เคล็ดลับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Talent) ในยุคดิจิทัล

December 28, 2020
Neuy Priyaluk

“Those who continuously acquire new knowledge and skills that can be applied to their work will be the movers and shakers for our society in the future.”

“2021 ปีหินของผู้บริหารรุ่นใหญ่! ผู้ที่ต้องปรับตัวมากที่สุดไม่ใช่เด็กรุ่นใหม่ แต่เป็นคนทำงานรุ่นใหญ่และผู้บริหารที่มีประสบการณ์”

เพราะเด็กรุ่นใหม่โตมากับเทคโนโลยี มีความรู้ และมีความคิดที่แตกต่างจากคนรุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้ใหญ่จะใช้วิธีเดิม ๆ ในการบริหารหรือต่อยอดความสามารถของน้อง ๆ เด็กรุ่นใหม่ได้

เมื่อ Digital Transformation เป็นคำโบราณไปแล้ว โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารหลายคนจึงต้องก้าวออกจาก Comfort Zone อย่างจริงจัง จนหลายครั้งต้องยอมเจ็บปวดเพื่อแลกกับการอยู่รอด

โดยต้องชั่งใจระหว่างความสมบูรณ์ (Perfection) กับ ความเร็ว (Speed) เพราะหากให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบมากเกินไปจนต้องใช้เวลามากในการคิดโครงการจนจบถี่ถ้วน ก็อาจ Outdated ไปแล้ว 

Technology ทำให้โลกแคบลงและเกิดการแข่งขันที่ท้าทาย องค์กรที่ไม่สามารถก้าวผ่านออกจาก Comfort Zone หรือไม่เคยทดลองหรือพบกับความเจ็บปวดเลยสักครั้งก็อาจจะอยู่ไม่รอด

'คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม' หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และ Intouch ได้มาให้ความรู้และแนะนำแนวทางในการบริหาร Talent ขององค์กร ในงาน Education Disruption Conference 2 ไว้อย่างน่าสนใจ ทีมงานจึงอยากนำเนื้อหาบางส่วนมาเล่าให้ฟังดังนี้

การปรับตัวขององค์กรไปสู่ Ideal organization ในศตวรรตใหม่กับเทรนด์อนาคต “FLAT Organization”

การเลื่อนตำแหน่งหรือ Hierarchy มีข้อจำกัดอยู่ สายงานการบังคับชาที่ยาวและช้า อาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป เพราะอะไรที่ช้านานจะไม่ทันการและทำให้เกิดเป็นข้อจำกัด

Flat Organization ทำให้ลำดับชั้นขององค์กรน้อยลง (Less Hierarchy) สายบังคับบัญชาจะสั้นลง การทำงานและการตัดสินใจจะทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลักษณะการทำงานเปลี่ยนไปเป็นแบบ Virtual Team คือ เปลี่ยนกลุ่มการทำงานไปตามเป้าหมาย ทำให้เวลาคนเคารพกันจะมองที่ “ความพร้อม และ Competency” มากกว่า Hierarchy 

การทำงาน Full time ลดลง และ Freelance มีจำนวนที่สูงขึ้น คนจะรับงานจากหลายองค์กร ใช้ความสามารถหลากหลาย และหารายได้ตามความสามารถของแต่ละคน

คอนเซ็ปต์ของ Work From Home คงไม่ใช่คอนเซ็ปต์ในระยะยาว โลกที่จะเปลี่ยนไปนี้จะเป็น Work From Anywhere ทำให้เกิดการจ้างงานแบบไม่ต้องเดินทางและเป็นการ Outsource มากขึ้น Self Discipline จึงเป็นสิ่งสำคัญกับการทำงานรูปแบบใหม่ และต้องรีบพัฒนาความรู้ให้ทันเทคโนโลยี

🤝 การจ้างงานเปลี่ยนไป (New Way of Hiring)

การที่คนใหม่ในองค์กร (Newcomer) ได้รับการพัฒนาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับองค์กร หรือ รูปแบบการพัฒนาแบบเดิม ๆ อาจไม่ตอบโจทย์ในโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้

ความพร้อม ’ ของตัวบุคคล จะกลายเป็นปัจจัยในการถูกจ้างงาน โดยนิยามของความพร้อม คือ การไม่หยุดเรียนรู้และรับผิดชอบกับการเติบโตของตัวเอง ทำงานเสร็จ Productivity ได้ค่าจ้างค่าตอบแทนและไม่ใช่เช้าชามเย็นชาม

ในอนาคตจะเกิดการจับกลุ่มบริษัทและการเกิดการจ้างงานร่วมกัน (Co-hiring) และ ควบคุมข้อมูลความลับ (Outsource turn key)

💰 ค่าผลตอบแทนแบบใหม่ที่หลากหลาย (New Compensations & Benefits)

ในอนาคตการจ่ายค่าตอบแทน จะถูกเปลี่ยนเป็น Pay per Productivity ที่หากทำได้สำเร็จและถูกต้อง ก็จะได้รับค่าจ้างแทนการจ้างประจำ ทำให้คนถูกคัดกรองเป็นสองกลุ่ม คือคนที่ได้ไปต่อ และคนที่หลุดจากตลาดแรงงาน

ในด้านของการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ผู้บริหารรุ่นเก่ามักจะมองหาสวัสดิการที่คุ้มครองการเจ็บป่วย แต่คนรุ่นใหม่คุยกันว่าจะทำอย่างไรที่จะไม่เจ็บป่วย

CSR จะกลายเป็น Choice ของ Benefit เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการการทำงานคืนสู่สังคมมากขึ้น อีกทั้งในหนึ่งองค์กรจะมี Salary Structure หลากหลาย ขึ้นกับความสามารถ (Competency) และประสิทธิภาพ (Performance) ของพนักงาน

📢 บทบาทของผู้นำ / หัวหน้าองค์กร (Role Of Leaders / Employers)

ผู้ว่าจ้างเปลี่ยนบทบาทจากเจ้านายผู้กุมชะตากรรมไปเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือ “Business Partner” ที่จะวัดผลงานตามประสิทธิภาพ และความสามารถของพนักงาน

ลักษณะการทำงานมีคนหลากหลายมากขึ้น การทำงานที่หลากหลาย สถานที่ การเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสาร (Communication Skill) ของผู้บริหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ  Constructive Feedback จึงเป็นทักษะที่ผู้บริหารจำเป็นต้องฝึก โดยเป้าหมายการทำงานในยุคนี้ต้องชัดเจนมากกว่าการวัดจาก KPI หรือ OKR จะต้องมีการกำหนดเส้นทางโดยมีพนักงานร่วมกำหนดไปพร้อมกัน และองค์กรต้องทำให้พนักงานเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ 

สำคัญอีกสิ่งหนึ่ง คือ ผู้บังคับบัญชาควรมีทักษะการพัฒนาตัวเองแบบ Life Long Learning ที่จะพัฒนาตัวเองอย่างไร และจะพัฒนาน้องรุ่นใหม่มีขีดความสามารถ (Ability) ได้ตามที่ต้องการ  ผู้บริหาร จะต้องโค้ชคนรุ่นใหม่ให้เป็น เพราะเด็กรุ่นใหม่พัฒนาเร็ว และบางครั้งผู้บริหารต้องเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นผู้ตาม เพราะเด็กรุ่นใหม่อาจจะเก่งเทคโนโลยีมากกว่า

🚀 การบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management)

พนักงานที่เก่ง จะต้องมีความสามารถในการรับผิดชอบ(Responsibility) รวมถึงการมีความมุ่งมั่น (Passion) ในเส้นทางของตัวเอง อีกทั้งองค์กร ยังควรทีจะหยิบยื่นโอกาส (Opportunities) ให้แก่กลุ่ม Talent ที่มีศักยภาพ (Potential) พนักงานยังต้องสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล และปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอด

Technology สามารถถูกนำมาช่วยในการพัฒนาบุคลากรได้ ดังตัวอย่าง จากสถานการณ์ Covid -19 การเดินทางไปดูงานในต่างประเทศไม่สามารถทำได้ เราจึงใช้ VR (Virtual Reality) ที่เป็นเครื่องมือ (Tool) มาช่วยให้มีพนักงาน สามารถได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับของจริง 

Content นี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน Education Disruption Conference 2 - Reimagine Thailand's Education 2030" ในธีม Future of workforce 

และเตรียมพบกับโปรแกรม CXO  - Chief Exponential Officer โดยคุณกระทิง พูนผล และ Disrupt หลักสูตรสร้างผู้นำแห่งอนาคต เร่งเครื่องธุรกิจเติบโตข้ามพรมแดน พร้อม Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption อ่านรายละเอียด คลิก 

#CXO #TheNextCXO

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง