เจาะเคล็ด “คุย-เล่น-อ่าน” กระตุ้นเด็กฉลาด พร้อมตอบปัญหา กับคุณหมอ Love to Read

February 25, 2022
Yui Jantanarak

จาก Work from Home ในช่วงที่ผ่านมา เหล่าบรรดาผู้ปกครองที่มีลูกเล็กและทำงานที่บ้าน ก็ล้วนประสบปัญหาในการเลี้ยงดูบุตรหลาน เช่น เด็กไม่โฟกัสกับการเรียนออนไลน์ หรือ หลายคนรู้สึกว่าเด็กดื้อขึ้น พูดยากขึ้น บางครั้งก็ไม่อยากให้เด็กๆ เข้ามารบกวนระหว่างทำงาน หรือเผลอดุเด็กๆ ที่พยายามเข้ามาเล่นกับเรา จนหลายครั้งต้องปล่อยเด็กให้เล่นไอแพดหรือสื่อต่าง ๆ โดยไม่จำกัด

ทางดิสรัปท์ และสตอร์มเบรกเกอร์ ได้มีโอกาสทำงาน support คุณหมอ ทีม Love to read กลุ่มคุณหมอรุ่นใหม่ไฟแรง นำทีมโดย คุณหมอจอย ผศ.พญ.พรชนก วันทนากร กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยคุณหมอจอยบอกว่า สมาธิเด็กวัย 5 ขวบ ที่จริงแล้ว 10-20 นาที ในการโฟกัสกับการเรียนออนไลน์คือเก่งมากแล้ว เพราะเด็กๆ ต้องใช้ทักษะสมองหลายด้านมากในการโฟกัสหน้าจอ รวมถึงพยายามไม่ distract กับสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน การเรียนออนไลน์ของเด็กอนุบาลจึงไม่ได้ผลมากนัก หากเรียนได้สัก 30-50% ก็ถือว่าเก่งแล้ว เพราะการเรียนที่ได้ผลต้องเป็นการลงมือทำจริงมากกว่า และหากคุณพ่อคุณแม่สามารถลองจัดเวลาเป็น Schedule แต่ละวันในการ “คุย - เล่น - อ่าน” กับเด็ก ๆ จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้อย่างมาก และถือเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 0-3 ขวบ เพราะนี่คือ 'ช่วงเวลาทอง' ในการพัฒนาสมองทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา การตัดสินใจ การใช้เหตุผล ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสามารถของเด็กในอนาคต (ผู้เขียนเคยเล่าถึงเรื่องนี้ในบทความก่อนหน้า สามารถอ่านเพิ่มเติม ที่นี่)

ผู้ก่อตั้ง Love to Read

นอกจากนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทีม Love to Read ได้มีการลงพื้นที่ชุมชนโรงงานจังหวัดสมุทรปราการ และค่ายทหารสระบุรี ทำเวิร์คชอบสร้างโรงเรียนพ่อแม่ ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้วยการเริ่มต้นอ่านหนังสือให้เด็กตั้งแต่เกิด และใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในครอบครัว แนะนำวิธี คุย-เล่น-อ่าน กระตุ้นพัฒนาการลูก พร้อมแจกหนังสือนิทาน แต่เมื่อมีภาวะโควิด ทางทีม Love to Read จึงเปลี่ยนแผนมาทำ online workshop สำหรับพนักงานบริษัทที่มีลูกเล็กแทน เพื่อช่วยให้ความรู้และตอบปัญหาพ่อแม่ที่ดูแลลูกเล็กช่วง work from home และยังได้รับการสนับสนุนและผลตอบรับที่ดีมาก ๆ จากผู้เข้าร่วมอบรม

โดยในปีนี้ได้มีการจัดบรรยายให้กับทาง TCP หรือกลุ่มกระทิงแดง รวมถึงมีการทำงานร่วมกับ ห้องสมุด TK Park ในการให้ความรู้และขยายห้องสมุดเด็กเล็กทั่วประเทศ ซึ่งคุณหมอมักจะได้รับคำถามคลาสสิค ที่ถูกถามบ่อย ๆ ในระหว่างการเข้าไปอบรมให้ความรู้คุณพ่อคุณแม่ และอยากนำมาแชร์ให้ได้อ่านกันดังนี้:

ระหว่างวันที่ต้อง WFH เด็ก ๆ ไม่ยอมเรียน บางครั้งก็มารบกวนคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง จะจัดการอย่างไรดี ?

คุณหมอจอยให้คำแนะนำว่า เด็กยังเล็กมาก ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองในการเรียน อาจต้องแบ่งหน้าที่กันในครอบครัว เช่น คุณพ่อมาดูช่วงเวลานี้ คุณแม่ดูช่วงเวลานี้ แต่หากไม่สามารถทำได้ ก็ต้องสื่อสารกับคุณครูว่า ขอ record ไปก่อน แล้วคุณแม่จะมาสอนเองทีหลัง แต่สอนแบบลงมือทำจริง เช่นพาลูกไปเล่นในครัว สอนนับผลส้ม เป็นต้น ส่วนที่เด็ก ๆ มากวน เพราะเด็กไม่ทราบว่าต้องทำอะไร ในช่วงเวลาไหน สามารถแก้ไขได้ด้วยการหากิจกรรมให้เด็กเล่นคนเดียวในช่วงสั้น ๆ แต่เด็กควรได้รู้ล่วงหน้า เด็กจะได้สามารถจัดการตัวเองได้ รู้ว่าตอนไหนสามารถเล่นกับพ่อแม่ได้ เตรียมไว้เลยว่าลูกชอบเล่นอะไร ก็วางของไว้ Set schedule ให้เป็น routine แล้วเด็ก ๆ จะรับรู้ได้ เช่น ให้หนูระบายสี ต่อเลโก้ เวลา 9-10 โมง แล้วบอกว่าคุณแม่จะมาเล่นด้วยตอน 10 โมงนะคะ

ถ้าเรามีเวลาคุณภาพแบบนี้บ่อย ๆ จะช่วยได้มาก คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นเติมน้ำมัน เติมความรักให้ลูก เวลาเด็กทำดี ให้เข้าไปกอด ไปชม บางครั้งผู้ปกครองลืมตรงนี้ไป และไปมี reaction แค่ตอนเด็กมารบกวนอย่างเดียว จึงควรต้องหมั่นเติมน้ำมันบ้าง

(ร่วมกับ ห้องสมุด TK Park ในการให้ความรู้ด้านพัฒนาการเด็ก)

เข้าใจว่าเด็กเล็กยังไม่ควรใช้หน้าจอหรือสื่อออนไลน์ แต่ช่วงโควิดนี้หลีกเลี่ยงยาก ขอข้อแนะนำว่าเด็กควรดูอะไรได้บ้าง?

คุณหมอจอยเล่าให้ฟังว่า มีหลักการ 3C คือ Content, Co-view และ Context

1. Content
เด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ดูหน้าจอเลยค่ะ เพราะด้วยข้อจำกัดด้านพัฒนาการสมอง ทำให้เด็กๆ อาจจะยังไม่เข้าใจเนื้อหาที่ถ่ายทอดผ่านสื่อที่เป็นภาพ 2 มิติ ถ้าอยากให้เด็กเรียนรู้ต้องเป็นการลงมือทำจากประสบการณ์จริง จะได้ประโยชน์มากกว่า

(แต่ช่วงโควิดก็มีการอนุโลมให้เด็ก 1.5 - 2 ขวบใช้จอได้บ้าง เช่น การติดต่อสื่อสารผ่าน skype, facetime ที่ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ) 

หากเด็ก 2 - 5 ขวบ ให้จำกัดไม่เกินวันละ 1 ชม. ซึ่งอาจจะมีพักบ้าง ไม่ควรดูติดต่อกันตลอดทั้ง 1 ชม.เพื่อให้เด็กๆ ได้พักสายตาและได้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ บ้าง

2. Co-view

คือ การที่เราเข้าไปนั่งดูกับลูกด้วยว่าลูกดูอะไร และเป็นโอกาสที่ดีที่จะสร้างเวลาคุณภาพอีกรูปแบบหนึ่ง เราสามารถชวนคุยได้ เช่น peppa pig ไปทำอะไร? เล่นน้ำฝนหรือเปล่า? จะเป็นหวัดไหมน้า? จะได้ขยายการเรียนรู้และเชื่อมสัมพันธภาพ

ในส่วนของเว็บและ content ที่แนะนำ เช่น www.commonsensemedia.org เป็น content ที่กรองมาแล้วสำหรับเด็ก ๆ หรือ Youtube Kid ก็ช่วยกรองเนื้อหาได้ระดับหนึ่ง สำหรับ Application ให้พยายามเลือกเป็น Interactive Media อย่าง Khan Academy Kid เช่น  มีการทำตามคำสั่ง มีการ interact ในเกมส์ 

**โดยในแต่ละครั้งไม่ควรนาน หรือมากที่สุดคือ 30 นาที แล้วพักไปทำอย่างอื่น 

ถ้าเด็กเปลี่ยน youtube ได้ดั่งใจ จะทำให้เด็กกลายเป็น “อดทนรอไม่ได้” และอาจจะ “ซนขึ้น” และเนื้อหาในเรื่องต้องไม่เปลี่ยนแปลงไวเกินไปและไม่รุนแรง

3. Context

เราจะหากิจกรรมอย่างไรดี ?

ถ้าคุณพ่อแม่ท่านไหนเล่น Facebook / YouTube สามารถเข้าไปดูที่  https://www.facebook.com/thedadlab มีแนะนำ activity สามารถนำเอามาใช้ได้ เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ในบ้านอยู่แล้ว หรือ ลองเสิร์ช Pinterest คำว่า activity for kid ได้ หรือจริงๆในปัจจุบันตาม Facebook group คุณพ่อคุณแม่ ก็มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมสำหรับเด็กๆ เยอะแยะมากมาย เหมือนเป็นอีก community หนึ่งที่ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี

สำหรับใครที่ชื่นชอบเนื้อหาดี ๆ เช่นนี้ สามารถติดตามชมและเป็นกำลังใจให้คุณหมอจอย และทีม Love to Read ได้ในงาน StormBreaker x EEF Demo Day นวัตกรรมทางการศึกษาในโลกหลังโควิด 19 (Education in a post-COVID world)

นอกจากนี้ยังมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ EdTech ที่สร้าง impact ในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงอัพเดตเทรนด์ innovation การศึกษาและการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 18 พ.ย. 2564 เวลา 17.00 - 19.00 น. ผ่าน Facebook และ Youtube Live

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: https://www.facebook.com/DisruptUniversity/posts/4419312564828473

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง