สงครามแอปหาคู่แห่งยุคโซเชียล กับ Killing Features ไม้เด็ด! ที่ช่วยหาคนที่ใช่

November 28, 2020
Typp Sathitanont

เทคโนโลยีสมัยนี้ช่วยให้อะไร ๆ ก็เป็นเรื่องง่าย ไม่เว้นแม้แต่การหาคนรู้ใจ ทำให้โอกาสของคนสองคนที่ไม่น่ามีโอกาสได้เจอกัน ได้มาเจอกัน ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีเอาชนะกำแพงทางภูมิศาสตร์ อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คนที่ไม่มีเวลาไปทำความรู้จักกับใครใหม่ ๆ ได้เจอคนที่หลากหลาย แน่นอนว่าการหันมาจับธุรกิจตลาดคนโสดเป็นสิ่งที่น่าจับตามองในยุคโซเชียลมีเดียอยู่ไม่ใช่น้อย เนื่องจากตลาดคนโสดเป็นตลาดที่ใหญ่และกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งในระดับโลกมีการคาดการว่าจะมีอัตราการเติบโตถึง 1.9% และสอดคล้องกับบทบาทและความแพร่หลายของเทคโนโลยีอย่าง “สมาร์ทโฟน” และ “อินเตอร์เน็ต”ที่หนุนตลาดนี้ได้เป็นอย่างดี จนนำมาสู่การเกิดขึ้นของ “แอปหาคู่”

ในบทความนี้ เราจะหยิบเอาแอปตัวเจ๋ง ๆ พร้อมจุดเด่นที่สร้าง Customer Journey และตอบโจทย์ Consumer Behavior รวมไปถึงการนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ในการพบปะคนผู้คน ทำให้การพบรักเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น  


1. Tinder ~ ปัดขวาหารักแท้

dwzacux3ztel1pbnbibf.jpg

Tinder แอปหาคู่ยอดนิยม ก่อตั้งในปี 2012 ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 57 ล้านคนทั่วโลก และปี 2019 ที่ผ่านมาสร้างรายได้กว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 66,440 ล้านบาท) จนทำให้ Tinder ขึ้นชาร์จ Top 3 แอปที่ทำรายได้มากที่สุดใน App Store และการันตีด้วยการจับคู่เดทกว่า 2 หมื่นล้านคู่ สถิติคนปัดขวา 1.6 พันล้านครั้ง/วัน จุดเริ่มต้นของแอปนี้เกิดจากข้อสังเกตที่ว่า ไม่ว่าคนแต่ละคนจะเป็นใคร คนคนนั้นจะรู้สึกสบายใจที่จะเข้าหาอีกคนหนึ่ง หากได้รู้ว่าอีกฝั่งก็อยากทำความรู้จักเหมือนกัน เมื่อทั้งคู่เริ่มต้นด้วยพื้นฐานที่สนใจซึ่งกันและกัน โอกาสที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ต่อย่อมมีสูง จึงเกิดเป็น Tinder เพื่อเป็นช่องทางใหม่ในการพบปะผู้คน

สิ่งที่ทำให้ Tinder แตกต่างจากแอปหาคู่อื่น ๆ คือ การใช้งานที่ง่าย “ไม่ชอบปัดซ้าย ถูกใจปัดขวา” โดยได้คิดขั้นตอนให้เข้ากับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของคนสมัยนี้ ซึ่งคือการปัดหน้าจอสมาร์ทโฟนเวลาดูรูป ส่วนโปรไฟล์ผู้ใช้งานจะอิงตามโลเคชั่น นั่นหมายความว่า คนที่เราปัดขวาให้อยู่ละแวกเดียวกับเรานั่นเอง!  

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือ Tinder เป็นแอปหาคู่ที่ใช้งานได้ฟรี เนื่องจากมีโมเดลหารายได้จากการโฆษณา และใช้โมเดลธุรกิจที่เรียกว่า Freemium คือหากผู้ใช้งานต้องการฟีเจอร์ที่พิเศษขึ้น ก็ต้องเสียเงินเพิ่ม สำหรับการเป็นสมาชิกที่เรียกว่า Tinder Plus ในราคา $9.99-19.99 ต่อเดือนแล้วแต่ช่วงอายุ และจ่ายเพิ่มอีก $4.99 จะเป็นระดับ Tinder Gold ที่มาพร้อมฟีเจอร์ที่ช่วยให้การหาคู่เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นไปอีก เช่น Tinder Passport สามารถเลือก location ที่อยากเจอเนื้อคู่ในประเทศใดก็ได้บนโลก


2. Bumble ~ เจาะตลาดเลดี้เฟิร์ส

bumble.webp

แอปคู่แข่ง Tinder อย่าง Bumble เป็นแอปลิเคชั่นหาคู่ที่โตเร็วที่สุดในสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวสูงกว่า 70% มีผู้ใช้งานกว่า 55 ล้านคนทั่วโลกตามข้อมูลในปี 2019 เป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่สร้างรายได้ทะลุ 1,000 ล้านเหรียญ จุดเด่นของ Bumble คือ ชูจุดขายอย่าง “Lady First” โดยเริ่มต้นมาจากไอเดียของผู้ก่อตั้ง Whitney Wolfe Herd ซึ่งเคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานฝ่ายการตลาดของ Tinder เธอมีไอเดียว่าทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยน mindset ของผู้หญิงให้เป็นฝ่ายที่กล้าขอนัดเดทหรือส่งข้อความหาผู้ชายได้ตั้งแต่ครั้งแรก โดยไม่ต้องเป็นฝ่ายรอ จากแนวคิดของคนที่เข้าใจกลุ่มเป้าหมายคือผู้หญิง ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่กลัวการใช้แอปพลิเคชั่นหาคู่ แอป Bumble จึงเป็นแอปที่ให้ความรู้สึกสุภาพและปลอดภัยกว่าแอปอื่น ๆ พร้อมผลักดันเป้าหมายหลักของ Bumble ในการเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติของคนในสังคม

ไฮไลท์ของ Bumble คือ ผู้หญิงสามารถเป็นฝ่ายเริ่มบทสนทนาโดยไม่ต้องรอให้ผู้ชายทักก่อน และผู้ชายไม่สามารถเริ่มต้นการสนทนากับผู้หญิงได้จนกว่าผู้หญิงจะเป็นฝ่ายทัก พอทั้งคู่แมทช์กันแล้ว คู่เดทจะสามารถเริ่มแชทได้ภายใน 24 ชั่วโมง หากไม่มีการแชทภายใน 24 ชั่วโมงการจับคู่ก็จะหายไป

กลยุทธ์เจาะความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว ‘women-centric’ ทำให้แอป Bumble สามารถเข้าไปจับจองแหล่งทำเงินได้สำเร็จ ผู้ใช้งาน Bumble ยอมจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน 9.99 เหรียญเพื่อพรีเมียมฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น ขยายเวลาแมทช์มากกว่า 24 ชั่วโมง


3. Happn ~ เนื้อคู่คุณอาจจะเป็นคนที่เพิ่งเดินสวนกันไป

app-happn-content1.jpg

“การที่คนสองคนเดินผ่านกันไปแล้ว ไม่ง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้พบกันอีกครั้ง”

แอป Happn ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้งานสามารถใช้แอป Happn ในเวลาที่เจอใครบางคนที่สะดุดตา หรือแม้แต่คนที่เพิ่งเดินสวนกันไป แอปนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ทำความรู้จักกับคนที่เดินผ่านไป แต่ไม่กล้าเข้าไปทักทาย ผ่านเทคโนโลยี GPS หรือการระบุตำแหน่งของผู้ใช้แบบ Real Time แต่การใช้งานดังกล่าวนี้ผู้ที่จะค้นหาต้องมีแอปพลิเคชั่น Happn เช่นเดียวกัน

แอป Happn ยังสามารถบอกได้อีกว่าเคยเดินผ่านคนไหน เวลาใด และนับให้ด้วยว่าเราเคยผ่านกันและกันมามากแค่ไหน ถ้าผ่านกันเยอะ ๆ ก็น่าสนใจว่าอาจจะอยู่บริเวณใกล้กัน มีไลฟ์สไตล์ตรงกัน ก็น่าจะทำความรู้จักใกล้ชิดกันได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์คนที่อยากเจอเนื้อคู่แบบเห็นหน้ากันจริง ๆ มาก่อน 

ส่วนโมเดลการสร้างรายได้ในปัจจุบันของแอป Happn มาจากการขายเครดิตที่เรียกว่า Charm ที่ช่วยบอกให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ว่าเราจริงจังและสนใจพิเศษกว่าคนอื่น

4. Omi ส่งควิซทายใจหาคนที่ใช่

Omi.png

Omi อีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นหาคู่ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ โดดเด่นด้วยวิธีจับคู่ที่ไม่เหมือนใครผ่านการใช้ฟังก์ชั่น “ควิซ (Quiz)” ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคู่แมตช์ที่เข้ากันได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา ทำทุกอย่างได้อยู่ที่ปลายนิ้ว แอป Omi ถูกดีไซน์มาให้ใช้งานง่ายด้วยหลักการของ User Experience ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้งานสามารถเลือกสนทนากับคนที่สนใจเท่านั้น ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกรบกวน

โดยสิ่งที่ทำให้ Omi สร้างรายได้มหาศาลมาจากโมเดลธุรกิจอย่าง Omi Premium เช่น ผู้ใช้งานสามารถกดไลค์ให้คนที่ชอบได้ไม่จำกัดจำนวน และสามารถดูว่าใครกดไลค์ให้เราบ้าง แอปนี้เหนือขั้นกว่าแอปอื่นตรงที่ใช้ AI ช่วยในการบันทึกและคัดกรองข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ควบคุมไม่ให้มีคนเอาประวัติหลอกมาใส่เพื่อให้โปรไฟล์ดูดีเกินไปหรือแอบอ้าง และตรวจสอบเรื่องรูปภาพที่ใช้ในแอปจะต้องตรงกับตัวจริง


จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าแอปพลิเคชั่นที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะมีสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ร่วมกัน คือ การมองเห็นปัญหาที่แท้จริง (burning pain point) จากการสังเกตพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อปัญหาเป็นที่ต้องการของตลาด ย่อมมีคนพร้อมที่จะจ่ายเงินซื้อ และอีกหนึ่งแรงกระตุ้นในการเพิ่มรายได้ของแอปพลิเคชั่น คือ โมเดลธุรกิจ Freemium ที่ให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดได้ฟรี แต่ผู้ใช้งานต้องเสียเงินเพิ่มหากอยากได้ Premium Features และจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ใช้งานที่ยอมจ่ายเงินกลับมีมากขึ้น เพราะฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมามันตอบโจทย์จริง ๆ 

“ถ้าแอปไหนตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ แอปนั้นก็จะประสบความสำเร็จ”

ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Ventureและพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ จาก EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จทั้งในไทยและต่างประเทศ ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่


References:

https://bumble.com/the-buzz/a-letter-from-whitney-wolfe-herd-founder-and-ceo

https://www.businessofapps.com/data/tinder-statistics/

https://www.europeanceo.com/profiles/happn-ceo-didier-rappaport-is-bringing-digital-dating-to-life/

http://omi.sg/

"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
"คน" คือหัวใจ: 8 กลยุทธ์พัฒนา "คน" สู่ความสำเร็จในยุค AI Disruption
การขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีทักษะและศักยภาพ โดยเฉพาะด้านไอที ข้อมูล และวิศวกรรม เป็นปัญหาที่องค์กรต่างประสบอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้นำทุกระดับต้องให้การสนับสนุนและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร โดยบทความได้นำเสนอ 8 กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปฐมนิเทศที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย การโค้ช ความสนับสนุนจากผู้นำ การแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
Mar 19, 2024

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง