อยากได้นวัตกรรมดี ๆ ต้องเริ่มตัดคำว่า 'ดี' ออกก่อน (Part 2)

“If you want world-changing innovation, be with the minority”

(สามารถติดตามอ่าน Part 1 ได้ที่นี่)

จากความเดิมตอนที่แล้วที่ผู้เขียนเล่าถึงชั้นเรียนของอาจารย์ William Barnett ผู้สอนวิชา Strategy ที่ Stanford University ได้ให้ข้อคิดสำคัญของการสร้างนวัตกรรมว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ ไม่มีคำว่าดีหรือไม่ดี ฉะนั้น หากอยากได้นวัตกรรมดี ๆ เราต้องเริ่มจากตัดคำว่า 'ดี' ออก ซึ่งก็หมายถึงการลดความคาดหวังในเรื่องความสำเร็จและความกดดันในด้านการเงิน และต้องไม่กลัวการล้มเหลวที่เกิดจากการทดสอบนวัตกรรม ยิ่งไปกว่านั้น หากต้องการไอเดียที่นอกกรอบและว้าวจริง ๆ ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรอาจจะต้องมีการสร้างบรรยากาศในการระดมสมอง (Brainstorm) ให้พนักงานหรือผู้เข้าร่วมรู้สึกว่า ไอเดียยิ่งบ้ายิ่งดี 

วันนี้ผู้เขียนอยากจะขยายความว่า ไอเดียบ้า ๆ หลุดกรอบ ที่เป็นที่มาของนวัตกรรมระดับเปลี่ยนโลกพวกนี้ ก็มาจากไอเดียส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง หรือไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ ซึ่งถ้าพูดในอีกมุมก็คือ คุณต้องกล้าที่เป็นคนที่คนส่วนใหญ่มองว่า บ้า (Crazy) นั่นเอง

อาจารย์ William ได้เล่าถึงช่วงเวลาที่ท่านอยู่ที่ Sand Hill Road ซึ่งเรียกว่าเป็นถนนแห่ง Venture Capitalist (VC) และนักลงทุนในธุรกิจ Startup ที่อยู่ใน Silicon Valley ที่เป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมของโลก (หากใครไม่รู้จัก VC ให้คิดถึงบริษัทของหัวหน้าทีมฮันจากเรื่อง Start-Up ของเกาหลีใน Netflix โดยสิ่งที่ VC firms เหล่านี้พยายามจะทำก็คือ คาดเดาอนาคตให้ออก เพื่อจะได้สามารถเลือกลงทุนและเก็งกำไรใน Startup หรือนวัตกรรมให้ถูกตัว ถูกตลาด ถูกอุตสาหกรรม เพื่อที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งอย่างที่กล่าวไปแล้วใน Part 1 ว่า ในช่วงแรก ไม่มีใครรู้ว่านวัตกรรมนั้นจะปังหรือไม่ปัง สำเร็จหรือไม่สำเร็จ ฉะนั้น การลงทุนใน Startup จะถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk, High Return) โดยที่ VC จะคาดหวังผลตอบแทนแบบ Home Run ซึ่งก็คือ การได้ผลตอบแทนจากเงินที่ลงทุนไว้เกิน 10 เท่า (10X) จาก Startup หรือนวัตกรรมที่เป็น Winner เพื่อที่จะมาชดเชยกับเงินลงทุนที่อาจจะเสียไปจาก Startup หรือนวัตกรรมที่ไม่สำเร็จ 

โดยอาจารย์ William ท่านได้มีโอกาสเก็บข้อมูลและได้วิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมา (Performance Data) ของ VC หลาย ๆ เจ้า แล้วพบว่ามันมี Pattern ของ VC ที่จะชอบแห่ไปลงทุนในตลาดหรือธุรกิจฮอตฮิต (Hot Market/ Business) ที่มี VC ที่เคยได้ผลตอบแทนในระดับ Home Run มาแล้วได้ลงทุนไว้ โดยคาดหวังว่าบริษัทของตัวเองจะได้ผลตอบแทนระดับ Home Run บ้าง… 

ปรากฏว่าจาก Performance Data พบว่า VC  ที่แห่ตามกันไปลงทุนในตลาดสุดฮอตฮิต (Hot Market) มักจะได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากการที่มี Startup ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นดอกเห็ดในตลาดฮอตฮิตเหล่านั้น และแต่ละบริษัท Startup เหล่านี้ ต่างก็ได้รับเงินลงทุนจาก VC แต่ละเจ้าอย่างมหาศาล 

มาถึงตรงนี้ทุกคนอาจจะสงสัยว่าการที่มี Startup ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายแล้วมันไม่ดียังไง คำตอบก็คือเมื่อมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น การแข่งขันก็สูงขึ้น ในขณะที่โอกาสในตลาดหรือ Unmet Demand จากลูกค้าก็น้อยลง เลยทำให้ Startup ที่เข้ามาในตลาดฮอตฮิตเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดการ Overcrowd ของเงินลงทุน หรือการที่มีเม็ดเงินลงทุนมหาศาลจาก VC หลาย ๆ เจ้า เข้ามาแย่งกันลงทุนในตลาดหรือธุรกิจฮอตฮิตเหล่านี้ จึงทำให้ VC แต่ละเจ้าก็ได้ผลตอบแทนน้อยลงไปตามระเบียบ

แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ทำไม VC ยังคงยังแย่งกันลงทุนในตลาดหรือธุรกิจฮอตฮิตต่อไป ..

คำถามนี้ ต้องย้อนกลับไปดูที่ธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature) ที่ถูกขับเคลื่อนด้วย Loss Aversion หรือ ความกลัวที่จะสูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งในทฤษฎี Loss Aversion นี้พูดถึงว่า Loss looms larger in our minds than its gain of equal size  หรือถ้าพูดให้เห็นภาพมากขึ้น คือความเจ็บปวดจากการสูญเสียเงิน 10 บาทมีพลังมากกว่า หรือมีผลกระทบกับจิตใจของเรามากกว่า ความสุขที่ได้มากจากการได้เงิน 10 บาท ซึ่งความกลัวที่จะสูญเสียนี่ ส่งผลกับทุกๆ เรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องของการเงินแต่เป็นเรื่องของสถานะทางสังคมหรือความสัมพันธ์ต่างๆ ด้วย

ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องของการลงทุน Startup หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทฤษฎี Loss Aversion ก็สามารถนำอธิบายได้ว่า ความกลัวที่จะเป็น ‘Fool’ (คนโง่) ของคนเรามันยิ่งใหญ่มากกว่า ความอยากที่จะเป็น ‘Genius’  

(อัจฉริยะ) นี่ว่าทำไม VC ทุกเจ้าแห่ไปลงทุนในตลาดหรือธุรกิจฮอตฮิตมากกว่าตลาดหรือธุรกิจใหม่ที่ยังไม่มีใครสนใจ นั่นก็เพราะว่า ทุกคนกลัวจะถูกมองว่าเป็น ‘Fool’ 

จากธรรมชาติของมนุษย์ การเป็น Fool จะเกิดขึ้นหนัก ๆ ต่อเมื่อเราเป็นส่วนน้อยที่ตัดสินใจผิด แต่ถ้าทุก ๆ คนคิดผิดเหมือนกันหมด (The majority is wrong) เราก็จะรู้สึกว่าตัวเราเองไม่ได้โง่นะ เพราะทุกคนก็คิดเหมือนเรา อุปมาเหมือนเวลาเล่นหุ้นแล้วพอร์ตเราแดงตอนตลาดขาลง ทุกคนก็จะมองว่ามันเป็นที่ตลาด ไม่ใช่เป็นที่เรา แต่กรณีที่ทุกคนจะกลัวมากที่สุด คือการที่คนส่วนมากตัดสินใจถูก (The majority is right) แล้วเราตัดสินใจผิดอยู่คนเดียว เพราะเรากลัวว่าคนอื่นจะตัดสินว่าเราเป็นคนโง่ (Fool)

แต่ทุกคนอาจจะลืมไปว่า การที่เราพยาพยามจะอยู่ข้างเดียวกับเสียงส่วนมากอยู่ตลอดเวลา อาจจะปกป้องตัวเราจากการเป็น Fool ก็จริง แต่ก็ปิดโอกาสที่เราจะสามารถเป็น Genius ไปด้วย โดย Genius จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เราเป็นส่วนน้อยที่คิดถูกในขณะที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจผิด ซึ่งตอกย้ำแนวคิดเกี่ยวกับสร้างนวัตกรรมที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้วว่า ถ้าทุกคนล้วนคิดว่าไอเดียนั้นเป็นสิ่งที่ดี ก็คงมีคนทำไปแล้ว และไอเดียนั้นมันไม่ได้เป็นนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่จริง ๆ แต่เป็นเพียงแค่การพัฒนาหรือปรับปรุงแบบ Incremental Change เท่านั้น

ฉะนั้นเมื่อไรที่มี VC จำนวนมากแห่ไปลงทุนในตลาดอะไรสักอย่าง แสดงว่าโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนแบบ Home Run ก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น โดยจาก Research ของอาจารย์ William พบว่า VC ที่ได้ผลตอบแทนระดับ Home Run ส่วนใหญ่เป็นเพราะ VC เหล่านั้นได้เลือกลงทุนในตลาดหรือธุรกิจใหม่ ๆ ก่อนที่คนทั่วไปจะสนใจต่างหาก แต่ VC ที่แห่กันมาลงทุนหลังจากที่ตลาดนั้นกลายเป็นตลาดฮอตฮิตไปแล้วนั้น ล้วนได้ผลตอบแทนที่ไม่ดีเท่าที่ควร

โดยอาจารย์ William ได้ให้ Framework ของผลลัพธ์จากการลงทุน ตามตารางด้านล่างนี้

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอปิดด้วย Quote จากอาจารย์ William ที่ว่า

“The acts of genius are pioneered by those foolish enough to ignore the consensus...You can’t be a genius if you don’t take the risk to be a fool” 

คุณไม่สามารถที่จะเป็นอัจฉริยะได้ ถ้าคุณไม่กล้าทำอะไรที่เสี่ยงกับการให้คนอื่นมองว่าคุณเป็นคนโง่

ฉะนั้นถ้าคุณอยากมีโอกาสที่จะเป็น Genius ได้ผลตอบแทนอย่าง Home Run หรือสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกได้ จงอย่ากลัวที่จะเป็นเสียงส่วนน้อย


ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะเล่าต่อว่า Process to create Genius หรือขั้นตอนที่จะสร้างอิจฉริยะขึ้นมาในองค์กร ทำได้อย่างไร


Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง