สรุป “Never Eat Alone” หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องการบริหารความสัมพันธ์ในที่ทำงาน

April 4, 2024
BB Banthita

หนึ่งใน Soft Skills ที่ผู้บริหารต้องมีคือ Working Relationship สรุปบทเรียนจาก “Never Eat Alone” หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องการบริหารความสัมพันธ์ในที่ทำงาน 

บทนำ:

ทักษะด้าน Soft Skills สำหรับผู้บริหารหรือผู้จัดการในองค์กร นั้นมีความสำคัญไม่แพ้ไปกว่าทักษะที่เป็น Hard Skills เลย เพราะทักษะการบริหารจัดการความสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จและประสิทธิภาพในการทำงานของทีมและองค์กร

Never Eat Alone
หนังสือ Never Eat Alone

เพราะความสำเร็จไม่อาจเกิดขึ้นเพียงลำพัง ฉะนั้นการมีเพื่อนและทีมสนับสนุนและทำงานไปด้วยกันคือหนทางสู่ความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนได้เน้นย้ำเหมือนชื่อหนังสือ "Never Eat Alone" หนังสือขายดีอันดับ #1 New York Times Best Seller ยาวนานกว่า 6 สัปดาห์ เขียนโดย Keith Ferrazzi ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น คนในทีมมีความสนิทสนมกัน จะช่วยเปิดโอกาสและก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ในอาชีพการงาน นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้นำเสนอกลยุทธ์และเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการบริหารจัดการความสัมพันธ์ให้ทีมมีความสนิทสนมกันในที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไว้ 5 ข้อดังนี้

1: พัฒนาทักษะการสื่อสารให้เป็นนิสัย

  • ฝึกการรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจถึงรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างของแต่ละบุคคล
  • สื่อสารด้วยภาษาที่ชัดเจน กระชับ และเหมาะสม ทั้งการพูดและการเขียน
  • รับและให้ฟีดแบ็กเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงตนเองและผู้อื่น

Ferrazzi แนะนำว่า การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นรากฐานของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ควรฝึกฝนทักษะนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง สำหรับผู้จัดการ (Manager) แล้วการสื่อสารเป้าหมายของทีม การสื่อสารเพื่อให้ทีมมีแรงจูงใจทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย รวมไปถึงการทำ 1:1 (One on One) กับลูกน้อง เป็นการสื่อสารหลักที่จะส่งผลอย่างมากต่อการทำงานในอนาคต

2: สร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือและการมีส่วนร่วม

  • เปิดใจรับฟังความคิดเห็น เข้าใจบทบาทหน้าที่ และการเปลี่ยนแปลงของทีม
  • ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูล และการแบ่งปันประสบการณ์ภายในทีม
  • จัดกิจกรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์และความสามัคคีฟภายในทีม

"Never Eat Alone" ย้ำว่าความสำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานเป็นทีม ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหล่อหลอมบรรยากาศแห่งความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกคน ตัวอย่างจาก Manager of the Future Batch 1 จากนักเรียนในคลาสได้แบ่งปันเทคนิคการทำให้ลูกน้องอยากทำงาน คือการมีช่วงประกาศความสำเร็จของตัวเอง โดยจัดให้อยู่ในช่วงเริ่มการประชุมในทุก ๆ วันจันทร์ โดยจะให้พนักงานได้มาเล่าว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาทำอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง ได้รับความช่วยเหลือจากใครบ้าง และเลี้ยงกาแฟเป็นการขอบคุณ เหมือนเป็นการให้รางวัลและยังเป็นการทำให้คนในทีมอยากจะทำงานให้สำเร็จด้วย ซึ่งทำให้ทีมถูกจัดอันดับเป็นทีมที่รักกันมากที่สุดในออฟฟิศ

คุณชล นักเรียนในคลาสที่แบ่งปันเทคนิคการทำให้ลูกน้องอยากทำงาน

3: สร้างความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกัน  

  • ลงมือทำให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ ความน่าเชื่อถือ และความรับผิดชอบ
  • แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ และความฉลาดทางอารมณ์
  • ยอมรับและให้เกียรติในความหลากหลายและแนวทางความคิดที่แตกต่าง

Ferrazzi ระบุว่าความไว้วางใจเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความสนิทสนมในทีม การแสดงออกถึงความจริงใจ เคารพผู้อื่น และมีความเห็นอกเห็นใจจะช่วยสร้างความไว้วางใจนี้ได้ ตัวอย่างเช่น การแสดงความเคารพในฐานะเพื่อนร่วมงาน เคารพในประสบการณ์ ทำความเข้าใจความแตกต่างเพื่อให้เข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของกันและกัน

4: สร้างและส่งเสริม Networking ให้คนในทีม

  • พยายามเข้าร่วมและผลักดันทีมให้ร่วมงานสัมมนาและกิจกรรมต่าง ๆ 
  • รู้จักแบ่งปันและให้คุณค่ากับผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
  • ใช้ Social Media ให้เป็นเครื่องมือในการติดต่อและรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้
  • หาที่ปรึกษาและนำประสบการณ์ของผู้อื่นมาเป็นบทเรียน 

ใน "Never Eat Alone" Keith Ferrazzi ใช้คำว่า "Mind for Achievement Network" หรือ "M.A.N." เพื่ออธิบายแนวคิดหลักของการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อได้แก่

Motivation - แรงจูงใจและความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน แสดงความจริงใจและความสนใจในผู้อื่น เป็นผู้ให้มากกว่ารับ

Access - เข้าถึงข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ และโอกาสต่าง ๆ จากการเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงาน

Network - สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนในที่ทำงาน และคนที่มีความหมายกับเรา โดยแบ่งปันโอกาสและประสบการณ์ระหว่างกัน โดยแนวคิด M.A.N. เน้นให้เราสร้างความสัมพันธ์ด้วยการมีแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นก่อนเสมอ

5: รักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

  • ให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง โดยรวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจ
  • จัดสรรเวลาสำหรับครอบครัวและเพื่อนสนิท

แม้ว่า Ferrazzi จะแนะนำให้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานทั้งคนใหม่ ๆ และที่เคยทำงานด้วยกัน แต่เขาก็ตระหนักดีถึงความสำคัญของการรักษาสมดุลในชีวิต การรักษาความสัมพันธ์ส่วนตัวจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

บทสรุป:  
สรุป Never Eat Alone

ทักษะการบริหารจัดการความสัมพันธ์ในที่ทำงานถือเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่ผู้บริหารต้องมี รวมไปถึงการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกัน สร้างความไว้วางใจและเคารพผู้อื่น อย่าลืมที่จะทำความรู้จักผู้คนใหม่ๆ และที่สำคัญที่สุดคือการรักษาสมดุลทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างราบรื่น และนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานในเป็นทีมในที่สุด

บทเรียนที่เราสรุปมาในวันนี้หวังว่าผู้อ่านจะได้นกลับไปสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงานได้จะได้เป็น Manager Never Eat Alone สำหรับใครที่อยากศึกษาการสร้างและบริหารความสัมพันธ์ในที่ทำงานแนะนำหลักสูตร Manager of the Future รุ่นที่ 2 กลับมาพร้อมกับเนื้อหาที่ออกแบบใหม่มาเป็นอย่างดีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับทีม และองค์กรเปิดรับสมัครแล้ววันนี้

สมัครเลยวันนี้ รับราคาพิเศษ! ค่าธรรมเนียมหลักสูตร Early Bird ราคา 48,000 บาท

*เพียงสมัครภายใน 30 เมษายน 2567 นี้ สมัครเรียน: https://bit.ly/43eL2LK

````````````````````````````````````````````

เรียน Onsite ทุกวันศุกร์และเสาร์ 4 ครั้ง

เวลา 9.00 - 17.00 น.

วันศุกร์ และเสาร์ ที่ 5-6 และ 12-13 กรกฎาคม 2567

+ Company Visit วันที่ 18 กรกฎาคม 2567

ที่โรงแรมชั้นนำในกรุงเทพมหานคร

````````````````````````````````````````````

สอบถามเพิ่มเติม

‍LINE: @disruptignite

Email: all@disruptignite.com

Tel: 095-164-6056 ยูกิ, 085-098-1299 บีบี

ที่มา

https://www.keithferrazzi.com/books

https://medium.com/@frostmourn/book-review-never-eat-alone-by-keith-ferrazzi-ffa93ece15b5

https://www.businessinsider.com/never-eat-alone-author-biggest-networking-mistake-2017-5

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง