บทสรุป Future of Education (Part 2) Edtech 2.0 - Edtech Renaissance

March 6, 2020
Krating Poonpol

Future of Education (ตอนที่ 2)

EdTech 2.0 - EdTech Renaissance, Rise of Live, และ Cloud-Powered Schools

เมื่อ EdTech 1.0 คือเรื่องของ Unbundle และ Asynchronous

การ Unbundle คือการที่ EdTech ทำ Killer App ที่มี feature แค่ 1-2 อย่าง (เช่น PhotoMath แอพที่ใช้ถ่ายรูปโจทย์คณิตศาสตร์แล้วสอนแก้โจทย์นั้น ๆ) และยังมี EdTech ในยุค 1.0 นับร้อย ๆ ตัว ที่ทำหน้าที่ได้ดีแค่ 1-2 อย่าง แต่ดีกว่าการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมมหาศาล โดยเมื่อ Killer App รวมตัวกันหลายร้อยตัวมาก ๆ เข้า ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีมาก ก็เหมือนกองทัพมดที่ฉีกกระชาก (unbundle) การศึกษาแบบดั้งเดิมเป็นชิ้น ๆ ในขณะที่ Asynchronous คือการอัดคอนเท้นต์ใส่บน online platform เพื่อเรียนภายหลัง และปัจจุบันนี้เรากำลังอยู่ในยุค EdTech 2.0 ที่กำลังพัฒนาไปอีกขั้น

1) Platform Scale 

คือการที่ EdTech ในยุค EdTech 1.0 นั้นเติบโตขึ้นมาจากการเป็น killer app ที่มีแค่ 1-2 killing features กลายมาเป็น platform ที่มี ecosystem ของตัวเอง และมีผู้ใช้นับสิบ ๆ ล้านคน

2) The Rise of Live 

คือเริ่มจากการเรียนรู้แบบอัดคอนเท้นต์ใส่ online platform แล้วมาเรียนทีหลัง ไปสู่การเรียน"สด" (Live content) ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ต่อ 1 อย่าง Engoo, เรียนแบบ one-to-many คือผู้สอน 1 คน สอนสดกับนักเรียนหลาย ๆ คน และแบบ many-to-many คือสอนสดหลาย ๆ คนพร้อม ๆ กัน

3) Personalized Learning Pathway

การนำ A.I./Machine Learning มาใช้เพื่อการเรียนรู้ทักษะ และเส้นทางการเรียนของแต่ละคนที่แตกต่างกัน รวมถึงการนำ online tools ต่าง ๆ มาใช้ เช่น online discussion group, online breakout room, online debate, online quizzes, online polls, online simulation, live team presentation เพื่อสร้าง personalized learning pathway ขึ้นมา

เช่น เมื่อคุณเรียนสดไปประมาณ 15 นาทีก็จะมี pop-up quizzes ขึ้นมา หากคุณตอบถูก คุณก็จะได้เลื่อนขั้นไป online discussion group ที่พูดคุยถกเถียงกันในหัวข้อที่ advanced มากขึ้นทันที เมื่อเรียนต่อไป จะมี pop-up quizzes ขึ้นมาอีก หากคุณตอบถูก คุณจะสามารถสร้าง poll เพื่อเลือกเรียนรู้หัวข้อที่ advanced ขึ้นไปอีกตามความชอบและความถนัดของคุณ และสามารถร่วมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ที่มีระดับการเรียนรู้และความสนใจแบบเดียวกันจากทั่วโลก และสามารถทำ project ร่วมกัน เพื่อมาร่วม online debate แบบสดกับเพื่อนกลุ่มอื่นในวันรุ่งขึ้นได้ทันที

4) Cloud-Powered Schools 

คือการสร้างระบบปฎิบัติการหลังบ้านให้โรงเรียนนำไปใช้ โดยโรงเรียนสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ network และเข้าใช้บริการ school-as-a-service ที่อยู่บน cloud และสามารถใช้ tools มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่ ระบบตรวจข้อสอบ, ระบบการตรวจเช็คการเข้าเรียนและรายงานผลการเรียนแบบ online แก่ผู้ปกครองและอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสร้าง online learning community ที่คุณครูหลาย ๆ ท่านใน network สามารถแชร์แผนการสอน, แชร์เนื้อหาการสอน, เทคนิคการสอน, แชร์ข้อสอบซึ่งกันและกัน และช่วยกันพัฒนาการเรียนรู้ได้ รวมถึงการนำคุณพ่อ, คุณแม่ และนักเรียนเอง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ learning community นี้ด้วย โดยถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนระบบ "full stack" operating platform ของโรงเรียนในเครือข่ายนั่นเอง

5) Enterprise Reskilling 

เรียกได้ว่ากำลังถูกยกเครื่องครั้งใหญ่ ในขณะที่ 74% ของบริษัทต่าง ๆ นั้น มีการใช้ระบบ Learning Management System (LMS) แต่ LMSที่ตกยุคเหล่านั้น กลับทำให้ 77% ของบริษัทที่ใช้รู้สึกไม่พึงพอใจอย่างมาก และบริษัทต้องการ solution ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้พนักงานเป็นผู้เลือกเส้นทางการเรียนรู้ และเป็นผู้บริหารค่าใช้จ่ายตามงบประมาณ และมีการพัฒนาทักษะที่สามารถเห็นผลและวัดผลได้ชัดเจน รวมถึงมี performance ในเนื้องานที่ดีขึ้นจริง ๆ 

โดยตลาด Enterprise Learning นั้นมีขนาดถึง 171 Billion USD จึงนำไปสู่โอกาสมหาศาล สำหรับ EdTech ที่เชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การจ้างงานหรือทักษะในงานโดยตรง (Learning Pathway to Career Pathway)

6) Outcome-Aligned Financing 

แม้กระทั่งการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ก็กำลังจะถูกปฏิวัติ เมื่อ model การกู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดั้งเดิมนั้นทำให้นักเรียนเป็นหนี้หัวโต แต่กลับหางานดี ๆ ทำไม่ได้ โดยในยุค EdTech 2.0 นั้น มีบริษัท EdTech และสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่ปฏิวัติการกู้ยืมหนี้เพื่อการศึกษาไปเป็น Income-aligned financing คือการชาร์จค่าเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ตอนเรียนจบจากสถาบันนั้น ๆ ทำให้แรงจูงใจและเป้าหมายของทั้งมหาวิทยาลัยและนักเรียนตรงกัน คือผู้เรียนเรียนจบไปแล้วมีงานที่ดีมีรายได้สูง มหาวิทยาลัยจะได้เปอร์เซนต์รายได้มากขึ้นไปด้วย (แทนที่จะชาร์จค่าเรียนแบบ Fix) โดย model การชาร์จเงินแบบนี้ เริ่มมีการนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง Purdue University และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้ง EdTech startups อย่าง App Academy, Maker School ก็นำ model แบบนี้ไปใช้ตั้งแต่ต้น

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคที่เรียกว่ายุค Renaissance ของ EdTech และเราเริ่มเห็น EdTech ที่เป็น Unicorn (Startup ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญ) โผล่ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น iTutor ที่มี มูลค่ากว่า 2 billion USD และกำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์เร็ว ๆ นี้ หรือ VIPKids ที่มีมูลค่ากว่า 1.5 billion USD หรือการที่ Adecco เข้าซื้อ General Assembly ด้วยมูลค่ากว่า 400 ล้านเหรียญก็ตาม แต่ "Demand still out-varies Supply" คือความต้องการด้านการศึกษานั้น ยังมีความหลากหลายที่ EdTech ปัจจุบันยังตอบโจทย์ไม่ครบอีกมาก และทำให้มีโอกาสมหาศาลสำหรับ EdTech Entrepreneurs 

 Future of Education ยังมีต่ออีก 2 ตอน หากชอบฝากกดแชร์กันด้วยนะครับ :)

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง