7 Future of Work Trends - โลกการทำงานแห่งอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างไร

December 21, 2020
Patty Pemika

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิกฤต COVID-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ภาพการทำงานในโลกอนาคตเปลี่ยนไปตลอดกาล ไม่ว่าจะคุณจะเป็นผู้ประกอบการ พนักงานบริษัท หรือบุคคลากรภาคการศึกษา นี่คือ 7 เทรนด์สำคัญที่คุณควรทราบ เพื่อเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางการทำงานครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้

1. Machine as a Colleague เทคโนโลยีจะกลายเป็นเพื่อนร่วมงาน

AI, Machine Learning, IoT เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานดั้งเดิมไปตลอดกาล หากเราจะใช้ประโยชน์จากความสามารถของแรงงานและเทคโนโลยีนี้ให้เต็มที่ เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเราต่อเทคโนโลยี โดยมองว่าเทคโนโลยีไม่ใช่ “ศัตรู” ที่จะมาแย่งงานไปจากมนุษย์ แต่จะมาเป็น “เพื่อนร่วมงาน” ของเรา เพราะมนุษย์และเทคโนโลยีมีความถนัดที่แตกต่างกัน และไม่สามรถทดแทนกันได้โดยตรง

ดังนั้น คำถามที่องค์กรทุกคนควรถาม จึงไม่ใช่แค่ “จะนำเทคโนโลยีมาทำสิ่งที่เราทำอยู่ได้สะดวกขึ้น ลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานได้อย่างไร” แต่ควรถามว่า “เราจะออกแบบการทำงานระหว่างคนและเทคโนโลยี ดึงศึกยภาพของทั้งสองฝ่าย และสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าและธุรกิจได้อย่างไร” ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน การพัฒนาบุคลกร ไปตลอดจนการวางกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ แรงงานที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่ตลาด ก็ไม่ควรมองถึงทักษะในการสร้างเทคโนโลยีอย่าง data science หรือ coding เท่านั้น แต่ควรผนวกความเข้าใจในเทคโนโลยีเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้มองเห็นโอกาสการร่วมงานกันระหว่างคนและเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ ๆ ได้

2. Data as a Basis of all Jobs ทุกอาชีพจะขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ในยุคที่ผ่านมา หากไม่เลือกทำงานสาย Data Science หรือ Software Engineers ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาเรื่อง Data เลยก็ได้ แต่ในปัจจุบัน ข้อมูลเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนทุกสายอาชีพและทุกอุตสาหกรรม แม้แต่ในสายงาน creative งาน Design จะกลายเป็น Data-driven Design มีการนำข้อมูลมาใช้ในการทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้า กำหนดขอบเขตปัญหา ตลอดจนการออกแบบและนำเสนอให้ลูกค้า งาน Marketing จะกลายเป็น Data-driven Marketing มีการวัดผลความสำเร็จของแต่ละกิจกรรมด้วยข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ insights มาใช้กับการทำการตลาดครั้งต่อไป หากใครปฏิเสธที่จะใช้ข้อมูลในยุคนี้ ก็จะเสียเปรียบคู่แข่งอื่นในตลาดเอาได้ง่าย ๆ

ดังนั้น องค์กรควรเริ่มพิจารณาว่าจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมและจะเก็บอย่างไรให้เป็นระบบ วางแผนการจ้างและพัฒนาศักยภาพบุคลาการให้สามารถดึง insights จากข้อมูลจำนวนมากได้ และสถาบันการศึกษาเองก็ควรเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้แรงงานในอนาคตทุกคนสามารถนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับสายอาชีพที่สนใจได้

3. Intrapreneurship within Organizations องค์กรต้องเร่งสร้าง “intrapreneurs” หรือผู้ประกอบการภายใน

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดมา Disrupt อุตสาหกรรรมต่าง ๆ มากมาย จนบริษัทใหญ่ยักษ์หลายแห่งได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น Airbnb กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือ Netflix กับอุตสาหกรรมการบันเทิง ที่นำเอาเทคโนโลยีมาสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้ลูกค้าทั่วโลก ส่งผลให้บริษัทใหญ่เริ่มผันตัวมาเป็นหนึ่งในผู้สร้าง innovation เพื่อ disrupt อุตสาหกรรมที่ตนอยู่ด้วยตนเอง เพื่อรักษาจุดยืนในตลาดและอยู่รอดต่อไปให้ได้

หากองค์กรใดต้องการสร้าง innovation ต้องสร้างกลุ่มคนเรียกว่า Intrapreneurs หรือ ผู้ประกอบการภายในก่อน กลุ่มคนเหล่านี้จะทำงานเป็นเหมือนเจ้าของธุรกิจตนเอง มี passion และมองเห็นโอกาสในการสร้างคุณค่าเพิ่มเติมให้กับลูกค้า กล้าที่สร้างสรรค์และทดลองไปกับ innovation ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น product, service หรือแนวการทำงานที่ทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

ดังนั้น องค์กรควรเริ่มจากการจ้างคนที่มีทัศนคติและทักษะของผู้ประกอบการ (entrepreneurial spirit) สร้าง culture และ process การทำงานที่สนับสนุนให้พนักงานกล้าเสนอและทดลองไอเดียใหม่ ๆ ดังตัวอย่างของบริษัท IBM ที่ประกาศต่อพนักงานอย่างชัดเจนว่า “We ask our employees to behave in an intrapreneurial, non-bureaucratic and productive manner” หรือ บริษัทรวบรวมรูปภาพระดับโลกอย่าง Shutterstock ก็มีการจัด internal hackathon ที่ให้พนักงานลองทำไอเดียใหม่ ๆ ภายใน 24 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน

4. Skill-based Talent Development แรงงานต้องถูกพัฒนาทักษะที่จำเป็น ไม่ยึดติดกับตำแหน่งงาน

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ตำแหน่งงานใหม่ ๆ กว่า 133 ล้านงานกำลังจะถือกำเนิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ตำแหน่งงานอีกกว่า 75 ล้านงานก็จะหายไป แต่เมื่อ COVID-19 ที่เป็นเหมือนตัวเร่งความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น ทำให้สิ่งที่คาดการณ์ไว้ อาจมาถึงเร็วกว่าที่คิด

องค์กรและสถาบันการศึกษาจะต้องปรับแนวคิดในการพัฒนาคน จาก role-based development ไปเป็น skill-based development เน้นเสริมสร้างทักษะที่จะจำเป็นไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งงานหรือองค์กรรูปแบบใด เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และความคิดสร้างสรรค์ หากสถาบันการศึกษาไม่สามารถทำให้แรงงานในอนาคตมีทักษะที่ยืดหยุ่นเหล่านี้ได้ ก็มีโอกาสที่ประเทศไทยจะเห็นอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น

5. Gig Economy แรงงานชั่วคราวจะกลายเป็นกำลังหลักของเศรษฐกิจ

ในปัจจุบัน เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังถูกขับเคลื่อนด้วย Gig Economy แรงงานชั่วคราวกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน Part-time หรือ Short-term Contract ที่รับงานเป็น Project เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้ทำให้สามารถเลือกประเภทงาน และรูปแบบการทำงานของตนเองได้อย่างอิสระ

สถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ยิ่งเร่งการเติบโตของ gig economy มากขึ้น เพราะในสภาวะที่ธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องมองหาแรงงานที่มีทักษะที่ต้องการแต่ข้อผูกมัดทางการจ้างงานน้อยอย่าง gig workers กันมากขึ้น โดยในปัจจุบันแรงงานขอไทยเป็น gig workers ไปแล้วกว่า 30% และมีคนไทยที่อยากลาออกจากงานประจำมารับงาน gig ถึง 86% ด้วยกัน

การเติบโตของ gig economy จะนำมาซึ่งการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ของทุกคน องค์กรต้องหาวิธีเข้าถึงและจ้างงาน gig workers ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงพิจารณากฎระเบียบของสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันของพนักงานชั่วคราวและพนักงาน full time

สถาบันการศึกษาเองก็ต้องช่วยเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานในอนาคต เพื่อให้มีทักษะและความรู้ที่จำเป็น ในกรณีศึกษาของ Babson College ในสหรัฐฯ ได้เปิดคอร์สสอน Gig Economy ที่ครอบคลุมทักษะอย่างการสร้างบริษัทของตนเอง การบริหาร office หลังบ้าน ไปจนถึงการพิจารณาและต่อรองสัญญาทางธุรกิจ นอกจากนี้สถาบันยังสามารถปรับเปลี่ยนการสอนให้นักเรียนมีโอกาสสะสมผลงานหรือ portfolio แทนที่จะสะสมเพียงเกรดเฉลี่ยเป็นหลัก เพราะนายจ้างจะไม่ได้พิจารณาจากผลการเรียนหรือวุฒิการศึกษามากเท่าเดิมอีกแล้ว

6. Workplace with no boundaries ทุกคนจะทำงานร่วมกันได้อย่างไรขีดจำกัด

วิกฤตการณ์ COVID-19 ทำให้องค์กรทั่วโลกตระหนักว่า การทำงานไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอยู่ที่ physical office อีกต่อไป ผู้คนกว่า 83% ในสหรัฐฯ กล่าวว่าการทำงานจากบ้านนั้นยังคงมีประสิทธิภาพ และบริษัทชั้นนำมากมายอย่าง Facebook และ Twitter ก็ได้ออกนโยบายให้พนักงานสามารถทำงานจากบ้านตามความสมัครใจได้ตลอดไป

การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เราได้เห็นองค์กรต่าง ๆ ทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติมากขึ้น มีการเข้าถึงแรงงานและผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ห่างไกลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นอกจากนี้ การทำงานจากทางไกล ยังทำให้พนักงานสามารถเลือกคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาและเงินไปกับการเดินทางในแต่ละวัน

ในขณะเดียวกัน องค์กร แรงงาน และสถาบันการศึกษาก็ต้องปรับตัว เตรียมพร้อมแรงงานให้มี Digital Skills เพื่อให้ทำงานผ่านเทคโนโลยีทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพได้ ทั้งทักษะการสื่อสาร การใช้ collaboration tools ต่าง ๆ รวมถึงการควบคุมการปลอดภัยของข้อมูลทางออนไลน์ ดังที่เห็นจากโครงการทางการศึกษาของ Microsoft ที่ได้ปล่อยคอร์สเรียนชุด Digital Literacy ประกอบไปด้วยคอร์ส Communicate Online, Collaborate and Manage Content Digitally, Participate Safety and Responsibility Online และอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ องค์กรยังต้องพิจารณาวิธีการประเมินพนักงานในรูปแบบใหม่ และกำหนดขอบเขตของการเก็บข้อมูลโดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอีกด้วย

7. Brands Finding Social Value ทุกธุรกิจต้องมีคุณค่าทางสังคมที่ชัดเจน

เรากำลังอยู่ในยุคที่กำไรไม่สามารถเป็นเป้าหมายหลักด้านเดียวของธุรกิจได้แล้ว สถิติเผยให้เห็นว่าธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายทางสังคม (purpose-driven companies) มีผลดำเนินงานดีกว่าบริษัทโดยเฉลี่ยในตลาดหุ้นถึง 42% นอกจากนี้ ลูกค้าก็สนใจที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่มีเป้าหมายทางสังคมมากขึ้น โดย 79% เผยว่าพวกเขาจะจงรักภักดีกับแบรนด์ และ 73% พร้อมที่จะช่วยปกป้องแบรนด์เหล่านั้น และสุดท้าย แม้แต่พนักงานก็มองหานายจ้างที่ไม่ได้ทำเพื่อผลกำไร แต่ทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง หากพวกเขาได้อยู่ในองค์กรที่มีเป้าหมายตรงกัน จะมีโอกาสที่จะอยู่ต่อมากกว่า 5.3 เท่าเลยทีเดียว

การทำโครงการ CSR รูปแบบเดิม ไม่เพียงพอที่จะทำให้ลูกค้า พนักงาน และนักลงทุนเชื่อว่าเรากำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงจริงอีกต่อไปแล้ว องค์กรและธุรกิจรูปแบบจึงต้องเร่งหาเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจน เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการในธุรกิจให้เกิดผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด และก้าวเข้ามาเป็น ‘ผู้นำ’ ที่จะสร้างคุณค่าทางสังคมให้กับประเทศและโลกได้

เจาะลึก Trend โลกการทำงานแห่งอนาคต

หากคุณเป็นตัวแทนขององค์กรที่ต้องการปฏิวัติเพื่อความอยู่รอดในยุค Digital Disruption หรือแรงงานที่ไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ห้ามพลาดงาน Education Disruption Virtual Conference พบกับ speaker ชื่อดังผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อ “Future Workforce” จากองค์กรชั้นนำทั่วโลกอย่าง KBTG, AIS, TCP, Stanford University, และ Fathem.ai ที่จะมาแชร์ insights เชิงลึกแบบที่หาได้ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น ให้คุณได้ก้าวล้ำหน้าเทรนด์โลกการทำงานก่อนใคร

พบกับหัวข้อ “Future of Work: What Will the Workforce Look Like in 2030” โดย คุณกระทิง พูนผล Chairman ของ KBTG และ Managing Partner ของ 500 TukTuks ที่จะมาแชร์แนวคิดว่าโลกการทำงานในอีก 10 ปีข้างหน้ากำลังจะเปลี่ยนไปมากกว่าที่คุณคิด และแบ่งปันมุมมองว่าองค์กร สถาบันการศึกษา และแรงงานแห่งอนาคตจะต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อให้อยู่รอดและเป็นผู้ชนะใน “Golden Decade of Reimagination”

“Talent Empowerment: People Development in the Digital Age” โดย คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม Group Chief Human Resources Officer of AIS Plc. and Intouch Holding Plc. ที่จะมาแชร์มุมมองในฐานะ HR ยุค Digital Era ที่เต็มไปด้วยการอุปสรรคและโอกาสที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ หน้าที่ของ HR ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอด บริษัทมองหาอะไรในตัวพนักงาน และมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพบุคลการอย่างไร ให้มีทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นได้อยู่เสมอ

“Intrapreneurship and 21st Century Skills Development for Corporate Innovation” โดย Professor Charles Eesley จากมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง Stanford University ที่จะมาพาทุกคนไปรู้จักกับบทบาทสำคัญของการสร้างนวัตกรรมในองค์กรอย่าง “Intrapreneurs” หรือผู้ประกอบการภายใน และแบ่งปัน insights จาก research ที่จะช่วยตอบคำถามได้ว่า องค์กรต้องสร้างสภาพแวดล้อมแบบใดเพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ จากคนในองค์กรได้อย่างยั่งยืน

“Reinventing Professional Education for the Future Workforce of Thailand” โดย คุณเอ สราวุฒิ จาก TCP หรือ บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล  ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประเภทอาหาร และ เครื่องดื่มระดับโลก ที่จะมาเป็นตัวแทนขององค์กรยุคใหม่ผู้มองหาแรงงานที่จะมาช่วยขับเคลื่อนองค์กรในรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งแบ่งปันโอกาสในตลาดการศึกษาสำหรับคนวัยแรงงาน ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพของแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดและองค์กรในยุค Digital Disruption

“The Model of Future Work Scenarios” โดย Greg Miller, Executive Director of Faethm แพลตฟอร์มระดับโลกที่ใช้ AI คาดการณ์ผลกระทบของสถานการณ์ต่าง ๆ ต่อแรงงานในปัจจุบันและอนาคต โดยจะมาแชร์ insights มูลค่ามหาศาล จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทั่วโลก ว่าทักษะใดกำลังเป็นที่ต้องการ สายอาชีพจะต้อง upskill หรือ reskill อย่างไร รวมทั้งแบ่งปันว่า องค์กรจะสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาบุคลกรให้ก้าวทันโลกอนาคตอย่างไรได้บ้าง

Education Disruption 2 - Content รูปแบบ Online รับชมได้ตั้งแต่ 14 - 28 พฤศจิกายน ผ่าน Online Platform

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง