Top 10 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21

February 17, 2022
Nae Nae Montawan

เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา World Economic Forum ได้มีการจัดลำดับ Top 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกในศตวรรษที่ 21 ของเราในอนาคตอันใกล้ ต้นปี 2021 นี้ เรามาดูกันว่า 10 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงเหล่านี้ จะมีอะไรบ้าง

1. Microneedles สำหรับการฉีดยาและการทดสอบที่ไม่เจ็บปวด

หากคุณลองจินตนาการถึงเข็มการพัฒนาของ Microneedles จะช่วยลดความเจ็บของการฉีดยาได้ และนอกจากนั้นยังสามารถส่งเสริม personalized medicine ด้วยการใช้ wireless communication ผ่าน microneedles ได้อีกด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดนั้นคือการที่ microneedles จะเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการแพทย์ การที่เข็มฉีดยามีขนาดเล็กลงนั้น จะทำให้ผู้คนในเขตห่างไกลสามารถเข้าถึงการใช้ได้มากขึ้น เนื่องจากสามารถที่จะฉีดเองได้ หรือเก็บ blood sample เองได้แม้จะไม่มีแพทย์อยู่ในเขตนั้น ๆ ก็ตาม

ตัวอย่างนวัตกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้ว:

  • TAP Blood Collection Device by Seventh Sense Biosystems: เป็นนวัตกรรม microneedles ที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเจาะเลือดเองได้จากที่บ้าน โดยไม่ต้องเสียเวลามาที่โรงพยาบาล

ดังนั้นนวัตกรรม microneedles นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวงการสารธารณสุขไทยและต่างประเทศ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์ และขยายการรักษาไปในพื้นที่ขาดแคลน

2. Sun-Powered Chemistry

Sun-Powered Chemistry คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการ convert unwanted gas (เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) เป็น raw materials ผ่านการใช้ photocatalysts ซึ่งนวัตกรรมนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทาง การแพทย์, อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, ปุ๋ย หรือ นวัตกรรมสิ่งทอ 

โดยวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์กำลังทดลองทำนั้น คือการใช้ photocatalysts ที่สามารถ break bond ระหว่าง carbon กับ oxygen ได้ เพื่อลดประมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง แต่อย่างไรก็ตาม challenge หลัก ๆ ของการพัฒนานวัตกรรมนี้นั้น คือการค้นหา catalysts ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้พลังงานแสงอาทิตย์ 

เมื่อสามารถพัฒนานวัตกรรมนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้วจะสามารถทำให้เราลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและทำให้โลกของเรามีสภาพแวดล้อมที่ดีมากขึ้นได้อย่างแน่นอน

3. การจำลองการรักษาบนโลกออนไลน์ (Virtual Patients)

โดยเฉลี่ยแล้ว ปัจจุบันยารักษาแต่ละตัวใช้เวลามากถึง 12 ปีในการพัฒนาจาก lab มาถึงการใช้ในมนุษย์ การพัฒนาของเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้น จะมาช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจสอบประสิทธิภาพของยา หรือ วัคซีนได้รวดเร็วมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การพัฒนา virtual organs หรือ อวัยวะเสมือน ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของยาหรือวัคซีนได้ทันที แทนที่จะรอตรวจสอบในอวัยวะของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่จริง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและลดต้นทุนในการทำวิจัยยาหรือวัคซีนได้ 

ตัวอย่างนวัตกรรม: HeartFlow Analysis 

  • แพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจได้โดยใช้ภาพ CT scan และปพลตฟอร์มนี้ได้รับการยอมรับจาก FDA หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีนี้นั้น คือการพัฒนา mathematical models และ medical database ที่ใหญ่มากพอ และผ่านการรับรอง เพื่อใช้ทดแทนอวัยวะจริง ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร

4. คอมพิวเตอร์เชิงพื้นที่ (Spatial Computing)

Spatial Computing นั้น จะทำให้การเคลื่อนที่ของสิ่งของต่าง ๆ ถูกเชื่อมต่อกันได้ผ่าน clouds ทั้งหมด ซึ่งเทคโนโลยีนี้เปรียบเสมือนกับเป็นการ upgrade การทำงานของ virtual reality และ augmented reality 

สามารถนำไปใช้ได้ในหลายหลาย industry โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วย

หากท่านลองจินตนาการเหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องการการผ่าตัดด่วน Spatial Computing นั้นจะสามารถส่งข้อมูลประวัติผู้ป่วยได้ทันที เคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากทางที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย สั่งการให้ลิฟท์ และประตูเปิดเพื่อรับผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดได้ทันที และช่วยให้แพทย์สามารถแพลนการผ่าตัดได้ล่วงหน้า 

นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยในอุตสาหกรรม โดยสามารถช่วยส่งเสริมความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานในโรงงาน โดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft และ Amazon ได้มีการลงทุนในเทคโนโลยีนี้มาอย่างต่อเนื่อง

5. การแพทย์ดิจิทัล

เทคโนโลยีที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการเข้าถึงการรักษา การพัฒนา software หรือ application ต่าง ๆ นอกจากจะช่วยแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังสามารถนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลหรือขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ได้อีกด้วย 

ตัวอย่างนวัตกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้ว:

  • Smart Watch: เทคโนโลยีที่มีศักยภาพมากมายในเครื่องที่มีขนาดเล็กพกพาง่าย เหมือนใส่นาฬิกาข้อมือ ซึ่งนอกจากเราจะสามารถคุยโทรศัพท์ หรือ ฟังเพลงผ่านนาฬิกาข้อมือนี้ได้แล้วนั้น ยังสามารถ track การเต้นของหัวใจ และ location ของคุณหรือคนที่คุณรักได้อีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมนี้ทำให้สามารถติดตามผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • Pear Therapeutics reSET technology: เทคโนโลยีการบำบัดพฤติกรรม 12 สัปดาห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น technology-based treatment สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยจาก Opioid Use Disorder เพื่อเพิ่ม engagement ในผู้บำบัด
  • Luminopia: startup ที่ก่อตั้ง VR application เพื่อช่วยรักษาโรค amblyopia หรือ โรคตาขี้เกียจ ในเด็ก โดยการพัฒนาเทคโนโลยีผ่านการใช้ VR headset เพื่อช่วยบำบัดเด็กที่ป่วยจากโรคตาขี้เกียจ ทำให้สามารถบำบัดได้จากที่บ้าน ช่วยลดเวลาในการบำบัด และเพิ่มความสะดวกสบาย

แน่นอนว่า ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ถูกผลิตออกมาอีกมากมายเพื่อพัฒนาการรักษาทางการแพทย์ให้สามารถช่วยผู้ป่วยห่างไกลได้มากขึ้น

6. การบินโดยใช้ไฟฟ้า (Electric Aviation)

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น เราได้เห็นนวัตกรรมการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า อย่างเช่น Tesla ที่ได้มีการยอมรับทั่วโลก หากการบินจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าบ้าง จะเป็นไปได้หรือไม่? 

การเดินทางโดยเครื่องบินนั้น ทำให้เกิด 2.5% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ทั่วโลก การที่เปลี่ยนการบินมาเป็นการใช้ไฟฟ้านั้น วิจัยได้มีการรายงานออกมาว่าจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของพลังงานถึง 90% นอกจากนี้เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้านั้นมีอายุการใช้งานที่นานกว่าอีกด้วย 

อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่พบปัจจุบัน คือ ระยะทางในการเดินทางโดยใช้ไฟฟ้า ซึ่งการบินไฟฟ้านั้นยังไม่สามารถที่จะบินทางไกลได้มากเท่าการบินที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถสนับสนุนการบินไฟฟ้าในระยะทางที่ไหลขึ้นได้นั้น จะถือเป็น major breakthrough ของศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว

7. ปูนซีเมนต์ที่มีคาร์บอนต่ำ

ถ้าเปรียบเทียบปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตปูนซีเมนต์กับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ปล่อยออกมาจากประเทศต่าง ๆ นั้น การผลิตปูนซีเมนต์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ตามมาจากประเทศจีน และสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว!

การพัฒนานวัตกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ที่มีคาร์บอนต่ำนั้น จึงถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมากในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 เพราะโลกของเรานั้นมีเทรนด์ในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ในปัจจุบันนั้น มีการวิจัยนวัตกรรมการเพิ่ม bacteria เข้าไปในปูนซีเมนต์ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ลง เนื่องจาก bacteria สามารถช่วย absorb ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ 

แต่อย่างไรก็ตามนวัตกรรมนี้ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อยอด เพื่อให้มีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น และเมื่อมีนวัตกรรมที่พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การก่อสร้างจะมีความ eco-friendly ดีต่อโลกของเรามากขึ้น

8. Quantum Sensing

Quantum Sensing นั้น เป็นการใช้ quantum system เพื่อวัดและบ่งบอกถึง subatomic particles ได้อย่างแม่นยำ โดยนวัตกรรมนี้ จะสามารถช่วยทำให้มนุษย์สามารถตรวจจับสัญญาณแผ่นดินไหวได้รวดเร็วมากขึ้น และเตรียมรับมือได้มากขึ้น หรือจะเป็นการนำมาใช้ในการตรวจสอบสิ่งของใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ รตรวจสอบท่อต่าง ๆ ได้ดินได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่พบปัจจุบันสำหรับนวัตกรรมนี้ คือ ขนาดของเครื่องมือที่มหญ่และซับซ้อน อีกทั้งยังต้องใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างสูง  โดยนักวิเคราะห์ได้มีการคาดการไว้แล้วว่า ภายใน 3-5 ปีนี้ เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์และการป้องกันภัยอย่างแน่นอน

9. Green Hydrogen

ในปัจจุบัน process การผลิตก๊าซ hydrogen นั้น ยังไม่เป็น process ที่ zero-carbon 100% เนื่องจากยังมีการใช้ fossil fuels แต่นวัตกรรมใหม่ที่นำมาใช้ผลิต green hydrogen นั้น จะเป็น process ที่เกิดขึ้นจาก electrolysis ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้โมเลกุลของน้ำถูกแตกออกเป็น hydrogen และ oxygen โดยไม่มี by product อื่น ๆ เช่น carbondioxide อย่างที่เป็นอยู่ 

นักวิเคราะห์ได้มีการคาดการว่า อีกภายใน 10 ปีข้างหน้านั้น จะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาช่วยลดต้นทุนการผลิต green hydrogen และเมื่อเป็นไปได้แล้วนั้น green hydrogen จะเป็นนวัตกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม และเข้ามาเป็นพลังงานสำคัญในอุตสาหกรรม และการคมนาคมที่อาจจะไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนได้ 

Energy Transitions Commission ได้มีการยืนยันว่า green hydrogen เป็น 1 ใน 4 เทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในการช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายของ Paris Agreement ในการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ลงได้มากกว่า 10 gigatonnes

10. Whole-Genome Synthesis

Whole-Genome Synthesis หรือการแก้ไขยีนส์ จะมีประโยชน์อย่างมากในเชิง การแพทย์ อุตสาหกรรมการเกษตร และ ปศุสัตว์ โดยในทางการแพทย์นั้น อาจช่วยให้เราสามารถรักษาและป้องกันโรคทางพันธุกรรม ส่วนในทางการเษตรนั้น จะช่วยส่งเสริมให้สามารถ engineer พืชให้ทนทานต่อเชื้อโรคได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคของการพัฒนานวัตกรรมนี้นั้น คือ risks ของการนำไปใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นแล้ว จะต้องมีการ regulate ให้ดี เพื่อป้องกันผลกระทบที่ไม่คาดคิดของนวัตกรรมนี้ให้ได้

10 เทคโนโลยีนี้ มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงโลกของเราในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก นักธุรกิจและผู้บริหารทุกคนจึงต้องเตรียมความพร้อมรับมือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามา และสร้างโอกาสจากเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดผลประกอบการ และ impact มากที่สุด

Source: 

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง