Teacher of The Future

November 6, 2018
Noon Ananya

Teacher of The Future

ครู หนึ่งอาชีพที่สร้างคนและสังคมในเวลาเดียวกัน

ครู จึงเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างทุกวันนี้ 

บทบาทของครูที่ทำหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้สอน (lecturer) คงเป็นแค่คำนิยามที่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เมื่อหน้าที่การบรรยายในห้องเรียนสามารถถูกแทนที่ได้ด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การเรียนออนไลน์ที่เทปเรียนถูกนำมาเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

โชคดีที่ในขณะที่บทบาทเก่า ได้จางหายไป บทบาทใหม่ก็ได้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยมีตัวการเร่งสำคัญ ได้แก่ เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

ครูจึงต้องเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่เพื่อให้เข้ากับสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนไป จาก Lecturer สู่ Facilitator

Facilitator คือผู้ช่วยเหลือที่พร้อมจะชี้นำนักเรียนให้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง โดยกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน จะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ (customized approached) ครูจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงจุดนี้ และให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

แต่ทว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ครูหลาย ๆ คน ยังคงไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ อันเนื่องมาจากสองเหตุผลหลักด้วยกัน ได้แก่ จำนวนครู และทรัพยากรที่ขาดแคลน

1. Lack of Teacher

ประเทศไทย ยังคงมีความเชื่อที่สวนทางกับความเป็นจริงอยู่ ในเมื่อทุกคนเข้าใจตรงกันว่า ครู คืออาชีพที่สร้างคน นั่นหมายความว่า ครู ควรเป็นอาชีพที่มีความสามารถมากกว่าอาชีพใด ๆ ในสังคม

แต่ในความเป็นจริง นักเรียนหัวกะทิส่วนมาก มักจะเลือกเรียนต่อในสายอาชีพที่ให้ความมั่นคงทางการเงินและสังคมที่สูงกว่า ทำให้ปัญหาขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมไทย

ผลสำรวจได้บ่งชี้ชัดเจนว่า มีเพียงครูสอนภาษาอังกฤษ 6% เท่านั้นที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้

นอกจากนั้น ยังมี barrier อีกมากมาย ทั้งใบประกอบวิชาชีพ หรือกฎระเบียบของโรงเรียน และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ทำให้ บุคคลากรที่มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์เฉพาะทางในสายงานนั้น ๆ ซึ่งสามารถเป็นครูอาจารย์ที่ดี แต่กลับไม่สามารถเข้ามาเป็นครูในสถาบันการศึกษาได้

หลาย ๆ startups ในต่างประเทศ จึงเลือกที่จะใช้วิธี democratization ซึ่งเป็น platform ที่ใครก็ได้ สามารถสมัครและลงโพสวีดีโอการสอนของตัวเองตามที่ถนัดในวิชานั้น ๆ โดยไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับใด ๆ

ในขณะเดียวกัน นักเรียนก็สามารถที่จะเลือกเรียนในวิชาที่ตนสนใจจริง ๆ ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น business model เช่นนี้ก็ยังคงต้องแก้ไขปัญหา scalable supply อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่เพิ่มจำนวน supply ที่มีคุณภาพของตัวเอง ให้พอกับความต้องการของตลาด 

2. No Resource Sharing Platform

นักเรียนต้องการ customized approaches ที่หลากหลาย และแตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกอย่าเทคโนโลยี ยังทำให้ความรู้ที่มีถูก disrupted อยู่ตลอดเวลา

ครุเพียงหนึ่งคน ไม่สามารถที่จะเก็บรวบรวม และคิดค้นทุกสิ่งอย่างได้ทันท่วงที และก็คงเป็นภาระที่หนักมากเกินไปที่จะทำเช่นนั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยเช่นกัน 

ครูจึงต้องสร้าง community ที่ช่วยเหลือและแบ่งปันสิ่งที่ตัวเองได้ค้นพบ แต่กระบวนการเหล่านี้ก็เกิดขึ้นเพียงแค่ในสังคม offline ในโรงเรียนด้วยกันเองเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ จึงมี innovator มากมายที่พยายามจะอุดรอยรั่วตรงนี้ เช่น Curriculet ที่ได้นำเอาแผนการสอนมาแชร์ในรูปแบบ online และสามารถปรับแต่งให้เข้ากับพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคนได้ นอกจากนี้ ผลการทดสอบยังถูกประมวลและส่งไปให้ครูอีกด้วยเช่นกัน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาการศึกษาในประเทศไทย ยังมีพื้นที่สำหรับการพัฒนาได้อีกมาก ไม่เพียงแค่เรื่องปัญหาของคุณครู (Teacher of the Future) เท่านั้น ยังมีปัญหาอีกมากมายที่รอการแก้ไข

หากสนใจที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้แก่คนไทย 1 ล้านคนภายในปี 2020 อย่ารอช้าที่จะสร้างทีมและส่งใบสมัครได้ที่ StormBreaker Venture

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง