ความท้าทายในองค์กร: Transformation อยู่ที่ ‘คน’ หรือ ‘เครื่องมือ’

July 19, 2023
Paul Rungruangsate

งานวิจัยชิ้นล่าสุดจาก McKinsey ชี้ให้เห็นว่า 20% ของมูลค่าการ transform หายไปหลังจากการนำมาปรับใช้ทางเทคนิค และการ transform ดังกล่าว มักจะล้มเหลวลงจากการต่อต้านของพนักงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดการเชื่อมต่อกันระหว่าง expectation ของผู้นำ และ attitude ของผู้ใช้งานเมื่อต้องทำการ transform และหากผู้นำใช้วิธีการนำเอา digital transformation เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบแบบเบ็ดเสร็จครั้งเดียวจบ (หรือ one-and-done change model) แทนการสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และการปรับ mindset แน่นอนว่า things can go wrong!

ทุกวันนี้ ‘Digital Transformation’ ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่สุด เพราะทุกคนในโลกธุรกิจต่างพูดถึงกัน แต่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในองค์กรเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะประกันความสำเร็จได้ สิ่งสำคัญที่หลายคนมักมองข้ามและลืมนึกถึงไป นั่นคือ การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่เป็นเหมือน side effect ของ Transformation ซึ่งในบทความนี้ เราจะไปสำรวจถึงสาเหตุกันว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ ‘คน’ ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ พร้อมเผยกลยุทธ์สู่เส้นทางแห่งการ transform ไปสู่ innovative organization

1. องค์ประกอบแห่งมนุษย์:

แม้เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในโลกยุค Digital Transformation มากเพียงใดก็ตาม แต่ท้ายที่สุด มนุษย์ก็ยังคงเป็นผู้คุมบังเหียนความสำเร็จอยู่ดี ดังนั้นการตัดหรือการไม่เห็นคุณค่าความสำคัญขององค์ประกอบหลักอย่าง ‘มนุษย์’ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ พนักงานในองค์กรนั้นออกไป อาจนำไปสู่การต่อต้าน การไม่ยอมรับ และอาจร้ายแรงถึงขั้น Project ถูกพับลงกลางทางได้ ฉะนั้นองค์กรที่ดี จึงจำเป็นต้องมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรร่วมด้วย

2. การสื่อสารที่ชัดเจน:

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นแกนหลักของการจัดการในทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จ พนักงานจำเป็นจะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่จะได้รับ และการนำ Transformation ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการสื่อสารที่ชัดเจนโปร่งใสและมีเหตุผลสอดคล้องกัน จะช่วยสร้างความเชื่อใจ คลายความกลัวหรือวิตกกังวลต่าง ๆ ของพนักงานลง และยังช่วยส่งเสริม Sense of Purpose and Direction กล่าวคือ จะทำให้พนักงานรับรู้ในเป้าหมายและทิศทางทั้งของตัวเอง ทีม และองค์กร ได้

3. แรงสนับสนุนจากผู้นำ:

ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน พร้อมช่วยเหลือส่งเสริมตลอดกระบวนการ transform ซึ่งการสนับสนุน การให้ความสำคัญกับข้อกังวลต่าง ๆ ของพนักงาน และการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ มาให้อย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้นำสามารถเรียกความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้พนักงานยอมเปิดรับโลกแห่ง transformation ใบใหม่นี้

4. การมีส่วนร่วมของพนักงาน:

การดึงพนักงานเข้ามามีบทบาทในกระบวนการเปลี่ยนแปลง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้พนักงาน buy-in และมี ownership ร่วมด้วย ซึ่งการให้พนักงานมีส่วนร่วมตั้งแต่เนิ่น ๆ การขอความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะทำให้พนักงานเกิด Sense of Empowerment และเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ นอกจากนี้การนำความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกของพนักงานมาใช้ ยังสามารถเกิดเป็น innovative solutions และนำไปใช้งานได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นอีกด้วย

5. การฝึกอบรมและการอัปสกิล:

การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล มักจะต้องการทักษะและความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ การจัดโปรแกรมฝึกอบรมที่ครอบคลุมและพัฒนาทักษะ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้พนักงานปรับตัวเข้ากับโลกแห่งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที ผลลัพธ์ในการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญนี้ องค์กรจะได้พนักงานที่ยอมเปิดรับเครื่องมือดิจิทัลและใช้งานได้อย่างมีความมั่นใจ รวมไปถึงการได้พัฒนาขีดศักยภาพของพนักงานด้วย

6. ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง:

การเปลี่ยนแปลง คือ กระบวนการแบบไดนามิก ที่ต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การประเมินความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ การหาจุดโหว่ช่องว่าง และการปรับเปลี่ยนสิ่งที่จำเป็นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจว่า transformation journey จะยังคงเป็นไปตามแผน การสร้าง Culture of feedback and learning ก็เป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาและปรับตัวเพื่อให้เข้ากับความต้องการของโลกดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ระบบดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จได้นั้น มีสิ่งที่ท้าทายเหนือไปกว่าการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ นั่นคือการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ ‘คน’ และองค์กรจะต้องสามารถเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายไปสู่การ Transform ให้ได้ และจากที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้นำ การให้พนักงานเข้ามามีบทบาทส่วนร่วม การฝึกอบรม และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้คือการปูเส้นทางไปสู่โลก Transformation ที่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับทั้งองค์กรและพนักงาน

-----------------------------------
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่กับหลักสูตร #CXO4 เพื่อให้คุณก้าวสู่การเป็น #TheNextCXO แห่งทศวรรษ 2030
🚀 CXO4 หลักสูตร 'เข้มข้น' 13 สัปดาห์เต็ม!
เรียนทุกบ่ายวันเสาร์ เริ่ม 10 กุมภาพันธ์ 2024 - 15 มิถุนายน 2024
พร้อม Leadership Accelerated Bootcamp 3 วัน 2 คืน
📌สนใจดูรายละเอียด คลิก: https://www.disruptignite.com/cxo

-----------------------------------
หากคุณเป็น “ผู้นำที่ให้ความสำคัญเรื่องคน”, เป็น “HR” หรือผู้บริหารที่อยากบริหารคนให้เป็น 
อย่าพลาดโอกาสในการร่วมเป็นแถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงคนและองค์กร
🚀 หลักสูตร “HR of the Future”
Timeline: เรียน Onsite ทุกวันศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น. (ตั้งแต่ 8 กันยายน - 6 ตุลาคม 2566)
📌สนใจดูรายละเอียด คลิก: https://www.disruptignite.com/hrofthefuture 

-----------------------------------
สอบถามเพิ่มเติม
LINE: @disruptignite
Email: all@disruptignite.com

#CXO4 #TheNextCXO #CXObyDisrupt #HRofTheFuture
#DigitalTransformation #ChangeManagement #Innovation #FutureOfWork

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง