศักยภาพการทำงานซับซ้อนได้รวดเร็ว) แต่ก็ต้องอาศัยการป้อนข้อมูลมหาศาลที่ผ่านการระบุและจัดจำแนก (Data Labeling) เพื่อให้ AI ได้เรียนรู้ คล้ายๆ กับการสอนเด็กให้เกิดปัญญาของตัวเอง และไทยก็ยังขาด Ecosystem ที่เอื้อให้ AI Scientist เติบโต โดยการจะพัฒนา AI ให้ฉลาดได้ ต้องมีข้อมูลที่มากพอ เพื่อให้เทรน AI ได้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ประเทศเรามีข้อมูลที่ใช้งานได้จริงไม่มาก หรือจะเข้าถึงได้ก็มีค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงขาดบุคลากรที่เป็นดั่งครูผู้สอน AI สิ่งเหล่านี้เราได้เรียนรู้มาจาก คุณ จูน เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง Vulcan EdTech บริษัทที่ 2 ที่อยู่ใน Batch ล่าสุดของสตอร์มเบรกเกอร์ ซึ่งเป็นแพลฟอร์มพัฒนาทักษะ AI ให้กับผู้พิการและเชื่อมต่อกับโควต้าการจ้างงานผู้พิการให้กับบริษัท โดย Vulcan เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสองด้านทั้งฝั่งผู้พิการและผู้ประกอบการ โดยบริษัทที่มีโควต้าจ้างงานผู้พิการตามมาตรา 35 สามารถนำเงินที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนผู้พิการแต่ละปี มาจ้างงานผู้พิการโดยตรงผ่านแพลตฟอร์มของ Vulcan โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งผู้พิการจะได้รับเงินแบบเต็ม ๆ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายเช่นกัน และผู้พิการยังได้อัพสกิลในการเป็น AI Trainer หรือ Software Developer สร้างอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย โดยทาง Vulcan ยังนำ AI Model ของผู้พิการไปพัฒนาต่อเพื่อตอบโจทย์ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ

โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับ SC Asset ผู้นำด้านอสังหาของเมืองไทยในการพัฒนา Living Solutions ในการนำ AI มาต่อยอดการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อสร้างนวัตกรรมการสั่งงานด้วยเสียง แบบ Home Automation อีกด้วย เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้พิการอีกช่องทาง โดยจะเห็นได้ว่า Solution นี้เป็น Solution ที่ตอบโจทย์และยั่งยืน เพราะเป็นการดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้พิการมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากในอดีตผู้พิการมักได้รับการช่วยเหลือผ่านการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและเมื่อการให้หยุดลง ความช่วยเหลือก็หยุดตามไปด้วย

สำหรับใครอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ EdTech ที่สร้าง impact ในรูปแบบที่ไม่เหมือนใครแบบนี้ รวมถึงอัพเดตเทรนด์ innovation การศึกษาและการเรียนรู้ในอนาคต ห้ามพลาด ! กับงาน StormBreaker x EEF Demo Day นวัตกรรมทางการศึกษาในโลกหลังโควิด 19  (Education in a post-COVID world) จัดขึ้นในวันที่ 18 พ.ย. 2564 เวลา 17.00 - 19.00 น. ผ่าน Facebook และ Youtube Live

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: https://www.facebook.com/DisruptUniversity/posts/4419312564828473

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง