Education Disruption Hackathon Q&A

September 16, 2020
Yui Jantanarak

Education Disruption Hackathon 2020 Hybrid Virtual Hackathon

1. Hybrid Virtual Hackathon คืออะไร จะออกแบบนวัตกรรมอย่างไรในช่วงที่มีการระบาดของ COVID19

งาน Education Disruption Hackathon เป็นงานระดมสมองและสร้างนวัตกรรมเร่งด่วน ที่ให้นวัตกร, ผู้ประกอบการ, นักการศึกษา, designers, design thinkers รวมถึงคนหลากหลาย background มารวมตัวกันในคอนเซปท์ Build - Measure- Learn - Share เพื่อคิดค้นโซลูชั่นช่วยแก้ปัญหาการศึกษาภายใต้กรอบ/ธีมงานที่กำหนด

โดยครั้งนี้เรามองหาทีมที่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาออกมาเป็น "โครงการ", "ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ" หรือ "นวัตกรรม" และทีมที่เข้าร่วมสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้จริงหลังงาน Hackathon (ไม่ใช่จบแค่ในงาน)

ด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จึงมีการวางแผนจัดงานแบบผสมสาน (Hybrid Virtual) ผ่านการพบกันทำงานร่วมกัน และผ่าน conference call โดยมีการจัดสรรให้ทีมได้กลับไปทำงานที่บ้าน เพื่อพัฒนา Product ตามที่ได้รับ feedback จาก mentor จากนั้นจึงกลับมาพบกันอีกครั้งเพื่อนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ โดยมีช่วงระยะการทำงานที่ยาวกว่า Hackathon ทั่วไป เนื่องจากเราต้องการให้เกิดนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังงาน

โดยในระยะเวลางานทั้งหมด 1 สัปดาห์ จะมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนได้แก่

Day 1 (Full Day Meet Up) - Big Picture & First Mentoring Session

ตัวแทนแต่ละทีมพบกัน เพื่อร่วมฟังโจทย์ใหญ่ของงานภายใต้ธีมต่าง ๆ และรับคำแนะนำจากเมนทอร์อย่างใกล้ชิด

  • ร่วมฟัง insight เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย จากทีมนักวิจัย/ผู้เชี่ยวชาญของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
  • ร่วมฟังประสบการณ์และวิธีการออกแบบนวัตกรรมเพื่อการศึกษา และกระบวนการทำงานที่น่าสนใจและแนวทางการสนับสนุนสตาร์ทอัพ จากบริษัทเทคโนโลยีการศึกษารุ่นใหญ่ อย่าง LEARN Corporation
  • แนวทางการสนับสนุน Edtech Startup ให้เติบโตขยายขนาดทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค พร้อมโอกาสในการเข้าถึงคลาวน์เครดิตหรือ Technical Support จากทีมงาน AWS
  • Mentoring Session ให้ตัวแทนทีมได้พูดคุยปรึกษา mentor ระดับ Top ด้านการศึกษาของประเทศ รวมถึงกลุ่มคนที่อยู่หน้างานจริงอย่างเครือข่ายคุณครู insKru หรือผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่นกลุ่มผู้ปกครอง เพื่อขอคำแนะนำและความเห็นในการพัฒนาต่อยอดไอเดียหรือ product สู้ห้องเรียน, เด็ก, ผู้ปกครอง หรือครูอาจารย์

Day 2 (Virtual) Second Mentoring Session  

เปิดโอกาสให้ปรึกษาทีมงานผ่าน Conference call ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่การทำ Pitch Deck/Presentation

Day 3 (Half-day Meet up) Pitching  

นำเสนอให้คณะกรรมการเป็นเวลา 5 นาที และถามตอบ 5 นาที

2. ขั้นตอนการสมัครเป็นอย่างไร จะสมัครต้องใช้อะไรบ้าง ?

กรอกแบบฟอร์มสมัคร Hackathon ที่นี่ ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. ข้อมูลของผู้เข้าร่วม - ทีมต้องมีสมาชิก 2-3 คนขึ้นไป
  2. Pitch Deck ไฟล์ระบุรายละเอียดไอเดีย นวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์
  3. ตอบคำถามทั่วไป เช่น ทำไมถึงสนใจด้านการศึกษา

เฉพาะผู้ที่ได้รับคัดเลือกเท่านั้น จะได้เข้าร่วมงาน โดยจะมีการประกาศชื่อทีมที่หน้าเพจ Disrupt ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ส่วนวันจัดการแข่งขันนั้น กรุณารอการประกาศจากทีมงานอย่างเป็นทางการในหน้า Facebook Page Disrupt Technology Venture


3. สมัครโครงการ Hackathon แล้วจะได้เข้าร่วม StormBreaker Accelerator หรือไม่

ปีนี้ทางโครงการ StormBreaker เปิดรับสมัคร Edtech Startup ผ่านการรับสมัคร Hackathon เป็นหลัก โดยทุกทีมที่ผ่านการรับเลือกเข้า Hackathon จะได้รับโอกาส FastTrack ในการพิจารณาเข้าสู่โครงการ StormBreaker Accelerator

4. Social Impact track และ Scalable EdTech track แตกต่างกันอย่างไร

1. Social Impact Track

เป็น Track สำหรับคนเน้นสร้าง Impact ช่วยแก้ปัญหาการศึกษา ให้กับผู้ด้อยโอกาสกลุ่มคนเหล่านี้มีรายได้ต่อครอบครัวเพียง 3,000 บาทต่อเดือน เราจึงไม่จำกัดรูปแบบของ Solution เน้นไอเดียนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้จริง หรือทำเป็นโครงการที่น่าสนใจก็ได้ ที่สามารถช่วยเหลือกลุ่มคนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือ กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งมี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

1. กลุ่มเด็กวัยแรกเกิดถึง 3 ปี

2. กลุ่มเด็กอนุบาล

3. กลุ่มนักเรียนประถม-มัธยมต้น

4. กลุ่มนักเรียน ม.ปลาย/ปวช

5. เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา

6. กลุ่มเยาวชนอายุ 18 ปีขึ้นไปหรือแรงงานรุ่นใหม่

7. ครูที่สอนเด็ก เยาวชนด้อยโอกาส

2. Scalable EdTech Startup Track

เป็น Track สำหรับคนที่อยากทำ EdTech Startup ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยี โดยต้องเป็นธุรกิจที่มีโมเดลในการเติบโต มีตลาดขนาดใหญ่รองรับ สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมากในอนาคต (Scalable) มีแผนธุรกิจหรือโมเดลในการหารายได้


5. ผู้ชนะในงาน Hackathon จะได้รับอะไรบ้าง? และจะได้รับเงินทุนเท่าไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?

3 ทีมผู้ชนะจากแต่ละ Track จะได้รับเงินรางวัลทันทีทีมละ 10,000 บาท
และ Fast Track เข้าสู่รอบสุดท้ายของโครงการ StormBreaker Accelerator

โดยผู้สมัคร Social Impack Track ที่นวัตกรรมครอบคลุมการช่วยเหลือกลุ่มคนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือ เข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา 7 กลุ่มย่อย ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จะได้รับพิจารณารับทุน 100,000 - 500,000 บาท/ทีม ซึ่งจำนวนเงินสนับสนุนจาก กสศ. ที่พิจารณาให้แต่ละทีม ขึ้นอยู่กับศักยภาพของทีมที่จะพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมภายหลัง Hackathon ให้สำเร็จเป็นนวัตกรรม ทั้งนี้หากมีการตกลงร่วมกันเรียบร้อย ทีมที่ต้องการรับเงินสนับสนุนต้องจดทะเบียนบริษัทและลงทะเบียนจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

หากอยู่ใน Scalable Edtech Startup Track จะได้รับพิจารณารับเงินลงทุนจาก StormBreaker 500,000 - 1,500,000 บาท/ทีม พร้อมโอกาสระดมทุนกับนักลงทุนในเครือข่ายเช่น Angel Investors, 500 TukTuks และ Expara เป็นต้น


6. หากยังมีแค่ไอเดีย สามารถร่วมแข่งขันได้หรือไม่

เข้าร่วมได้ โดยทางทีมต้องทราบวิธีในการออกแบบ Prototype หรือ MVP เพื่อนำไปเทสต์กับกลุ่มผู้ใช้งาน


7. เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ชนะมีอะไรบ้าง ?

1. ทีมผู้เข้าแข่งขัน

  • ทีมมี Passion และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา/เทคโนโลยี/การพัฒนานวัตกรรม หรือมีประสบการณ์อื่น ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาไอเดีย/นวัตกรรมที่สร้างขึ้น
  • ทีมมีความโดดเด่นหรือแตกต่างจากทีมอื่น ๆ อย่างไร และทำไมทีมคุณจึงเป็นทีมที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาและต่อยอดนวัตกรรมนี้

2. ไอเดียนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์

ไอเดีย/นวัตกรรมที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาที่สำคัญในปัจุบันและสอดคล้องกับบริบทของพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง

3. ศักยภาพในการทำให้เกิดขึ้นจริงภายหลัง Hackathon

  • ทีมงานมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดให้เป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงในอนาคต
  • ทีมงานมีแผนการและเป้าหมายระยะยาว ที่สามารถขยายผล/ปรับปรุง/พัฒนา/ต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต

4. Presentation: Pitch Deck

อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลสำคัญครบถ้วน สามารถสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอผลงาน รวมถึงการตอบคำถามของคณะกรรมการผู้พิจารณา โดยสามารถศึกษาวิธีการทำ Pitch Deck เพิ่มเติมได้จากบทความของ Disrupt ทั้งแบบ Startup และแบบ Social Innovation


8. ตัวอย่างทีม Edtech ที่เคยเข้าร่วมงาน Education Disruption Hackathon 2018 และสามารถต่อยอดนวัตกรรมให้เติบโตแบบก้าวกระโดด


สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วม สามารถติดตามข่าวสารงาน Education Disruption และพูดคุยกับทีมงาน Disrupt ได้ในกลุ่ม Facebook Group: https://www.facebook.com/groups/EducationDisruption

ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Ventureและพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ จาก EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จทั้งในไทยและต่างประเทศ ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง