มุมมองคุณกระทิงต่อความความท้าทายเศรษฐกิจไทยภายในปี 2030

September 16, 2020
Krating Poonpol

Article นี้ของ Bloomberg น่าสนใจมากครับ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรไทยจากฐานข้อมูลของ UN เทียบกับรายได้ต่อหัว น่าตกใจว่าค้นพบปัญหาที่คล้ายคลึงกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งที่ประเทศไทยยังมีปัญหาเศรษฐกิจหลายอย่าง นอกจากนี้ผมได้เพิ่มความเห็นส่วนตัวลงไปข้างล่างด้วยครับ

หลักๆประเด็นของ article คือ ประเทศเรายังไม่พัฒนาแต่ดันมีปัญหาประเทศพัฒนาแล้วเช่น ภายในปี 2030  ~ 25% ของประชากรไทยจะมีอายุมากกว่า 60 และอยู่ในระดับต่ำกว่าชนชั้นกลางอีก คือประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศที่ "สูงอายุ และ มีเงินน้อย" เพราะอัตราการเกิดของเรานั้นแทบจะต่ำที่สุดในโลกคือ 1.5 ในขณะที่อัตราการเกิดที่จะ sustain / grow จำนวนประชากรคือ 2.1 แล้วรายได้ต่อหัวนั้นไม่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญได้เลย


โดยหลักการ พ่อ แม่ ควรมีลูก 2.1 คน โดยเฉลี่ย ฐานประชากรถึงจะเติบโตคือ ต่อไป พ่อ แม่ เสียชีวิตฐานประชากรก็หายไป 2 คน แต่ถ้าอัตราการเกิด 2.1 ก็จะมีคนเพิ่ม 2.1 คน net ไป บวก 0.1 คนแต่ของเมืองไทยปัจจุบันคือ ตาย 2 เกิดแค่ 1.5 คือ ประชากรไทย จะหายไป 1 ใน 3 ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งจะทำให้ 


1) ความต้องการสินค้าบริการลดลงเพราะคนแก่ใช้จ่ายน้อยกว่าคนหนุ่มสาวเพราะคนแก่ในอนาคตจะมีเงินน้อยกว่าคนแก่ปัจจุบันด้วยระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขนาดนี้


2) แรงงานลดลง ทำให้ productivity ของประเทศลดลงแถม ประเทศไทย มีหนี้ สาธารณะ เยอะมาก นี่หมายความว่าคนหนุ่มสาวที่เป็นแรงงานจ่ายภาษี ก็น้อยลง แต่ต้อง แบกหนี้ ต่อหัวมากขึ้น อีกก็มีเงินใช้จ่ายน้อย demand น้อยเศรษฐกิจ ก็ยิ่ง เติบโตน้อยลงอีก 


3) ดังนั้นเศรษฐกิจไทยซึ่งฐานการจ้างงานยังอยู่ที่การเกษตรและอุตสาหกรรมโรงงานในการผลิตยุคเก่า ๆ แถมอุตสาหกรรมที่ย้ายมาไทยเพื่อหนีผลกระทบจาก Trade War ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในขณะที่อุตสาหกรรมเป้าหมายดันเลือกเวียดนามมากกว่าไทยทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตและดึงดูดเงินลงทุนมากกว่าเรา


4) เศรษฐกิจไทยนั้นขึ้นอยู่กับ การท่องเที่ยวและไม่กี่อุตสาหกรรมที่เราอยู่ปลายน้ำมากในขณะที่บริษัทใหญ่ๆในไทยนั้นหลายๆบริษัทยังขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เราต้อง "import" เข้ามาทำให้เราเป็น net importer ของ technology และ core competency และ เมื่อรวมกับการปฎิวัติเทคโนโลยีที่จะเข้ามาทำให้ปัญหาของประเทศเรายิ่งแย่ลงไปอีก


5) ดังนั้นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ๆ และเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่ใช้คนน้อยลงแต่แต่ละคนสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและรายได้สูงกว่าเดิมมากๆ (ซึ่งควรจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าปัจจุบัน 2 เท่าโดยเฉลี่ยขึ้นไป) และในอุตสาหกรรมเหล่านั้นเราต้องสามารถสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยตัวเองและทำให้เราสามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ และ แรงงานเหล่านี้และบริษัทในอุตสาหกรรมใหม่ๆเหล่านี้จึงจะสามารถ "แบก" อนาคตของประเทศเราได้


6) แต่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ เหล่านี้นั้นต้องการทักษะแรงงานและขีดความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมยุคเก่ามาก ๆ ซึ่งต้องการ การยกระดับแบบก้าวกระโดดของการศึกษาระดับพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษารวมทั้งการ reskill แรงงานทั้งประเทศ 


7) นอกจากการศึกษาแล้ว technology policy และ industrial policy นั้นต้องการการ revamp เพื่อให้ตอบโจทย์โลกอนาคตและทำให้ประเทศไทยยังสามารถแข่งขันได้ในอนาคตครับ 


8) วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนต่อโลกอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมของประเทศไทยควรอยู่ตรงไหน และ อุตสาหกรรมแห่งอนาคตอะไรที่เราควรจะ focus เพราะประเทศเล็กๆอย่างเราไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง อุตสาหกรรมไหนที่เราควรจะเป็น Leader/Shaper บางอุตสาหกรรมเราควรเป็น Fast Follower / Strategic Parity อุตสาหกรรมไหนที่เราควร Reserve The Right To Win และอุตสาหกรรมไหนที่เราควร exit รวมทั้งการ put the "right people", policy และ resource ลงไป 

รวมทั้งการปฎิวัติการศึกษาอย่างจริงจังและขจัด corruption อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นวงกว้าง รวมทั้งการสร้าง policy ที่เชื่อมโยงกันและไม่ขัดแย้งกัน


เรื่องเหล่านี้น่าจะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้านี้ก่อนที่ทุกอย่างจะเริ่มสายเกินไปครับ


ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Ventureและพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ จาก EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จทั้งในไทยและต่างประเทศ ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง