Corporate x Startup เมื่อองค์กรใหญ่ร่วมมือกับสตาร์ทอัพสร้างนวัตกรรมใหม่

November 19, 2019
Pat Thitipattakul

ปัจจุบันนี้ สังเกตเห็นได้ว่าองค์กรใหญ่ ๆ เริ่มหันมาจับมือเป็นพันธมิตรกับสตาร์ทอัพมากขึ้น เพื่อผลักดันนวัตกรรมใหม่ออกสู่ตลาด พัฒนา solution ใหม่ ๆ มาเพิ่มคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือ นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร

ทั้งที่ธุรกิจสตาร์ทอัพ เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่อาจเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน และมีความเสี่ยง เหตุใดกันองค์กรใหญ่ชื่อดังระดับประเทศที่มีฐานลูกค้ามากมาย ถึงได้เปิดใจทดลองสิ่งใหม่ ๆ ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพเหล่านี้? แล้วการทำงานร่วมกันระหว่าง สตาร์ทอัพ กับ องค์กรใหญ่ มีลักษณะเป็นอย่างไร? ทำไมถึงเป็นแบบ win-win องค์กรจริงๆ แล้วอยากได้อะไร? คนที่ทำสตาร์ทอัพแล้วอยาก partner กับ corporate จำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างถึงจะมีโอกาส ?

เราจะมาหาคำตอบเพิ่มเติมกันจากประสบการณ์ของ คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ หรือคุณเหม็ง Managing Director แห่ง dtac accelerate โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพแนวหน้าของไทยที่จัดโดย dtac เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรใหญ่และสตาร์ทอัพ

ในมุมมองของ คุณเหม็ง ช่วงหลังๆ มานี้ ทำไม corporate หรือองค์กรใหญ่ ๆ ถึงได้สนใจร่วมมือกับสตาร์ทอัพมากขึ้น และคาดหวังอะไรจากการทำงานกับสตาร์ทอัพ?

จริง ๆ ต้องบอกอย่างนี้ก่อนครับว่า Corporate เราเปรียบเหมือนปลาอ้วน อุดมสมบูรณ์ เราอยู่ในจุดที่ เราก็ไปได้เรื่อย ๆ ว่ายน้ำไปเรื่อย ๆ ทุกปีมีผลประกอบการที่ดี แต่พอถึงจุด ๆ หนึ่งที่พอมันมี Technology Disruption เข้ามา ก็ขับเคลื่อนตัวได้ช้า ก็จะสู้พวกปลาเร็วไม่ได้ ทำให้ Corporate เรารู้ตัวครับว่า ด้วยความที่เราเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีพนักงานเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ คน หลายครั้งในการปรับเปลี่ยน การเคลื่อนย้าย หรือการปรับอะไรต่าง ๆ มันทำได้ช้ามาก

แล้วในขณะเดียวกันมันก็เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่มาจากกลุ่มของ Startup ซึ่งคือกลุ่มคนกลุ่มนึง หรือบริษัทที่ก่อตั้งมาที่ใช้ Technology ในการ Scale ขยาย และการ Repeat ทำซ้ำ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดดในเวลาที่รวดเร็ว ถ้านึกภาพไม่ออก ก็นึกภาพพวก Grab, Uber, Airbnb ที่แบบเพียงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา สามารถเติบโตได้อย่างมหาศาล

ซึ่งก็กลับมาดูว่า Corporate อยากทำแบบนั้นบ้างได้ไหม? คำตอบคือ ณ วันนี้มันยังทำไม่ได้อย่างนั้น เพราะว่าเราไม่สามารถเคลื่อนตัวได้เร็วขนาดนั้น

ในขณะที่ Startup สามารถเคลื่อนตัวได้เร็ว เขาสามารถเข้าถึง Technology ได้เร็ว เพราะฉะนั้น Corporate อย่างเราทำอย่างไร?

ผมยกตัวอย่าง อย่าง dtac เรารู้ตัวเอง ว่าถึงแม้เราเป็นโทรคมนาคมก็จริง เราเร็วกว่า Industry อื่น ๆ แล้วนะ

แต่ถามว่าเร็วพอไหม คำตอบก็คือเร็วยังไม่พอ !!

เรายังเร็วสู้ Startup ไม่ได้...

ผมยกตัวอย่าง Startup จะออก product หรือ ออก application เนี่ย ใช้เวลาเพียง 8 วันเขาก็เขียน code เสร็จละ สามารถ deploy features 2-3 features แรกได้ทันทีให้คนลองใช้

ในทางกลับกันถ้าเป็น Corporate ใหญ่ จะ deploy application หรืออะไรต่างๆ ต้องผ่านกระบวนการภายใน  มีโครงสร้างในองค์กรที่ชัดเจน ต้องผ่านการอนุมัติจากหลายฝ่ายกว่าจะออกสู่มือผู้บริโภคได้ ซึ่งใช้เวลามากถึง 18 เดือน ไม่ใช่ 8 วัน

ถึงแม้ในเรื่องความเร็วเราจะสู้ Startup ไม่ได้ แต่ Corporate ก็มีจุดแข็งอื่น ๆ เรามีฐานลูกค้า เราอยู่ในอุตสาหกรรมนาน เรารู้จักลูกค้าเราดี เราเป็น Domain Expert ใน Industry ของเรา แต่สิ่งที่เราไม่มีคือเรื่อง Innovation และความเร็วในการทำงาน

เพราะฉะนั้น นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม Corporate อย่าง dtac อยากจะช่วยเข้ามาสนับสนุนในส่วนนี้ เพราะว่าเราสามารถเรียนรู้ไปกับ Startup ได้ด้วย

นอกจากเรื่องนวัตกรรมของ Startup แล้ว องค์กรยังสามารถเรียนรู้วิธีการทำงานแบบ Startup ได้ด้วย เช่น

  • วิธีการทำงานแบบ Agile Development ที่แบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ ทำแล้ว test แล้วปรับแก้ไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เพิ่มมาทีละส่วนจนสมบูรณ์เป็นภาพใหญ่ ไม่ใช่ทำแบบทั่วไปที่รอให้สมบูรณ์ทั้งหมดก่อนแล้วค่อยมา test กับ user
  • วิธีการทำงานแบบ OKR (Objectives and Key Results) ที่การตั้งเป้าต่าง ๆ ที่เด็ก Google, Facebook ใช้กัน แตกต่างจากตัวชี้วัด KPI ของ Corporate ในแง่ของความยืดหยุ่น การปรับเปลี่ยนเป้าหมายเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับธุรกิจ และการเน้นเลือกทำแต่สิ่งที่สำคัญที่จำเป็นต่อการเติบโตขององค์กร อย่างในกรณีของ dtac ก็มีการนำหลักการ OKR มาประยุกต์ใช้กับ KPI แบบดั้งเดิม ออกมาเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า OKD

ดังนั้น การที่องค์กรใหญ่เข้าไปเป็นพันธมิตรกับสตาร์ทอัพ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรของตัวเองปรับเปลี่ยนไปได้ทันความต้องการของผู้บริโภคและเทรนด์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

Corporate สามารถร่วมมือกับ Startup อย่างไรได้บ้าง?

การร่วมมือกันก็มีหลายรูปแบบ เช่น

  • Co-innovate ร่วมกันออกนวัตกรรมใหม่ๆ สู่ตลาด พัฒนา product ร่วมกัน หรือว่าให้ฝั่ง Startup ทำ product มาแล้วนำมา plug-in กับสิ่งที่ Corporate มี เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าที่ Corporate มีอยู่ ทำให้สินค้าและบริการที่มีอยู่มีความน่าสนใจมากขึ้นในตลาด
  • Invest การที่บริษัทใหญ่ตั้ง Corporate Venture Capital (CVC) มาเพื่อลงทุนซื้อหุ้นสตาร์ทอัพ ซึ่งในกรณีนี้ส่วนมากจะมี synergy เป็นตัวขับเคลื่อน กล่าวคือ สิ่งที่ Startup ทำมันมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจหลักของ Corporate เช่น บริษัท Retail กับ Startup ที่ทำด้าน eCommerce
  • Acquire การลงทุนซื้อบริษัท Startup หรือ ทำ Joint-Venture ร่วมกัน
  • การตั้งโครงการ Accelerator บ่มเพาะสตาร์ทอัพ เพื่อเฟ้นหา Startup ที่เพิ่งเริ่มต้นแต่ดูมีศักยภาพ มาช่วยส่งเสริมให้พวกเขาสามารถพัฒนาออกมาเป็นธุรกิจได้จริง เพื่อที่ Corporate จะได้นำมาใช้ในอนาคต
  • B2B Client เป็นลูกค้าใช้บริการของ Startup
  • Integrate เช่นมี API เชื่อมข้อมูลกัน

ตัวอย่างการร่วมมือกันระหว่าง Startup กับ Corporate จากประสบการณ์ของคุณเหม็ง

dtac

เราเปิดโอกาสให้ Startup ที่มี product หรือ service ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า dtac ให้เข้ามาอยู่ใน dtac reward ได้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ดีแทคใช้ในการทำ Customer Relationship Management (CRM) ได้ ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าให้แก่ Startup เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้านับล้านของ dtac ได้

ในทางกลับกัน dtac ก็ได้ประโยชน์คือได้มีสิ่งใหม่ๆ บริการหลากหลายมามอบให้กับลูกค้าของเราเสมอ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของ dtac ที่ต้องการตอบโจทย์ lifestyle ของผู้บริโภคอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น Skootar ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ On-demand messenger เรียกคนขับรถมอเตอร์ไซค์ส่งของ สามารถเข้าไปให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น dtac reward ได้ ส่งผลให้ลูกค้าสามารถเรียก Messenger ได้โดยตรงจากแอปพลิเคชั่นของดีแทคที่ตัวเองมีอยู่แล้วในสมาร์ทโฟน

เมืองไทยประกันชีวิต

ตอนนี้ก็มี Startup อย่าง Health at home ก่อตั้งโดยคุณหมอตั้ม คุณหมอที่ออกมาทำ Startup เอง ให้บริการส่งผู้ดูแลไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ที่มีโอกาสได้ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต

คุณสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต เขาก็มองว่านี่มันสามารถตอบโจทย์ลูกค้าของเมืองไทยประกันชีวิตได้ โดยเฉพาะปัญหาการให้บริการด้านสุขภาพ เนื่องจากโรงพยาบาลต่างๆ มีเตียงจำกัด จะดีกว่าไหมถ้าลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิตที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงสามารถรับบริการทางการแพทย์ที่บ้านได้ อย่างนี้เขาก็มาจับมือ Partner กันได้

นอกจากนี้ยังมีการมอบส่วนลดเป็นสิทธิพิเศษให้กับสมาชิกเมืองไทย Smile Club หรือสามารถนำคะแนนมาแลกใช้บริการได้

ถ้าเป็น Startup แล้วอยาก partner กับ Corporate ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ต้องอยู่ใน stage ระดับไหน ถึงจะเหมาะสม และน่าสนใจในมุมมองของ Corporate

สิ่งแรกเลยคือต้องมี Product-Market-Fit กล่าวคือต้องมีกลุ่มลูกค้ารองรับ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องมีเยอะมากพอ ที่สตาร์ทอัพจะสามารถ scale ขยายธุรกิจของตัวเองในอนาคตได้ ถ้าคุณทำสิ่งที่ร้อยคนรักได้ คุณต้องหาล้านคนชอบให้เจอ ถ้า ณ วันนี้คุณยังเจอแค่สิบคนรัก ร้อยคนน่าจะได้ อย่างนี้มันอาจจะเหนื่อย Corporate ก็ยังไม่อยากจะ Partner กับทีมที่ยังตั้งไข่ไม่ได้

สิ่งต่อมาคือเรื่องของทีม โดยทีมที่ดีควรจะมีคน 3 ประเภท ได้แก่

Hustler คือ CEO หรือคนที่มี ความเชื่อ มี Passion และเป็นคนหลักที่บริหารธุรกิจนี้

Hacker คือ Developer หรือคนที่ดูแลด้านเทคโนโลยี

Hipster คือ ผู้ที่ดูแลส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า อาจจะเป็น UX/UI ซึ่งขึ้นกับประเภทของธุรกิจ

ถ้าคุณมีส่วนเหล่านี้ครบแล้ว คุณก็จะเป็น Startup ที่มีแต่ Corporate ต้องการตัว ต้องการ Partner ด้วยแน่นอน

แต่ถ้าคุณเพิ่งเริ่มต้นจริง ๆ แล้วรู้สึกว่ายังทำสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ ก็อยากให้มองหา Accelerator ที่เขาพอจะช่วยคุณได้ วิธีมองหา Accelerator ง่ายมาก ให้ดู Alumni ของ Accelerator แต่ละเจ้า บ้านเรามีประมาณ 13 Accelerator ก็ดูว่าในแต่ละ Accelerator มี Alumni Startup เจ้าไหนเข้าไปแล้วออกมาเป็นอย่างไร แล้วมันตอบโจทย์เราไหม แล้วคุยให้เยอะ คุยกับทุก Accelerator ทุก Alumni

แล้วคุณจะเห็นภาพว่า แบบคุณเข้าไปแล้วคุณจะได้อะไร

ถ้าคุณเข้า Accelerator ได้ Corporate ที่เป็น Partner กับ Accelerator เหล่านั้น ก็จะโฟกัสมาที่คุณก่อนเลย ผมว่าก็ไม่ยากที่จะ Partner ได้

อย่างในโครงการ dtac accelerate เรา 46 ทีม มี Corporate Partner ไปแล้วทั้งหมด 23 ทีม มีการ Partner ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วจบ คือ Partner ไปเรื่อยๆ ประมาณครึ่งนึง แล้วก็มีทีมอื่นๆ อีกประมาณ 30% ที่กำลังลองทำ Sandbox Test ด้วยกันก่อนที่จะ Partner จริง เบ็ดเสร็จก็ประมาณ 80% ที่อยู่ใน dtac accelerate ที่มีการได้เริ่มทำงานร่วมกับ Corporate ครับ

ในปี 2019 นี้ โครงการ dtac accelerate batch 7 กำลังเปิดรับสมัคร วันนี้ ถึงวันที่ 17 เมษายนนี้ ดูรายละเอียดการสมัครได้ที่ https://accelerate.dtac.co.th/

สนใจจัดโครงการอบรม Corporate Innovation และ Innovative Talent Development Program สำหรับองค์กร โปรดติดต่อ all@disruptignite.com

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง