Post-Pandemic Investment Trends 2021 ใน Southeast Asia

January 12, 2021
Twwo Jaruthassanakul

ปี 2020 และการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้และการทำงานออนไลน์ รวมถึงแนวคิด “การลงทุนระยะไกล” 

ถึงเเม้เราจะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตทางเศรษฐกิจ แต่บางคนได้ใช้ช่วงเวลานี้ในการหยิบฉวยโอกาสเพื่อสร้างและ Launch Startup ขึ้นมา โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ร้อนแรงอย่าง Southeast Asia บ้านเรา เนื่องจาก Founder และทีมที่ Strong และมีโปรไฟล์ดี จะสามารถคว้าเงินลงทุนที่ยังคงรอคอยการกอบโกยได้เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก

Local, Not Remote

เนื่องจากการเดินทางไปมาระหว่างประเทศถูกจำกัด ปรากฏการณ์ Remote Deals จึงได้อุบัติขึ้น และกลายเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับวงการ Investment ที่ VCs ได้ลงทุนใน Startup ซึ่งไม่ได้เจอกันแบบ face to face แต่เป็นการทำ Due Dilligence  ผ่านวีดีโอคอลแทน เเต่ถ้าหากเรามาดูกันจริง ๆ เเล้ว VCs ส่วนใหญ่ก็ยังคงอยากเจอสตาร์ทอัป หรือ Founder เเบบ in-person มากกว่า นี่เป็นสาเหตุให้เราเห็นประโยชน์ของการเป็น Regional VC อย่างเเท้จริง ซึ่งจะมี Local presence ในหลาย ๆ ตลาดโดยเฉพาะในแถบภูมิภาค Southeast Asia แล้วตอนนี้ก็จะเริ่มเห็นกอง VC ใหญ่ ๆ ขยายตัวออกจาก Tier 1 market อย่าง สิงคโปร์ หรือ อินโดนีเชีย เพื่อมาสร้างทีมในประเทศใกล้เคียงอย่าง ประเทศไทย เเละฟิลิปินส์ เป็นต้น

ในไทยเราเองก็ได้เห็น Regional VC อย่าง Openspace Venture เเละ Gobi Venture เข้ามาขยายทีม เเละมองหาสตาร์ทอัปไทยอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากของ Ecosystem ไทย ที่เราได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสตาร์ทอัปไทยก็มีคุณภาพ จนสามารถดึงดูดเงินลงทุนจาก VC ชั้นนำของภูมิภาคได้

Increase in Exit

สำหรับภูมิภาคที่ไม่ได้มีการ Exit จำนวนมากนั้น ในปี 2021 นี้ กลับตรงกันข้าม เพราะจะเป็นปีที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะ Startup อย่าง Tokopedia เเละ Traveloka ได้ออกมายืนยันเเล้วว่า กำลังเตรียมตัวที่จะเข้าตลาด นอกจากนี้ VCs ชั้นนำหลายเจ้าก็ได้คาดการณ์ไว้ว่า เราจะเห็น wave of IPO ครั้งใหญ่และต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2021 - 2023 ซึ่งมาจากสตาร์ทอัปที่พัฒนาตัวเองจนได้ Scale ขึ้นมาและใหญ่พอที่จะ exit ได้ อย่างไรก็ตาม เส้นทาง IPO นั้นก็เปิดรับเฉพาะสตาร์ทอัปที่พร้อมแล้วจริง ๆ เท่านั้น

อีกกลุ่มหนึ่งจะต้องมองหา Strategic Buyer สำหรับ exit ซึ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเห็นเทรนด์นี้จากข่าว Merger ระหว่าง GoJek เเละ Tokopedia และในปีก่อนหน้านี้ที่ผ่าน ๆ มา ทั้ง Grab เเละ GoJek เองก็ได้ไล่ซื้อสตาร์ทอัปเจ้าอื่นที่มี Strategic Value ต่อบริษัทเเม่ ยกตัวอย่างเช่น สตาร์ทอัพ Point-of-Sales ชื่อ Moka ก็ได้ถูก GoJek acquire ไปปีที่เเล้ว ในราคา $130m หรือ สี่พันกว่าล้านบาท 

ดังนั้นสตารท์อัพที่ไม่ได้มี Scale ใหญ่ พอเข้า IPO อาจจะต้องพิจารณาสร้าง strategic value ให้กับ potential buyer สำหรับ exit ด้วย

Rise of EdTech

EdTech เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ VC ทุกคนหันมาจับตามองภายหลังจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 เเต่ความซับซ้อนในการเเก้ปัญหาการศึกษา ทำให้ VC ส่วนใหญ่นั้นยังไม่ได้ลงทุนกับ EdTech อย่างจริงจัง มีความเเตกต่างเเละรายละเอียดบางอย่างที่ทำให้การลงทุนใน EdTech นั้นไม่เหมือนการลงทุนในสตาร์ทอัปอื่น ๆ ทั่วไป เพราะวงการ Edtech ยังค่อนข้างใหม่ การ monetise เเละการ scale เป็น key challenge หลัก ๆ ที่นักลงทุนกำลังจับตามอง

บางทีมเริ่มต้นจากการสร้าง content ซึ่งที่อื่นอาจจะมีปล่อยฟรีอยู่เเล้ว จึงทำให้โมเดลการเก็บเงินนั้นยาก ส่วนบางทีมที่เป็นเเพลตฟอร์มเชื่อมต่อนักเรียนกับครู ก็มักมีปัญหาในการ Scale และการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเราคาดว่าหลาย ๆ ปัญหาเหล่านี้จะถูกพัฒนาโดย EdTech ที่กำลังเติบโตอยู่ รวมไปถึง EdTech ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เนื่องจากมีเงินทุนจากนักลงทุนมารออยู่เเล้ว เราจึงมั่นใจว่าจะได้เห็นการเติบโตในอุตสาหรรมนี้เกิดขึ้นอย่างเเน่นอนในปี 2021

Rise of B2B

เนื่องจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบธุรกิจโดยเฉพาะ SME ทั่วหน้านั้น ทำให้ SME เหล่านี้ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิตอล เพราะฉะนั้น Startup B2B จะมาตอบโจทย์ตรงนี้ได้เป็นอย่างดี สตาร์ทอัปที่ทำโซลูชั่นช่วย SME ให้อยู่รอดเเละเเข็งแกร่งกว่าเดิมได้ ก็จะมีโอกาสเติบโตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัปที่ช่วยหาลูกค้า (Lead Gen, Booking Platform, etc) สตาร์ทอัปที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการตลาดด้วย Data Analytics, AI หรือโซลูชั่นอะไรก็ตามอีกมากมายที่จะช่วยให้ SME digitized เช่น Cloud accounting, online inventory management, Smart logistics เป็นต้น

Health & Wellness

แม้ว่าสิ่งต่าง ๆ จะพัฒนาไปมากน้อยเพียงไรก็ตาม แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ก็คาดหวังว่าจะได้เห็นการเติบโตของเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้คนมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ยกระดับประสิทธิภาพทางการเเพทย์ได้มากขึ้น เราได้เห็น first wave ของ wellness tech ด้วยอุปกรณ์ IOT อย่าง smart watch ที่คอย track ข้อมูลเวลาเราออกกำลังกาย ต่อจากนี้ application เหล่านี้จะรู้จักเราดียิ่งขึ้นเเละจะ personalize คำเเนะนำได้ดีขึ้นไปอีกนอกเหนือไปจากการออกกำลังกาย มี app ต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวกับ wellness เช่น sleep tracker app ที่ช่วยให้คุณนอนได้ดีขึ้น หรือว่า app อย่าง Headspace ของ ​Google ที่เป็น app ช่วยนั่งสมาธิ เราคาดว่าเทรนด์นี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะ wellness ก็ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของมนุษย์ทุกคนอยู่ดี 

กลับกัน เมื่อเรามองไปยังฝั่งของโรงพยาบาล ทุกวันนี้มีสตาร์ทอัป ที่สร้างโซลูชั่นขึ้นมาเป็นจำนวนมากในการช่วยเหลือหมอเเละโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นทีมที่นำ AI เเละ Machine Learning มาช่วยหมออ่านผล scan ต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดงานหมอไปได้อย่างมหาศาล เพื่อให้หมอได้มีเวลาไปโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น

สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ เราจะได้เห็นโรงพยาบาลตื่นตัวเเละเปิดใจยอมรับเเละทดสอบโซลูชั่นพวกนี้เเล้ว ซึ่งน่าจะช่วยพัฒนา Patient-Experience ให้ดีขึ้นได้อีกมากมายในอนาคต

และสำหรับใครที่สนใจและอยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือกับเทรนด์โลกในทศวรรษใหม่นี้ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดย คุณกระทิง พูนผล อ่านรายละเอียด คลิก https://www.disruptignite.com

#CXO #TheNextCXO

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง