ส่องแรงสนับสนุน Social Innovation ในแต่ละประเทศ!

November 16, 2021
Patch Rawanghet

การสร้าง Social Innovation ที่สำเร็จจำเป็นต้องมี resource ที่เหลือเฟือและ ecosystem ที่พร้อมสนับสนุน วันนี้ขอนำตัวอย่างหน่วยงานที่สนับสนุนการสร้าง Innovation และ Social Innovation ให้ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ เปรียบเทียบให้เห็นว่าประเทศไหนทำอะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เผื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้ Social Innovation เติบโตอย่างยั่งยืนในเมืองไทย

1. Digital Industry Singapore (DISG) ในประเทศสิงค์โปร์

Digital Industry Singapore ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลของสิงคโปร์ ด้วยความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ด้วยการดึงศักยภาพของแต่ละหน่วยงานมาเพื่อวางแผน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้าง ecosystem และผลักดันแผนการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ไปสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีของเอเซีย

  1. Economic Development Board (EDB) ที่ทำหน้าที่วางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ
  2. Enterprise Singapore หน่วยงาน​รัฐวิสาหกิจด้านนวัตกรรมของสิงคโปร์
  3. Infocomm Media Development Authority (IMDA) องค์กรภาครัฐของสิงคโปร์ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาและการดูแลสื่อสารสนเทศต่างๆ ภายในประเทศ

DISG พัฒนา ecosystem ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ด้วยการดึงดูด talent เข้ามาในประเทศสิงคโปร์ ด้วยการเริ่มต้นที่การมีนโยบาย (policy) ที่ดึงดูดธุรกิจต่างๆ รวมทั้งบริษัทระดับโลกอย่าง Dell, Google, Facebook, และ Paypal การดึงดูด talent เหล่านี้เข้ามาจะช่วยพัฒนา ecosystem เพื่อเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้ง Social Innovator 

DISG เลือกที่จะไม่ลอกเลียนแบบทุกอย่างที่ Silicon Valley หรือแหล่งเทคโนโลยีอื่นๆ ทำแต่เลือกที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่ทำแล้วได้ผล และนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมของเอเซียตะวันออกเฉียง โดยมีการตีกรอบการทำงานและมีส่วนร่วมของรัฐบาลอย่างชัดเจน เพื่ออนุญาตให้บริษัททำในสิ่งที่ส่งผลดีที่สุดแก่ ecosystem และรัฐบาลจะมีหน้าที่เพียงสนับสนุนเท่านั้น เพื่อความครอบคลุมและเท่าเทียมแก่ทุกฝ่าย เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

2. The Difference incubator (TDi) ในประเทศออสเตรเลีย

The Difference incubator (TDi) เป็นหน่วยงานเอกชนที่ไม่ได้มีรากฐานและการสนับสนุนจากรัฐบาลในประเทศออสเตรเลีย ที่มุ่งเน้นการ connect ระหว่าง Social Innovator และ Impact Investing เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วยการช่วยเหลือในด้านการวางแผนโมเดลธุรกิจ ด้วยการให้ความรู้และหานักลงทุนที่เหมาะสม โดยได้สนับสนุนมากกว่า 500 โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อสังคมใน 6 ประเทศ 

TDi ให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นรูปเป็นร่างและสามารถใช้งานได้จริง โดยมีการปรับปรุงตั้งแต่รากฐานธุรกิจ การช่วยคิดโมเดลธุรกิจ การคิดและออกแบบกลยุทธ์ การหาทุนในปัจจุบันและอนาคต เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงและมีความยั่งยืน

TDi จึงมีการทำงานร่วมกับหลากหลาย​ stakeholders:

  1. กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE)
  2. องค์กรไม่แสวงหากำไร (Not-for-Profits)
  3. บริษัท/ องค์กร (Corporate)
  4. รัฐบาล (Government)
  5. ผู้มีใจบุญ (Philanthropy) 

เพื่อดึงเอาจุดแข็งของทุกฝ่ายมาใช้อย่างเป็นประโยชน์ ตอบสนองความต้องการ และเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของทุกฝ่าย การทำงานร่วมกันเป็น ecosystem เดียวกันจึงเป็นหัวใจสำคัญในความสำเร็จที่เกิดขึ้นของ TDi ด้วยความเชื่อที่ว่าทุก stakeholder มีคุณค่าและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกัน และหากมารวมกันจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น 

3: KickStart จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์

KickStart เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มุ่งเน้นการทำ Startup Accelerator และ Ecosystem Builder และยังเน้นการทำ Partnership ระหว่างสตาร์ทอัพ องค์กรใหญ่ และสถาบันต่างๆ KickStart ถูกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 และได้มีส่วนร่วมในการช่วย 170 พันธมิตร และช่วยเหลือสตาร์ทอัพมากกว่า 190 เจ้าเติบโตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

โดย KickStart ได้ทำงานร่วมกับ 3 ฝ่าย คือ 

  1. สตาร์ทอัพ (startup)
  2. หุ้นส่วน (partner)
  3. ชุมชน (community)

โดยมุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์สูงสุด เช่น สตาร์ทอัพ จะได้รับการช่วยเหลือในการเติบโตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์และในทวีปยุโรป อีกทั้งยังได้รับเงินทุน การอบรม ผู้ให้คำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน พื้นที่ออฟฟิศ และพื้นที่สื่อ ในส่วนของพันธมิตรนั้นมีทั้ง องค์กร สถาบัน และมูลนิธิ ที่มีความต้องการในการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร ชุมชนยังได้รับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจและเศรษกิจต่างๆ

การสร้างนวัตกรรม Social Innovation ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากมี หัวใจสำคัญคือการเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเมืองไทย และเลือกใช้ resource ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด หวังว่าในอนาคตอันใกล้ เราจะได้เห็น Social Innovation เติบโตอย่างยั่งยืนในประเทศไทยและต่อยอดไปสู่ต่างประเทศเช่นกัน


หากคุณเป็นคนที่สนใจเทรนด์ innovation การศึกษาและการเรียนรู้ในอนาคต รวมถึงอยากรู้จักกับ EdTech และ Social Impact Startups ที่มุ่งพัฒนาการศึกษาไทย

ห้ามพลาด ! กับงาน StormBreaker x EEF Demo Day 2021 ในงานนี้นอกจากการฟัง pitching นำเสนอผลงานของทีมนวัตกร EdTech แล้วยังมี session พิเศษจากวิทยากรชั้นนำระดับประเทศอย่าง ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. ที่จะมาเล่าถึงสถานการณ์การศึกษาไทย ณ ปัจจุบัน และ คุณกระทิง พูนผล ที่จะมาบรรยายสดในหัวข้อ “Shifting to the Next Era of Education: ไขปริศนา อนาคตการศึกษาไทย หลังยุคโควิด”

StormBreaker x EEF Demo Day จะจัดขึ้นวันที่ 18 พ.ย. 2564 เวลา 17.00 - 19.00 น. ผ่าน Facebook และ Youtube Live

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ฟรี ได้ที่: https://tinyurl.com/StormBreakerDemoDay2021

พิเศษสุด สำหรับทุกท่านที่ลงทะเบียนสำเร็จ รับฟรี Voucher Future Skill มูลค่า 300 บาท และยังได้สิทธิลุ้นรับของที่ระลึกสุดพรีเมี่ยมในงานอีกมากมาย (ประกาศผลผู้โชคดีภายในงาน)


Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง