5 ทักษะที่องค์กรให้ความสนใจมากที่สุดในขณะนี้

December 28, 2020
Pat Thitipattakul

Conicle แพลตฟอร์มบริหารจัดการการเรียนรู้ LMS (Learning Management System) ที่องค์กรชื่อดังในไทยกว่า 40 รายเลือกใช้ เผยเทรนด์การเรียนรู้ในองค์กรและคอร์สเรียน B2B ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่พนักงานองค์กรในช่วงปีนี้ มาดูกันว่าทักษะอะไรบ้างที่กำลังได้รับความสนใจ!

1. Crisis Management 

ทักษะการบริหารจัดการในยามวิกฤตเป็นหนึ่งในทักษะที่องค์กรให้ความสนใจมากที่สุดในช่วงนี้ สอดคล้องกับสภาวะวิกฤตและความท้าทายที่ถาโถมมาอย่างหนักในปี 2020 นี้ ซึ่งหัวข้อนี้ครอบคลุมหลากหลายเรื่อง ไม่ได้จำกัดแค่วิกฤต Covid-19 แต่กล่าวรวมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม การเมือง และเศรษฐกิจ คอร์สเรียนประกอบไปด้วยหลายส่วน ได้แก่ แนวทางการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด การจัดการทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง การวางแผนอาชีพ การดูแลสุขภาพจิตในยามวิกฤต

2. Data

ยุคนี้เป็นยุคที่ Data เป็นกุญแจสำคัญของทุกธุรกิจ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทักษะทาง Data จะเป็นที่ต้องการมากในตลาดแรงงาน โดยทักษะที่องค์กรต้องการมากที่สุด ได้แก่

  • Storytelling in data การเล่าเรื่องด้วยข้อมูล การทำ visual นำเสนอข้อมูล
  • Data Science การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ตัวแปร เพื่อหา insights มาใช้ในการตัดสินใจในธุรกิจ
  • Data Engineering ทักษะในเชิง technical ในการทำ data mining และ modeling

3. Product Development

ทักษะการคิดไอเดีย การลงมือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจเดิม หรือ สร้างเป็นธุรกิจใหม่ นี่เป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการในหลายองค์กรมาก เริ่มมีเทรนด์การสร้างผู้ประกอบการภายในองค์กร และ การตั้งทีมใหม่ขึ้นมาเพื่อทำ New Business รับมือกับ Digital Disruption เพราะองค์กรไม่สามารถยึดติดกับผลิตภัณฑ์เดิมได้อีกต่อไป ต้องมีการปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ต้องมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เข้าใจโลกยุคดิจิทัลเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจ

4. Leadership 

ทักษะการสร้างทีมให้เป็นเหมือนทีมนักกีฬา เช่น ทีม Liverpool ที่ทุกคนในทีมมี champion mindset พร้อมสู้ พร้อมลุย มีเป้าหมายร่วมกัน มี teamwork ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วางระบบการทำงานแบบให้สมาชิกทุกคนในทีมมี autonomy สามารถ drive ตัวเองได้ มีอิสระในการตัดสินใจ ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ที่เป็นแบบ agile

5. Customer-centricity

แนวคิด Design Thinking ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการทำความเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ชนะใจผู้ใช้ ทุกอย่างที่ออกแบบมาจะต้องตอบโจทย์พฤติกรรมและ pain point ของลูกค้า โดยมีการเข้าไปทำ customer interview อย่างลึกซึ้ง ในฝั่งของงานบริการ งานขาย ทักษะนี้ยิ่งสำคัญ ต้องรู้จักการฟัง การถามคำถามลูกค้าเพื่อหา insights การให้บริการที่ทำให้ลูกค้าประทับใจ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี เป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุคนี้ที่การแข่งขันในภาคธุรกิจเป็นไปอย่างดุเดือด มีผู้เล่นรายใหม่พร้อมแย่งลูกค้าไปจากเราเสมอ พนักงานทุกคนในองค์กรจึงควรมี customer-centric mindset

Conicle สตาร์ทอัพไทยมุ่งส่งเสริมการ upskill พนักงานองค์กร

Conicle คือ แพลตฟอร์มบริหารจัดการการเรียนรู้ที่เป็นเสมือนผู้ช่วยที่รู้ใจของผู้บริหารและ HR ในการพัฒนาบุคลากรภายใต้คอนเสปต์หลัก “Modernize Learning” การเรียนรู้ที่ทันสมัยในยุคดิจิทัล ตอบรับความท้าทายในเรื่องการ reskill บุคลากร ใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้การเรียนรู้ง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ซึ่งมีความท้าทายที่แตกต่างจากวัยอื่นคือ มีเวลาจำกัด ต้องแบ่งเวลาจากการทำงานมาเรียน เรียนแล้วก็ต้องมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ฝั่ง HR เองก็ต้องคอยวางแผนงานพัฒนาบุคลากร การส่งเสริมการเรียนรู้ และรายงานผล ซึ่งโซลูชั่นนี้ช่วยให้ทุกฝ่ายจัดสรรการเรียนรู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน Conicle มีผู้ใช้งานกว่า 500,000 ราย และมีลูกค้าองค์กรชั้นนำมากกว่า 40 รายในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น AIS, PTT Group, AIA, CPALL, Makro, Honda และอีกมากมาย เติบโตกว่า 45 เท่าจากปี 2014 ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง และคาดว่าจะเติบโตอีกเท่าตัวในอนาคต

เรียกได้ว่า Conicle เป็นตัวอย่างหนึ่งของ EdTech ไทย ที่มีศักยภาพแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค ได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าองค์กรว่าเป็น solution ไทยที่มีคุณภาพสูงเทียบเท่า LMS ระดับโลกอย่าง SAP, Oracle, Moodle, SABA ในราคาถูกกว่า ผนวกกับการทำ localization จึงมีข้อได้เปรียบเหมาะสมกับตลาดบ้านเรามากกว่า นอกจากนี้ยังใส่ใจลูกค้าโดยยึดถือหลัก user-centric พัฒนาฟีเจอร์ให้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ที่หลากหลาย

คุณนกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ CEO & Co-founder Conicle กล่าว “ที่ Conicle เราโฟกัสเรื่องการสร้าง technology และ services ที่ช่วยพัฒนาคน ช่วยให้คนเก่งขึ้น เพราะถ้าคน ๆ นึงเก่งขึ้น ทีมก็จะเก่งขึ้น องค์กรก็จะแข่งขันได้มากขึ้น ประเทศก็จะพัฒนาขึ้น คนก็จะอยากพัฒนาตัวเขาเองกันมากขึ้น เราเชื่อว่ามันเป็น positive feedback loop ขึ้นไปแบบนี้ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า Conicle ตั้งใจว่าจะต่อยอดจาก Learning Platform ไปเป็น “People Development Ecosystem” ที่บอกว่าเป็น ecosystem เพราะเราต้องการร่วมมือกับทุกองค์กรทุกภาคส่วนที่มีความเชื่อในเรื่อง Lifelong Learning เช่นเดียวกับเรา”

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง