Thai Startup Milestone 2020 - 100M USD Centaur

November 6, 2018
Krating Poonpol

Milestone สำคัญถัดไปที่เป็นรูปธรรมของวงการ Startup ไทยภายใน 2020 ควรเป็นอะไร?

ผมคิดว่า milestone สำคัญถัดไปของวงการ startups ไทยคือการสร้าง exit ในระดับ 100 M USD+ ขึ้นไปภายในปี 2020 เพราะ exit ในระดับนี้นั้นจะสร้าง trigger point สำคัญให้ ecosystem ของไทยเหมือนที่เกิดกับ ecosystem ในหลายๆประเทศ เช่น 200 M USD exit ของ Viki ที่เป็น trigger point สำคัญของสิงคโปร์ใน wave นี้ หรือ iProperty ที่ exit ไป 500 M USD ของมาเลเซีย

ในงานวิจัยของ World Startup Report ก็พบว่าการ exit ที่มากกว่า 100 M USD คือ trigger point สำคัญของ ecosystem หนึ่งๆที่จะ take off เพราะเป็นการพิสูจน์ขีดความสามารถว่าประเทศนั้นๆสามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมแก่นักลงทุนและผู้ก่อตั้งบริษัทได้ และจะเกิดการ recycle talents ที่พนักงานบริษัท startups ที่ exit สำเร็จออกมาก่อตั้ง บริษัทใหม่ หรือ กลายมาเป็น angel investors / mentors ที่จะช่วยผลักดันวงการไปข้างหน้าอีกก้าวใหญ่ๆ

การสร้าง Exit ในระดับ 100 M USD ขึ้นไปนั้นต้องทำอย่างไร?

1. Exit ระดับ 100 M USD นั้นหมายความว่าคุณต้องเป็นบริษัท startup ระดับ Series B /C ที่มี รายได้ 30-40 M USD+ หรือ GMV (กรณี marketplace ที่มี take rate 10-15% ) ประมาณ 130-150 M USD และ มีการเติบโตในระดับ 2-3x ต่อปีอย่างต่อเนื่องมี growth momentum ที่ชัดเจน ในกรณีที่คุณอยู่ในตลาดที่ร้อนแรงและได้รับความสนใจคุณอาจมีค่า premium ที่ทำให้ตัวเลขเหล่านี้น้อยลงได้แต่คุณควรตั้งเป้าหมายที่สูงไว้ก่อนครับ

2. Scale/Scalability: ธุรกิจที่จะ exit ได้ในระดับ 100 M USD นั้นควรจะเป็น clear monopoly ที่ dominate ตลาดใดตลาดหนึ่งหรือ sector ใด sector หนึ่งที่ชัดเจนและมีสัญญาณของ network effect ที่ชัดเจนมากจนทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงอย่างมากในขณะที่รายได้เติบโตแบบก้าวกระโดด และ คุณน่าจะมีธุรกิจใน 2-3 ประเทศขึ้นไปเพราะตลาดไทยนั้นเล็กเกินไปครับ

3. การ exit ในระดับนี้นั้น มันคือเรื่องของการเข้าซื้อ asset และทีมเป็นหลักและ บริษัทที่จะเข้าซื้อในระดับ 100 M USD ได้นั้นน่าจะต้องมี valuation ระดับ 3 Billion USD+ ดังนั้นคุณต้องถามตัวเองว่า asset อะไรที่เรามีที่บริษัทเหล่านี้ไม่มี หรือ ต่อให้เขาสร้างได้ ก็ต้องใช้เวลาเยอะมาก และมี ต้นทุนการสร้างมหาศาลและมันถูกกว่าและประหยัดเวลากว่ามากที่จะเข้าซื้อคุณ

4. Team - ทีมที่จะ exit ที่ระดับนี้ได้นั้นควรจะเป็น Truly Regional Team ที่มี international talents ดังนั้นการสร้างทีมและวัฒนธรรมองค์กร ที่ต้อนรับและจูงใจ talent ต่างชาติให้มาร่วมงานกับคุณจึงสำคัญมากๆครับ คุณจะเห็นว่าบริษัทระดับ unicorn ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแทบทุกบริษัทผู้ก่อตั้งจบการศึกษาจากต่างประเทศ หรือมีประสบการณ์ การทำงานในต่างประเทศทำให้มีเครือข่ายและมีความคุ้นเคยกับการทำงานในแบบนานาชาติเป็นอย่างดี

5. Platform Not Product - รูปแบบการดำเนินธุรกิจของคุณชัดเจนว่ามันสามารถต่อยอดเป็น platform ได้ และขยายไปในหลายๆ product/service ได้ โดยมีต้นทุนในการขยายไปไม่สูงมาก

6. Professional business system - ระบบธุรกิจของคุณนั้นมีการ run แบบ professional และระบบต่างๆนั้นมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบและ monitor ได้ตลอดเวลา

ปัจจุบัน startup ไทยเรานั้น ยังออตัวกันอยู่ที่คอขวด ในระดับ series A (มูลค่าบริษัท ~ 10 M USD) ค่อนข้างมากการทะลวงคอขวด series A นั้น ต้องการการ focus ในการทำธุรกิจอย่างจริงจัง และสร้าง traction ที่แข็งแกร่งและผมคิดว่าเราต้อง get back to work อย่างจริงจังและทุ่มเทในการทำงานอย่างหนักเพราะอีกไม่นาน startups เพื่อนบ้านเรานั้นจะเติบโตและเข้ามาแย่งชิงตลาดของเราด้วยเงินทุนที่มหาศาลและไม่ต้องพูดถึงภัยคุกคามจากผู้เล่นที่เป็นบริษัท technology รายใหญ่ๆ และ technology shift ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะรุนแรงและรวดเร็วขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ครับ ขอให้ทุกคนตั้งใจและโชคดีแล้วมาสร้าง the first and many 100 M USD startups ด้วยกันครับ.

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง