รวมแหล่งซัพพอร์ทสตาร์ทอัพไทย ปูทางสู่การสร้างยูนิคอร์นตัวแรก

June 28, 2022
Nae Nae Montawan

เทรนด์การทำสตาร์ทอัพนั้น กำลังมาแรงอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการปล่อยซีรีส์เกาหลี ‘The Start-Up’ บน Netflix เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างกระแส และจุดประกายความฝันให้กับคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนไม่น้อย

สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่ง support การสนับสนุนและความช่วยเหลือต่าง ๆ ในการทำสตาร์ทอัพอยู่นั้น บทความนี้เราได้รวบรวมหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีโครงการส่งเสริม Ecosystem ให้กับสตาร์ทอัพไทยได้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น ดังต่อไปนี้

General Support

1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ ในวงการสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักเรียกกันจนติดปากว่า ‘NIA’ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการที่สตาร์ทอัพสามารถสมัครเข้าร่วมได้ เพื่อขอรับการสนับสนุนด้านเงินลงทุนต่อยอดธุรกิจ และความรู้ต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมทักษะให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งได้แก่ โครงการ Open Innovation โดยเปิดรับสมัครตามประเภทของธุรกิจที่มีอยู่ทั้งหมด 3 สาขาด้วยกัน

1) สาขาเศรษฐกิจชีวภาพ
2) สาขาเศรษฐกิจการผลิตและการหมุนเวียน
3) สาขาเศรษฐกิจและการแบ่งปัน

2. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ‘Technology and Innovation Based Enterprise Development Fund’ (TED Fund) เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพรายใหม่ โดยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดภาวะและอัตราเสี่ยงในด้านการลงทุนทางธุรกิจ เพื่อให้สตาร์ทอัพสามารถดำเนินกิจการบนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ‘depa’ อีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญ ที่ช่วยเหลือและสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยมีการมอบเงินลงทุนสนับสนุนให้ เริ่มตั้งแต่ 50,000 จนถึง 5,000,000 ล้านบาทเลยทีเดียว และยังได้มีการจัดตั้งกองทุน Digital Startup Fund ขึ้นมา เพื่อรองรับและช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพโดยเฉพาะ ซึ่งที่ผ่านมา มีอุตสาหกรรมเป้าหมายในหลากหลายสาขา อาทิ EdTech, AgriTech, FinTech, GovTech, HealthTech, TravelTech, SmartCity, Data Platform, Service Tech

นอกจากนี้ depa ยังได้จัดคอร์ส Jumpstart อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและทักษะการบริหารกิจการสตาร์ทอัพ รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพต่าง ๆ

4. True Digital Park 

TDPK Startup Booster Program

สำหรับ True Digital Park Startup Booster Program เป็นคอร์สอบรม 12 เดือน ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับการสนับสนุนในการทำสตาร์ทอัพ เริ่มตั้งแต่ สถานที่ เงินทุน ไปจนถึงความรู้ โดยจะเปิดรับสมัครทุก ๆ สัปดาห์แรกของเดือน หากได้รับการคัดเลือก ก็จะได้รับ support จากทาง TDPK ตลอดระยะเวลา 12 เดือน ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ทำงานที่ True Digital Park ความรู้เกี่ยวกับการทำสตาร์ทอัพจากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ซึ่งการเข้าร่วมโปรแกรมนี้จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 90,000 บาทต่อปี

VC Clinic: Let’s Talk to the VCs 

ที่ True Digital Park นั้น มักมีการจัด session Talk with VCs อยู่เป็นประจำ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ โดยสามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ และเลือก industry ที่ตอบโจทย์ธุรกิจของเรา จากนั้นระบบก็จะทำการ match กับ VC ต่าง ๆ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ product หรือ solutions ของเรา ผ่านคำแนะนำของ VCs

5. CU Innovation Hub

สำหรับนักศึกษาที่สนใจเรียนรู้และพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ส่งเสริมนวัตกรรม โดยระบบนิเวศ (Ecosystem) ของ CU Innovation Hub นั้น ประกอบด้วย:

1) การวิจัยและการพัฒนา
2) การบ่มเพาะและการเร่งรัดนวัตกรรม
3) การอุทิศเพื่อสังคมและดำเนินการเชิงพาณิชย์ 

รวมถึงการเป็นส่วนหนึ่งของ CU Innovation ซึ่งท่านจะสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสตาร์ทอัพแคมป์ คลาสการ reskill ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการได้จากที่นี่

Venture Capital

กลุ่มนักลงทุน Venture Capital ที่เน้นลงทุนในสตาร์ทอัพ มีดังนี้:

1. 500 TukTuks

Empowering Founders in Thailand and Beyond

500TukTuks คือ micro fund จาก 500Startups ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกองทุนนี้ก่อตั้งโดย ‘คุณกระทิง พูนผล’ และ ‘คุณหมู ณัฐวุฒิ’ โดยจะเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่ระดับ Seed stage จนถึงระดับ Series A ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศไทยไปถึงระดับภูมิภาค CLMV ซึ่งได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย 

500 TukTuks จัดเป็นกองทุนที่มีสตาร์ทอัพระดับ Early-stage ที่ Active ที่สุดในประเทศไทย โดยในขณะนี้ได้ลงทุนไปแล้วมากกว่า 80 สตาร์ทอัพ ตัวอย่างเช่น Pomelo, Omise, Finnomena, FinAccel, ChomChob, Freshket,  และอีกมากมาย นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนใน EdTech Startups หน้าใหม่ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในยุคนี้อย่าง Conicle, Vonder และ OpenDurian อีกด้วย

2. Expara

Leading Venture Creation

กองทุน Expara เป็น venture capital ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ โดยได้จัดตั้งกองทุนไปแล้วทั้งหมด 5 กอง ตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสตาร์ทอัพในพอร์ตรวมแล้วมากกว่า 85 บริษัทใน Southeast Asia  ตัวอย่างเช่น Hungry Hub, Bellug, Cloud Commerce เป็นต้น

3. Openspace Ventures

Building and Backing the Next Wave of Technology Leaders

กองทุน Openspace ก่อตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่ระดับ Series A ถึง Series B ซึ่งที่ผ่านมาได้ลงทุนไปแล้วถึง 34 บริษัทในภูมิภาค Southeast Asia โดยมีสตาร์ทอัพยักษ์ใหญ่อย่าง Finnomena และ Freshket ของประเทศไทยรวมอยู่ในนั้นด้วย

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมี VCs อื่น ๆ ในประเทศไทยอีกมากมาย เช่น moonshotVC, Monk's Hill Ventures, Golden Gate Ventures, Alpha Founders Capital, Plug n play, ECG ฯลฯ หากคุณเป็นสตาร์ทอัพที่กำลังมองหาการระดมทุนเพิ่มเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ ไม่ควรพลาดโอกาสการระดมทุนจาก VCs ชั้นนำเหล่านี้!

Corporate Venture Capital

โมเดล Corporate Venture Capital (CVC) คือ การที่บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ นำเงินมาลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพที่มี synergy ร่วมกับองค์กร ซึ่งมักจะเป็นการลงทุนในจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง และไม่เน้น return มากเท่ากับนักลงทุนแบบ venture capital ทั่วไป โดยในไทยนั้น มีองค์กรที่ลงทุนแบบ CVC ที่น่าสนใจดังนี้ 

1. InVent

InVent มีโครงการ Invent Venture Capital ที่ลงทุนในด้าน Telecommunications, Media และ Technology โดย investment size มีมูลค่าตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจะลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่ระดับ Early to Growth Stage ทั้งในไทยและต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้ลงทุนในสตาร์ทอัพไปแล้วหลายตัว ซึ่งตัวอย่างสตาร์ทอัพรายใหญ่ ได้แก่ Ookbee, ChomCHOB และ EventPop เป็นต้น

2. Beacon Venture Capital

Beacon Venture เป็นกองทุนของธนาคารกสิกรไทย ที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ โดยจะเน้นโฟกัสไปในฝั่ง FinTech, Consumer Internet และ Enterprise Technology ตั้งแต่ระดับ Early to Growth Stage 

สำหรับตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ได้รับการลงทุนไปแล้วมีทั้งหมด 13 บริษัท เช่น Ookbee, Jitta, Grab ฯลฯ 

3. SCB10X

SCB10X เป็นกองทุนที่มีมูลค่า $150 Million USD ก่อตั้งขึ้นโดยธนาคารไทยพาณิชย์ เป้าหมายหลักคือการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพทั่วโลก แต่ก็ยังคงเน้นในแถบ Southeast Asia บ้านเราเป็นหลัก โดยมุ่งไปที่การลงทุนในสตาร์ทอัพที่มี synergy กับธนาคาร ซึ่งก็จะเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพเกี่ยวกับ FinTech, Blockchain, Digital Work & Lifestyle, IoT, Digital Health และ DeepTech ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ลงทุนไปแล้ว ได้แก่ BlockFi, Seekster, pulse iD, ฯลฯ

4. Krungsri Finnovate

สำหรับธนาคารกรุงศรีเอง ก็มีกองทุน Krungsri Finnovate มูลค่า 30 ล้าน USD เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพ series A ขึ้นไป โดยกลุ่มเป้าหมายที่ลงทุนและมี synergy กับกรุงศรีนั้น จะเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพที่มี product ตอบโจทย์ SME loan, personal loan, credit card, home lone, auto loan และ funds & securities ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ลงทุนไปแล้ว ได้แก่ Finnomena, Flash Express

Startup Incubator / Accelerator

การเข้าร่วม startup incubator/accelerator นั้น จะได้รับ benefits ระยะยาวในการส่งเสริมธุรกิจ เช่น การช่วยเหลือในด้าน partnership และ business model ต่าง ๆ ที่เพิ่มมาจากการลงทุน

1. Space-F

Space-F เป็น global FoodTech incubator & accelerator รายแรกในประเทศไทย ที่สนับสนุนสตาร์ทอัพด้าน FoodTech โดยตรง ซึ่ง Space-F เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง NIA, Thai Union และ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่ง Space-F มีโปรแกรมในการช่วยส่งเสริมสตาร์ทอัพทั้งหมด 2 โปรแกรม ได้แก่

1) Incubator: ใช้ระยะเวลาตลอดทั้งโปรแกรมรวม 9-15 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีไอเดียแล้วอยาก develop product 

2) Accelerator: โปรแกรมที่ใช้ระยะเวลา 4 เดือน เหมาะสำหรับสตาร์ทอัพที่เปิดบริษัทแล้วอยากพัฒนาให้ดีขึ้น โดยผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น potential investment, mentorship, networking opportunities ฯลฯ

2. AIS The StartUp

AIS The Startup นั้น เป็นโครงการที่สนับสนุนสตาร์ทอัพในหลากหลายด้าน ซึ่งเปิดรับสมัคร monthly pitching ทุกเดือน ผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยให้ความสนใจกับ สตาร์ทอัพที่มี synergies กับ AIS เช่นสตาร์ทอัพด้าน Finance & Payment, Insurance, Gaming, Video Streaming, Digital Commerce, Travel Tech ฯลฯ โดยบริษัทที่อยู่ใน portfolio ของ AIS The Startup นั้น จะได้รับการสนับสนุนต่าง ๆ จากทาง AIS ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงตลาดระดับโลก ที่ปรึกษาจากทางเครือข่าย สิทธิการเข้าใช้ AIS DC การสนับสนุนด้านการตลาด เป็นต้น ซึ่งทาง AIS The StartUp มีบริษัทใน portfolio แล้วทั้งหมด 50 บริษัท ตัวอย่างเช่น Conicle, SkillLane, QueQ และ Flowaccount เป็นต้น

3. StormBreaker Accelerator by Disrupt

Disrupt เป็น Startup School ที่พัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทยมาตั้งแต่ปี 2012 โดยในปี 2018 Disrupt ได้ก่อตั้งกองทุน StormBreaker Venture เพื่อลงทุนใน EdTech Startup โดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนการสร้าง EdTech Ecosystem ในประเทศไทย โดยปีที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง ‘กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา’ (กสศ.) เพื่อสนับสนุน Social impact startup ด้านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา Disrupt ได้ให้การสนับสนุนและเงินลงทุนเพื่อต่อยอดให้กับ Edtech Startup ไปแล้วทั้งสิ้น 15 ทีม เช่น Conicle, Opendurian, Vonder, SchoolBright โดยมี Valuation รวมในปัจจุบันมากกว่า 600 ล้านบาท 

โดยบทบาทที่สำคัญของ Disrupt คือการช่วยเหลือและสนับสนุนสตาร์ทอัพอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ยังอยู่ในระดับ Early-stage โดยทางเราซัพพอร์ทสตาร์ทอัพ 5 ด้านหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่

1. Know-how: จากการสอนและบ่มเพาะผู้ประกอบการมามากกว่า 1,000 คน รวมถึงประสบการณ์ตรงจาก คุณกระทิง พูนผล และทีมดิสรัปท์ ซึ่งทางเราพร้อมที่จะให้ความรู้และทักษะมากมายกับสตาร์ทอัพในพอร์ต ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นหา business model หรือการทำ go-to-market strategy ต่าง ๆ

2. Partner: Disrupt จะช่วยคอนเนคกับ partners ต่าง ๆ ที่เป็น Corporate ขนาดใหญ่ และนักลงทุนอาทิ เช่น 500 TukTuks, AWS, TCP, depa, Eduspaze, Microsoft, ฯลฯ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้สตาร์ทอัพได้มีพื้นที่ในการนำเสนอ Product/Service ให้กับบุคคลทั่วไป พาร์ทเนอร์ และนักลงทุน ผ่านการจัด Demo Day ให้กับสตาร์ทอัพในพอร์ต ซึ่งจะเป็น runway ไปสู่การระดมทุนและ scale ธุรกิจต่อไปได้ในอนาคต

3. Community: ทางเรามี community ของ Edtech Startup โดยเฉพาะ โดยเรามี SEA Top 50 Edtech ในพอร์ตถึง 3 ทีม โดยการแลกเปลี่ยนความรู้แชร์ประสบการณ์ระหว่างกันนั้น จะช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. Expert: เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา อย่าง EEF, TDRI พร้อม Technical support จาก Amazon Web Services และ mentorship จาก industry experts อีกมากมาย

5. Investment: สตาร์ทอัพใน portfolio ของ StormBreaker นั้น จะได้รับเงินลงทุนจำนวน 500,000-1,500,000 บาท ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดพัฒนา product และ service ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี runway ไปสู่การระดมทุนและ scale ธุรกิจต่อไปได้ในอนาคต

สำหรับ EdTech Startup ที่กำลังหาแนวทางเพื่อพัฒนาขยายขนาดและการเติบโตในอนาคต ห้ามพลาด! Stormbreaker Batch 4 by Disrupt เปิดรับสมัครวันที่ 1-20 ก.พ. นี้

EdTech Startup ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดการรับสมัครผ่านทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/DisruptUniversity และเว็บไซต์ https://www.disruptignite.com/accelerator/edtech-accelerator

#DisruptRules #StormBreakerVenture

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง