กล้าคิด กล้าสร้างไอเดียให้เกิด ตามแบบฉบับ นะโม insKru

September 16, 2020
Pat Thitipattakul

insKru แพลตฟอร์ม community คุณครูอันดับ 1 ของไทยถือกำเนิดมาจากงาน Education Disruption Hackathon ในปี 2018 เป็นความภูมิใจของทีม Disrupt ที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ ไฟแรง passion ต่อการศึกษา มีโอกาสได้ทำความฝัน ทำไอเดีย ให้เกิดขึ้นจริง ณ วันนั้น insKru ยังเป็นเพียงแค่ไอเดีย ทดลองทำกันเล็ก ๆ ในกลุ่ม Facebook ครู จนมาวันนี้ insKru ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วและได้พัฒนามาเป็น offline-to-online community พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอนที่มีผู้ใช้หมื่นกว่าราย เพจมีผู้ติดตามหลักแสน ไอเดียการสอน ถูกนำไปใช้แล้วใน 11,535 ห้องเรียน สร้าง impact ต่อเด็กกว่า 2.8 ล้านคนทั่วประเทศ

InsKru website


ในระยะเวลา 2 ปีนี้ กว่า insKru จะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันกับ “นะโม” ชลิพา ดุลยากร ผู้ก่อตั้ง insKru ที่จะมาแชร์ประสบการณ์สุดเข้มข้นตั้งแต่สมัยเริ่มทำ insKru ใหม่ ๆ เข้าแข่ง Hackathon และพัฒนามาเรื่อยจนถึงวันนี้


ไอเดีย insKru เกิดขึ้นได้ยังไง

เกิดจากตอนทำโปรเจคจบของคณะสถาปัตย์ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม เราตั้งเป้าว่าอยากทำโปรเจคที่ทำให้การศึกษาไทยดีขึ้น ก็เลยไปลงโรงเรียนพูดคุยกับคุณครู จนพบว่า คุณครูทุกคนก็อยากทำห้องเรียนให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมมาก ๆ แต่ติดที่ยังไม่มีไอเดีย เพราะตัวเองก็เรียนมาแบบนี้ กับจริง ๆ ก็มีคุณครูที่ทำห้องเรียนออกมาได้น่าสนใจแต่ยังไม่มีพื้นที่ หลังจากนั้นก็ไปเจอพี่ยีราฟ พี่เคนโด้ตาม event การศึกษา เลยรวมทีมกัน สร้างออกมาเป็น insKru ที่มาจากคำว่า Inspire บวกกับคำว่า Kru พื้นที่ท่ีจะทำให้ครูได้มาแบ่งปันไอเดียเป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน


แล้วตอนนั้นนะโมมาแข่ง Education Disruption Hackathon ได้ยังไง?

เราก็มองหาสนามแข่ง เพื่อที่จะได้นำไอเดียของเราไปให้ mentor ตบตี แล้วดูว่าไอเดียของเราจะไปได้ไกลแค่ไหน อีกอย่างเรามองว่าการมาแข่งเป็น deadline ที่ดีในการทำให้งานเกิดอย่างรวดเร็ว พอเจองานนี้ก็เลยสมัครเลย 

Mentor: Michael Staton, Partner of Learn Capital



อยากให้เล่าประสบการณ์แข่ง Education Disruption Hackathon เป็นยังไงบ้าง?

เป็นแบบในรูปนี้ ชอบที่ได้ไปเจอทีมอื่น ๆ ที่มี passion ในด้านการศึกษาเหมือนกัน เห็นแล้วฮึกเหิมดี ตอนนั้นมีไอเดีย product แล้วแต่ยังติดที่ business model ก็ไล่เอา business model ไปคุยกับพี่ mentor คุณภาพมาก ตั้งแต่พี่หมู อุ๊กบี mentor จากต่างประเทศ พีคสุดตอนนั้น 3 ทุ่มแล้ว ไปคุยกับพี่กระทิง ก็ยังล้มแบบอยู่ดี คิดกันจนถึงตีสาม เป็นประสบการณ์ที่ยังจำถึงทุกวันนี้เลย 

แค่วันนั้น 2 วันก็ได้เปิดมุมมองในโลก edtech และยังได้ Connection จากทีมต่าง ๆ เป็น Community ที่ก็ยังคุยกันถึงทุกวันนี้


ตอนนั้นแข่งเสร็จแล้วคิดว่าจะทำ insKru ต่อเลยไหม?

จากวันแข่ง Hackathon ก็ทำต่อมาเรื่อย ๆ จริง ๆ การแข่งนี้มีผลต่อกำลังใจในการทำต่อมาก ๆ แถมได้เงินไปใช้ดันโปรเจคนี้ต่อด้วย แล้วก็เป็นประตูสู่โครงการ Strom Breaker ต่อ ซึ่งมีผลมากๆ ทำให้ inskru อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้จริง ๆ


ณ วันนั้น นะโมคิดว่า insKru คืออะไร? มีเรื่องอะไรที่กลัวบ้างไหม?

คือการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการครู จริง ๆ เป็นเรื่องที่ยากมาก เราทำสวนทางหมด เพราะจริง ๆ แล้วภาระงานครูก็เยอะ แถมยังต่างคนต่างสอน ใครจะอยากมาแบ่งปันไอเดียห้องเรียนของตัวเอง มาสนุกกับการเตรียมสอน แต่คิดว่าถ้าเราไม่ทำตรงนี้ ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยน และยังมีกลุ่มครูไฟแรงกลุ่มเล็ก ๆ ที่รอพื้นที่แบบนี้อยู่ เราเลยเริ่มจากตรงนี้ 


เจออุปสรรคอะไรบ้างในช่วงแรก?

อุปสรรคในการเก็บ Impact Measurement ไปคุยกับแหล่งทุน ว่าเราไอเดียของเราไปถึงแล้วกี่ห้องเรียน ครูเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ก็ทำให้เราพัฒนาจุดนี้ได้ดีขึ้น กับ Business Model ที่จะทำให้ inskru อยู่ได้อย่างยั่งยืนจริง ๆ ซึ่งกำลังค้นหาต่อไป


ก้าวข้ามข้อจำกัดมาได้อย่างไร อะไรคือสิ่งที่ทำให้ลุกขึ้นมาทำต่อไป?

ตอนแรกเราทุกข์ใจมาก พอมองตัวเองเป็น Start up ต้องเติบโตเร็ว ต้องทำเงินได้ แต่พอเราเปลี่ยนใหม่ว่า เราจะเป็นอะไรก็ได้ ที่ไปถึง Impact ที่เราคาดหวังไว้เราก็ขยับในมุมที่สบายใจมากขึ้น ขยับด้วยความเชื่อของตัวเองที่จะลงมือแก้ปัญหาในสิ่งที่ควรแก้ ก่อนเรื่องการเติบโตแบบนั้น ซึ่งระหว่างทางก็มีท้อบ้าง พอเปรียบเทียบกับ Start up ตัวอื่น ๆ แต่พอหันกับมามองสิ่งที่คุณครูพูดถึงเรา “เนี่ยตั้งแต่เจอ insKru มีกำลังใจหาอะไรสนุก ๆ ไปสอนเด็ก ๆ เต็มไปหมดเลย “ หรือสิ่งที่คุณครูให้ความร่วมมือสนับสนุนเรา สิ่งที่เด็ก ๆ กำลังจะได้รับ มักจะทำให้เรามีพลังในการทำ inskru อยู่เสมอ


มีคำกล่าวว่า “ปัญหาการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ แก้ยาก” อะไรทำให้นะโมกล้าลุกขึ้นมาทำ insKru?

ถ้าไม่ทำอะไรเลย การศึกษาเหมือนจะติดลบไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าทำถ้าเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็น 1 อย่างน้อย เราอาจจะทำให้มันขยับมาเป็น 0 หรือ 0.001 ก็ยังดี และเราเชื่อว่าการเริ่มทำนี้แม้ไม่สำเร็จ แต่มันจะจุดประกายให้คนอื่นต่อไปได้ เพราะฉะนั้นจะเรื่องใหญ่ แก้ยากแค่ไหน เราก็ยังรู้สึกดีกับการที่ได้ค่อย ๆ ขยับไปข้างหน้า

เรารู้สึกชอบคำว่า “เริ่มเมื่อยังไม่รู้หรือไม่พร้อม” มองย้อนกลับไปเราไม่รู้เลยว่าเราจะช่วยการศึกษาไทยอะไรได้ แต่เราเริ่มเอาตัวออกไปคลุกคลี ตาม Event การศึกษาต่าง ๆ จน Connect the dot มาเรื่อย ๆ ถ้าอยากทำอะไรเพื่อการศึกษาคิดว่า อย่างการมา Education Hackathon นี้ก็เป็นปะตูแรกที่ดีเลยทีเดียว


จากวันนั้นสู่วันนี้ insKru ณ ตอนนี้ในมุมมองของนะโมคืออะไร?

จากตอนแรกคิดว่าจะเป็น Platform แบ่งปันไอเดีย ตอนนี้รู้สึก insKru กลายเป็นผู้คน เหล่าครูผู้ไม่ยอมแพ้กับระบบการศึกษา


ความฝันของนะโมคืออะไร?

ความฝันคือได้เห็นเด็กทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมายจากครูของพวกเขาเอง และอยากเห็นอาชีพครูเป็นอาชีพที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น


อยากฝากอะไรถึงคนที่สนใจเรื่องการศึกษา?

สำหรับใครที่มีความฝัน มี passion อยากเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย นะโมคิดว่าอันนี้เป็นโอกาสที่ดีจริง ๆ อยากให้ลองเอาไอเดียมาสมัคร Education Disruption Hackathon 2 ดู แพ้ชนะไม่เป็นไร สำคัญที่การเรียนรู้ โดยในงานนี้ นะโมและทีมคุณครูจาก insKru ก็จะมาเป็น mentor ร่วมให้คำแนะนำด้วยนะ

ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Venture และพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ จาก EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จทั้งในไทยและต่างประเทศ ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่


"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง