Trends for People Leader in 2024 – เทรนด์เรื่องของ “คน” ในปี 2024

January 15, 2024
Yok Thanawan

ไม่ว่าจะหันไปทางไหนในช่วงปลายปี 2023 ก็จะเห็นสรุป Trends ในอนาคตในปี 2024 ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ธุรกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แล้ว…เทรนด์ของ “คน” สำหรับชาว HR หน้าตาเป็นอย่างไร?

หลักสูตร HR of The Future by Disrupt ขอนำเสนอ 5 เทรนด์น่าสนใจในปี 2024 สำหรับ HR หรือ People Leader จาก Gartner เพื่อนำไปใช้ในการวางกลยุทธบริหารคนและองค์กรได้อย่างก้าวกระโดด    

  1. เมื่อผู้นำภายในองค์กรเริ่มแตกสลาย – และการ training ไม่สามารถช่วยได้อีกต่อไป ⚔️

เพื่อเป็นการติดอาวุธให้เหล่าผู้นำภายในองค์กรไปสู้รบกับอนาคตที่เปลี่ยนแปลง บริษัทมักจะจัด Training ให้ผู้นำไปสู้กับศึกในอนาคต แต่ในหลาย ๆ ครั้งเรามักจะลืมอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการต่อสู่ก็คือ “เกราะ” หรือจิตใจของผู้นำและพนักงานภายในองค์กร ว่าเขาพร้อมสำหรับองค์กรและการเติบโตในอนาคตหรือยัง

จริงอยู่ที่การ Training เป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่จะมีความซับซ้อนและท้าทายมากยิ่งขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทักษะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอไป สำหรับผู้นำในองค์กรและพนักงานในยุคปัจจุบัน

'แล้วเราจะสร้างเกราะไปพร้อมกับอาวุธให้พนักงานได้อย่างไร?' 

  • รีเซทหน้าที่และเป้าหมายของหน้าที่และตำแหน่ง

การทำงานและการเติบโต เปรียบเสมือนกับการผจญภัยไปในดินแดนที่เราไม่รู้จัก หลาย ๆ ครั้งเราต่างลืมเป้าหมาย และความรับผิดชอบที่แท้จริงของคนภายในทีม 

HR มีบทบาทในการสร้างเส้นทางที่ชัดเจนสำหรับพนักงานและสามารถตอบโจทย์ธุรกิจ เพื่อให้คนในองค์กร มีภาระงานและความรับผิดชอบที่เหมาะสม ตอบโจทย์การเติบโตทั้งบุคคลและองค์กรพร้อมทั้งสร้างเป้าหมายของการเติบโตไปพร้อมกัน

  • ผู้นำต้องตระหนักรู้ในตนเองก่อนเสมอ

หลาย ๆ ครั้งเราจะเห็นพนักงานคนหนึ่งที่มีทักษะการทำงานที่เก่งกาจอย่างหาตัวจับได้ยาก แต่พอได้ขึ้นเป็น Manager กลับทำไม่ได้ดีอย่างที่คาดหวังไว้

เพราะบทบาทการเป็นผู้นำไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน การทำงานเก่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้นำที่ดีเสมอไป ดังนั้น HR ควรจะออกแบบระบบ หรือ machanism ที่ให้คนเก่งที่กำลังจะขึ้นเป็นผู้นำคนต่อไปได้ทดลอง ได้ลองจริง เจ็บจริง แล้วจึงค่อยตัดสินใจว่าเขาต้องการที่จะเติบโตไปในรูปแบบใดนั่นเอง

  • ทำทุกอย่างให้ง่ายและเห็นผลได้จริง

“ระบบมันไม่ดี” เป็นหนึ่งในเหตุผล (หรือคำบ่น) ที่ใครหลาย ๆ คนเคยได้ยินและหลายองค์กรเลือกที่จะตอบกลับด้วยคำว่า “เดี๋ยวก็ชิน” หรือ “มันเป็นแบบนี้มานานแล้ว” เพราะระบบไม่ดีไม่ได้ส่งผลแค่ประสิทธิภาพการทำงานของคนภายในองค์กร แต่รวมไปถึงจิตใจของคนที่ทำงานด้วย

ดังนั้น HR ควรจะเป็นผู้มีบทบาทในการแก้ไขระบบที่ไม่ดีในสายตาของพนักงาน เพราะระบบที่ดีไม่ใช่ระบบที่ซับซ้อน แต่เป็นระบบที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย และเห็นผลได้จริง เพราะระบบที่ดีทำให้พนักงานสามารถโฟกัสกับเนื้องานเดิม สร้างสรรค์เนื้องานใหม่ มากกว่าต้องมาใส่ใจและเครียดดกับระบบที่ไม่ดีหรือซับซ้อนนั่นเอง

Photo by John Schnobrich on Unsplash
  1. วัฒนธรรมองค์กรในวันที่เราทำงานได้ทั่วทุกมุมโลก 🧑‍🤝‍🧑

การปลูกฝั่งวัฒนธรรมในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าในองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก โดยเฉพาะในเวลาที่การทำงาน Hybrid หรือ Work from anywhere เมื่อต่างคนต่างอยู่และต่างทำงาน จะทำยังไงให้พวกเขาเป็นเนื้อเดียวกันด้วยวัฒนธรรมองค์กร?

สิ่งสำคัญที่ HR ต้องคำนึงถึงสำหรับปลูกฝั่งวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นบริบทการทำงานแบบใดก็คือ Alignment หรือการสร้างความเข้าใจร่วมกัน  และ Connectedness  หรือความเชื่อมโยง

ในหลาย ๆ องค์กรสามารถทำได้ดีในส่วนของ alignment แต่ส่วนที่ยากที่จะสร้างคือ Connectedness และยิ่งเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่เมื่อเราไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันอีกต่อไป

แล้วจะทำยังไงให้เกิด Connectedness ในวัฒนธรรมองค์กร

  • ในวันที่เราต่างคนต่างทำงาน วัฒนธรรมองค์กรต้องปลูกฝั่งในกระบวนการทำงานทุกวัน (Day-to-day work)
  • เมื่อไม่มีสถานที่เป็นจุดร่วมของคนในองค์กรอีกต่อไป วัฒนธรรมองค์กรต้องเปลี่ยนจากสถานที่ให้กลายเป็นผู้คน
  • คนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเล็ก ๆ กว่าแต่ก่อน ดังนั้นกิจกรรมที่คำนึงถึงก้อนเล็ก ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่นการมุ่งเน้นกิจกรรมทีมมากกว่าทั้งแผนก หรือกลุ่มที่มีความชอบร่วมกัน เช่น กลุ่มคนที่ชอบเช่นกีฬา ดื่มกาแฟ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น

  1. ใด ๆ ในโลกล้วนเทคและ AI เราควรจะใช้อะไรดี? 👩‍💻

ไม่ว่าจะหันไปทางไหนทุกคนก็พูดถึง AI รวมไปถึงผู้บริหารที่ต้องการให้บริษัทใช้ AI ในการทำงาน แต่ปัญหาคือ AI และ Technology เปลี่ยนไปไวมาก และ HR หรือคนในองค์กรตามไม่ทันกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจจากผู้นำจากหลากหลายองค์กร กว่า 75% กล่าวว่าถ้าไม่ทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กรภายใน 12-24 เดือน องค์กรจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้เลย

แล้ว HR ควรจะคำนึงถึงอะไรในการเลือกใช้ Technology หรือ AI ภายในองค์กร

  • แยกความจริงให้ออกจากกระแส ⇒  ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง รวมไปถึงการเลือกใช้ Technology ใหม่ ๆ ดังนั้น HR ต้องศึกษาให้ถี่ถ้วนให้เรียบร้อยก่อนการลงทุน สามารถระบุว่าเทคโนโลยีไหนสำคัญและมีความความเหมาะสมในการนำมาปรับในองค์กรด้วย
  • เกณฑ์ง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจก่อนการลงทุน
  • อภิบาล (Governance): ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี
  • ความพร้อมของคนในองค์กร (Workforece Rediness): คนพร้อมที่จะเรียนรู้และปรับกระบวนการทำงานหรือไม่ 
  • ความเสี่ยงและจริยธรรม (Regulation and Ethics): ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและข้อกฎหมาย เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
  • ศึกษาผลิตภัณฑ์และผู้ขาย (Vendor landscape): ความคุ้มค่าในการซื้อเทคโลยีจากผู้ขาย vs ทำเทคโนโลยีด้วยตนเอง

  1. แผนการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง (Change Management) 🌊

การเปลี่ยนแปลงมีมากขึ้นและมากขึ้นในทุก ๆ วัน ด้วยความเร็วที่มากขึ้นและซับซ้อนขึ้น หลาย ๆ องค์กรจึงต้องทำสิ่งที่เรียกว่า Change Management เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้ว Change Management ประกอบด้วย “การสื่อสารและการอบรม” [Communicate x Training] เพื่อให้เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต

แต่จากการศึกษาพบว่ามีพนักงานเพียง 8% เท่านั้นพี่พร้อมและสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ และพนักงานส่วนใหญ่เผชิญหน้ากับภาวะ “Change Fatigue” หรือความเหนื่อยล้ากับการเผชิญความเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อใจภายในองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงาน และลาออกจากองค์กรในที่สุด

ดังนั้นองค์กรควรจะคำนึงถึงความเหนื่อยล้าของคนในองค์กรในการจัดทำ Change Management ด้วย เพราะถ้าเทียบการเปลี่ยนแปลงเป็นการวิ่งบนทางที่ไม่สิ้นสุด และคงจะเป็นไปไม่ได้ที่เลยที่เราจะไม่หยุดพักเพื่อป้องกันการเหนื่อยล้าและบาดเจ็บก่อนที่จะเจอเป้าหมายที่แท้จริง องค์กรจึงต้องทำการประเมินก่อนทำการเปลี่ยนแปลง และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในใจว่าทำ Change Management ไปเพื่ออะไร

  1. การวาง career path ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 🗺️

คุณดูแผนที่กระดาษครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กัน? ในปัจจุบันที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็ต่างเปิดดูโทรศัพท์ในมือถือ เพราะมันทั้งสะดวก สามารถคาดการณ์เวลาได้อย่าง(ค่อนข้าง)แม่นยำ สามารถเปลี่ยนเส้นทางในวันที่รถติดอย่างแสนสาหัส

“การวาง Carreer Path ก็เปรียบเสมือนแผนที่สำหรับพนักงาน จะดีกว่ามั้ยถ้า HR สามารถทำให้แผนที่กระดาษของพนักงาน กลายเป็นแผนที่ดิจิทัลที่ตอบโจทย์พนักงานและองค์กรได้อย่างแท้จริง”

Photo by henry perks on Unsplash

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของ HR ทุกคน การวางแผนในอนาคตขององค์กรเป็นส่วนสำคัญ แต่การวางแผนคนภายในองค์กรก็สำคัญมากเช่นเดียวกัน เพราะการวางแผนแบบเก่า (แผนที่กระดาษ) ไม่สามารถตอบโจทย์อนาคตแห่งโลกธุรกิจได้เช่นกัน

วิธีการวางแผนอาชีพที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

  • ออกแบบ career plan ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ และความต้องการและสนใจของพนักงาน
  • สร้างตำแหน่งตามความสามารถและความเชี่ยวชาญของพนักงานมากกว่าตาม Job Description หรือโครงสร้างองค์กร เพื่อให้พนักงานได้พัฒนาตนเองตามความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง 

และนี่คือ Trends ในปี 2024 ที่ HR หรือ People Leader ของทุกองค์กรควรรู้เพื่อที่จะพัฒนาองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างก้าวกระโดดในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

และสำหรับใครที่อยากรู้ “แนวทาง” ที่จะทำให้ Trends ต่าง ๆ กลายเป็นกลยุทธ์ขององค์กรที่ใช้ได้จริง สามารถมาพบกับได้ที่หลักสูตร HR of The Future รุ่นที่ 2 เพราะเรารวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริง เล่นจริง เจ็บจริงในวงการ HR มาแชร์ประสบการณ์และ growth hack สำหรับ People Leader ทุกคน

📌สนใจสมัครและดูรายละเอียด คลิก

📆เรียนทุกวันศุกร์ เวลา 9.30 - 16.30 น. (ตั้งแต่ 1 มีนาคม - 29 มีนาคม 2567)

🌟พิเศษ!! Early Bird 110,000 บาท สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนและสำรองที่นั่งก่อน 31 มกราคม 2567 ได้รับราคาพิเศษ 110,000 บาท จากราคาเต็ม 125,000 บาท/ท่าน

ติดตามประสบการณ์และความประทับใจจากผู้เรียนนุ่นที่ 1 ได้ทางแฮชแท็ก Facebook

#HRofTheFuture #TheDisruptor #DisruptRules

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก Gartner และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Top 5 HR Trends and Priorities for 2024 | Gartner. (n.d.). Gartner. https://www.gartner.com/en/human-resources/trends/top-priorities-for-hr-leaders

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง