จากไอเดียตลาดนัดจตุจักร สู่ Startup ฉายแวว unicorn

May 20, 2021
Patch Rawanghet

การเติบโตอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นโดยมีอุปสรรคหรือไม่? ถ้ามี Zilingo จัดการกับปัญหาเหล่านี้ยังไง?

Ankiti Bose และ Dhruv Kapoor ผู้ก่อตั้ง Zilingo จากไอเดียที่เกิดขึ้นในตลาดจตุจักร โดย Bose มองเห็นว่าร้านค้ามากกว่า 10,000 ร้าน จะสามารถสร้างรายได้มากขึ้นกว่านี้ หากขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีลูกค้าอยู่ทั่วทุกมุมโลก ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิด Zilingo ขึ้นมา

ปัจจุบัน Zilingo มีสาขาอยู่มากกว่า 7 ประเทศ ทั้งประเทศไทย อเมริกา อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น อีกทั้งยังมี service ที่มากกว่าเพียง platform ในการขายออนไลน์ เช่น การให้บริการกู้ยืมเงิน (FinTech), รับถ่ายภาพ (Studio), บริการขนส่ง(Shipment) และ บริการด้านการตลาด นอกจากนั้นแล้ว Zilingo ยังให้บริการทั้งในส่วนของ B2B (Zilingo Trade) และ B2C (Zilingo Shopping) เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าครบทั้งวงจร โดยมีเป้าหมายที่จะเป็น one-stop shop ในหมวดของ Fashion และ Beauty ทั้งหมด

การก่อตั้งสตาร์ทอัปนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะนอกจากไอเดียที่ดีแล้ว การที่สตาร์ทอัปจะสามารถประสบความสำเร็จได้นั้น มีปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น จำนวนลูกค้า, ทีม, และเวลาที่เหมาะสม สิ่งสำคัญในการระดมทุนรอบแรก คือ Unique Selling Point (USP) อะไรคือสิ่งที่เรามี แต่คนอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ สำหรับ Zilingo หนึ่งในปัจจัยนั้นคือความสามารถของผู้ก่อตั้ง ที่ลงมือเดินสาย encourage แม่ค้าให้เปิดร้านค้าบน platform ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือ ทำให้ Zilingo สามารถระดมทุนจากบริษัทที่ Bose เคยทำงานอยู่ได้ อย่าง Sequioa Capital ในประเทศอินเดีย

https://www.owler.com/company/zilingo

Zilingo เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และในเวลาเพียง 4 ปี ได้รับเงินระดมทุนมากถึง 5 รอบ โดยเริ่มจาก Seed จำนวน 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐ, Series A จำนวน 8 ล้านเหรียญสหรัฐ, Series B จำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ, Series C จำนวน 54 ล้านเหรียญสหรัฐ, และล่าสุด Series D จำนวน 226 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Temasek เป็นผู้ร่วมลงทุน ซึ่งรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินสูงถึง 306.9 ล้านเหรียญสหรัฐ นั่นหมายความว่านักลงทุนหลายฝ่าย เห็นปลายทางความสำเร็จของ Zilingo และพร้อมผลักดันให้บริษัทไปได้ไกลยิ่งขึ้น

ก่อนยุคโควิด-19

ในปี 2019 Zilingo เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล มูลค่าบริษัทเกือบจะเหยียบ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปี 2018 มากกว่า 5 เท่า เป็นจำนวน 102 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2019 ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำรายได้สูงสุดทั้งสองปีซ้อน ในขณะที่อินเดียและอินโดนีเซียโตขึ้นประมาณ 16 เท่าจากปี 2018 ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะยืนหนึ่งทั้งสองปีซ้อน แต่รายได้ในประเทศไทยนั้น กลับโตเพียง 3.5 เท่าจาก 12.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 44.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

https://www.techinasia.com/zilingo-grew-big-lost-big-2018-2019

กล้าที่จะแตกต่าง

ขณะเดียวกัน บริษัทกลับขาดทุนกว่า 88.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมาจากค่าการตลาดและโฆษณา หนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักนั้นคือ Campaign #DareToBeBold ที่ได้ ใหม่ ดาวิกา มาเป็นพรีเซนเตอร์ และการลงโฆษณาบนรถไฟฟ้าบีทีเอส จนผู้ใช้งานรถไฟฟ้าได้ยินคำว่า “กล้าที่จะแตกต่าง” จนติดหู หากแต่การลงทุนครั้งนี้ไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าในมุมมองของผู้บริหาร เพราะเป็นการใช้จ่ายที่มากแต่ผลลัพธ์ไม่เท่าที่คาดหวังไว้ จึงทำให้บริษัทตัดสินใจเลือกที่จะหา opportunity ใหม่แทน การตัดสินใจครั้งนี้ได้เปิดตลาด Zilingo ให้กว้างขึ้นด้วยการหันไปโฟกัสที่ B2B และ Software-as-a-Service (SaaS) หลังจากที่ได้ซื้อ nCinga Innovations ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับ SaaS ในประเทศศรีลังกา ในราคา 15.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมุ่งหวังที่จะขึ้นเป็น Global Digital Supply Chain Enabler

ภาพจาก Zilingo

กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ความท้าทายเพื่อเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถือเป็น norm ของ Startup ที่พร้อมจะเติบโต ทุกคนมุ่งหวังที่จะเป็นคนแรกเพื่อหา niche ให้เจอ และสร้าง solution ที่เป็นที่ต้องการของตลาด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องใน Zilingo จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาดใจ ตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปี 2015 Zilingo ได้เริ่มจากการเป็น Fashion Shopping Site และผันตัวมาเป็น Marketplace ที่พร้อม provide service ให้กับ Fashion Wholesaler และในขณะนี้ก็กำลังต้องการที่จะตีตลาด software

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน เพราะหากผู้บริหารละสายตาไปจากเป้าหมายสำคัญของบริษัท พนักงานทั้งหมดก็อาจหลงทางและอาจเกิดความชุลมุนในการทำงาน ในเคสของ Zilingo หลายครั้งที่คำสั่งจากผู้บริหารเกิดขึ้นอย่างสายฟ้าแลบ เพราะตัวเลขที่ไม่ถึงยอดและไม่สามารถเดินต่อไปในเส้นทางเดิมได้ จึงต้องหาทิศทางใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นสร้างความลำบากให้กับพนักงานในการวางแผนทำงานระยะยาว และอาจสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าที่พนักงานต้องโทรไปขอยกเลิกโปรเจ็กต์เพราะคำสั่งของผู้บริหารที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงที่บ่อยครั้งส่งผลให้ให้องค์กรไม่มีแผนระยะยาวในการอยู่รอด และอาจได้รับผลกระทบที่มากกว่าผู้อื่นในช่วงวิกฤต

วิกฤตโควิด-19 สึนามิทางเศรษฐกิจ

โควิด-19 สร้างความเดือดร้อนให้ผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยอย่าง Fashion ที่คนหันมาใช้จ่ายน้อยลง​ ส่งผลให้ Zilingo ต้องตั้งรับและออกนโยบายจ้างพนักงาน 5% ออกในเดือนเมษายน และอีก 12% ในเดือนมิถุนายน บวกกับการปิดตัวลงอย่างชั่วคราวของออฟฟิศในประเทศอเมริกาและออสเตรเลีย

วิกฤตครั้งนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของ Zilingo ในหลายด้าน ด้วยเศรษฐกิจที่แย่ลง บริการกู้ยืม (FinTech) จึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากคนมีกำลังซื้อและกำลังจ่ายน้อยลง ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายคืนได้ตรงเวลา

ในขณะที่บริษัท e-Commerce หลายเจ้าได้พลิกวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาสอีกครั้งด้วยธุรกิจเดิม เช่น Shopee หรือ Lazada ที่กอบโกยเงินไปได้จำนวนมหาศาล และไม่มีปัญหาในการทำยอดให้ถึงเป้าหมายด้วย Campaign 4.4 หรือ 5.5 เพราะมีแม่ค้าที่พร้อมขายบน platform และกลุ่มลูกค้าที่เบื่อการอยู่บ้านและมีกำลังจ่าย และต้องการซื้อความสุขจากนอกบ้านเนื่องจากไม่สามารถไปไหนได้

https://www.itday.in.th/zilingo-encourages-merchants-to-resell-online-again-with-free-delivery/

Zilingo ใช้วิกฤตครั้งนี้ เพื่อเจาะตลาดใหม่ และผันตัวมาขาย หน้ากาก PPE และ Fast-Moving Consumer Goods (FMCG) เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าที่ไม่สามารถขายของหน้าร้านได้ในช่วงนี้ โดยบริษัทได้ explore หลาย option เพื่อการอยู่รอดและเติบโตในมรสุมลูกใหญ่ครั้งนี้

  1. Business Matching – Zilingo ได้ช่วยจับคู่กลุ่มลูกค้าที่อยากได้หน้ากากผ้าและผู้ผลิตหน้ากากผ้า ภายใต้โมเดล Business Matching ซึ่งเป็นหนึ่งใน service ของบริษัท ในยุคที่หน้ากากขาดแคลนเพื่อช่วยกระจายสินค้าให้ทั่วถึงทุกคน
  2. Free Shipping – Zilingo เลือกที่จะสนับสนุนผู้ค้าให้กลับมาขายออนไลน์ด้วยการจัดส่งฟรี โดยมีผู้ใช้บริการอย่าง ข้าวสารตราพญาไอยรา ซึ่งปกติปลูกข้าวมาตรฐานส่งออก แต่ไม่เคยทำการตลาดในประเทศไทย เนื่องด้วยการส่งข้าวนั้นมีราคาที่แพง และผู้ค้าอาจสู้ไม่ไหว เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ไม่สามารถส่งออกได้ ให้ยังคงทำธุรกิจได้ต่อไป
  3. Partnership – Zilingo ได้พาร์ทเนอร์กับ Unilever เพื่อส่งสินค้าในราคาส่งเพื่อให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าการตัดสินใจครั้งนี้อาจเปิดโอกาสให้ Zilingo ได้เจาะตลาดใหม่ แต่การขาย FMCG นั้นขัดกับเป้าหมายที่จะเป็น One Stop Shop for Fashion ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับหลายฝ่าย และทำให้จุดหมายปลายทางของ Zilingo ขาดความชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก 

นอกจากนั้นแล้วการสละตำแหน่ง CFO ของ James Perry เพื่อกลับไป Citigroup ยังสร้างความสะเทือนใจให้แก่เหล่าพนักงานหลายฝ่าย

เส้นทาง (เขย่ง)-ก้าว-กระโดด ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

แม้ว่า Zilingo จะเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีออฟฟิศในหลายประเทศ แต่เส้นทางนั้นมีกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคที่ท้าทาย ประกอบกับอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ Headquater ประเทศสิงคโปร์ ที่ใช้ quantitative data เป็นตัวตัดสินใจโดยบางทีอาจลืมคำนึงถึง qualitative data การประสบความสำเร็จในประเทศหนึ่ง อาจไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จในอีกประเทศหนึ่ง เพราะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผู้เล่นในตลาดที่ต่างกัน และพฤติกรรมของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน

การขึ้นเป็น unicorn บริษัทจะต้องเป็น Global Monopoly Model (เป็นบริษัทที่ทำสิ่งนี้หนึ่งเดียวในโลก เช่น Facebook) หรือ Local Monopoly Model (แอปส่งข้อความอย่าง Line ของประเทศไทยที่ยืนหนึ่งเดียว) เพื่อมี market share ในตลาดให้มากพอที่จะ survive ในทุกสถานการณ์

ในส่วนของประเทศไทยเอง Zilingo ถือได้ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เมื่อเทียบกับ Fashion Startup ที่คล้ายคลึงกันอย่าง Pomelo ที่คนไทยนิยมและเชื่อถือ ดังนั้นหาก Zilingo ยังไม่สามารถทำให้คนไทยเข้าใจและเชื่อในผลิตภัณฑ์ได้ การจะประสบความสำเร็จในตลาดเมืองไทยอาจเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายพอสมควร เราคงต้องติดตามกันต่อว่า Zilingo จะเลือกเดินไปทางไหน จะหา niche market ของโลกและขึ้นชื่อว่า Global Monopoly Model หรือจะตีตลาดทีละประเทศและใช้ Local Monopoly Model เพื่อเป็น Local Winner ในประเทศนั้น ๆ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าติดตาม

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือกับโลกในทศวรรษใหม่นี้ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดย คุณกระทิง พูนผล และ Disrupt อ่านรายละเอียด คลิก

#CXO #TheNextCXO

Source
https://www.techinasia.com/zilingo-grew-big-lost-big-2018-2019
https://www.owler.com/company/zilingo
https://www.itday.in.th/zilingo-encourages-merchants-to-resell-online-again-with-free-delivery/
https://zilingotrade.com/en-th/blog/BLGZILINGOXUNILEVER
https://www.techinasia.com/zilingos-layoffs-expose-internal-fault-lines

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง