สิ่งที่ผู้ประกอบการ Startup ควรรู้ในการขอทุนจาก Venture Capital

October 9, 2023
Pop Sakcharoenchai

หลายๆครั้ง เรามักจะเห็นผู้ประกอบการที่มั่นในไอเดียของตนเอง ว่าสามารถดึงดูด Venture Capital รายใหญ่ๆ ให้มาลงทุนกับธุรกิจของพวกเขาได้ง่าย ๆ  แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ได้ง่ายขนาดนั้น และการระดมทุนจาก VC อาจเป็นเกมส์ยาวที่ใช้เวลากว่า 6-10 เดือนเลยทีเดียว

"VC" หรือ Venture Capital จึงไม่ใช่ทางลัด หรือล็อตเตอร์รี่ ที่จะพาสตาร์ทอัพไปสู่ความสำเร็จ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงกลยุทธ์ หรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจ  เพราะเวลาเราพูดถึง VC หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นแค่แหล่งเงินทุนที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต แต่จริง ๆ แล้ว VC มองหา “ผลตอบแทน” อย่างจริงจัง เพราะ VC เองก็ ต้องรับผิดชอบในการสร้างผลตอบแทนต่อนักลงทุนรายใหญ่อีกที

ดังนั้น VC จึงมองหาสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มสร้างการเติบโตแบบ 10 เท่า และพวกเขาจะพิจารณาตาม Investment Thesis ของเขา และต้องการความมั่นใจว่า ความเสี่ยงที่พวกเขาต้องรับ เมื่อเปรียบเทียบกับ Return ที่ได้กลับมาว่ามันคุ้มค่าหรือไม่ 

คำถามคือ "แล้วการระดมเงินทุนจาก VC มันน่าสนใจสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณจริง ๆ ไหม?" เพราะการเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และต้องระดมเงินทุนจาก VC หรือ Venture Capital นั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาเพราะเป็นเกมส์ยาวที่ใช้เวลาและพลังอย่างมาก 

วันนี้ เราจะมาเริ่มต้นด้วยคุณสมบัติลักษณะของการลงทุนของพวกเค้ากันเลยค่ะ

คุณสมบัติลักษณะของการลงทุนของ Venture Capital

  • ต้องการผลตอบแทนสูง/ Power Law : การลงทุนของ VC มักจะต้องการผลตอบแทนที่สูงเพื่อประกันความเสี่ยงที่ต้องรับ เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจเริ่มต้น หรือ Startup มักมีโอกาสล้มเหลวสูง ในขณะที่โอกาสสำเร็จมีน้อยมาก และบางครั้งมีเพียงธุรกิจเดียวที่ประสบความสำเร็จและอาจจะเป็นเพียงธุรกิจเดียวที่จะสร้างผลตอบแทนของทั้งพอร์ต เช่น ถ้า VC ลงทุนใน 10 สตาร์ทอัพ และมีเพียง 1สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ เจ้านี้อาจจะให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงถึง 10 เท่า หรือ 1,000% ของเงินที่ลงทุน ทำให้สามารถครอบคลุมความเสียหายจากการลงทุนในสตาร์ทอัพอื่น ๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จอีก 9 รายได้
  • ระยะเวลา: การลงทุนของ VC มักจะเป็นการลงทุนระยะยาว อาจจะ 5-10 ปี หรือมากกว่านั้น เช่น ลงทุนเพื่อรอให้สตาร์ทอัพมีการขยายตัวหรือออกเสนอขายหุ้น (IPO) ที่อาจจะใช้เวลานานหลายปี  ในระหว่างนี้นักลงทุน VC จะเข้ามาเป็นเหมือนพาร์ทเนอร์ ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเร่งการเติบโต เช่น วิธีการทำการตลาด หรือวิธีการขยายสู่ตลาดต่างประเทศ
  • การประเมินมูลค่า: แม้มูลค่าของธุรกิจอาจจะแปรปรวนตามตลาด แต่การใช้จ่ายของธุรกิจและการเติบโตทางธุรกิจจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการสร้างผลตอบแทนให้กับ VC

แล้ว... ข้อดีและข้อเสียของการรับเงินทุนจาก VC คืออะไร?

ความฝันของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพส่วนใหญ่คือการขยายตัวธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และหนึ่งในวิธีที่จะทำให้ฝันนั้นเป็นจริงคือการรับเงินทุนจาก VC หรือ Venture Capital แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจเดินทางไปในเส้นทางนี้ เราควรที่จะรู้จักข้อดีและข้อเสียของมันก่อนค่ะ

ข้อดีของการรับเงินทุนจาก VC:

  1. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเริ่มต้น: สตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ โดยมากจะยังไม่มีสินทรัพย์ในการไปกู้ยืมเงิน ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ซึ่งหากสตาร์ทอัพสามารถระดมทุนจาก VC ได้ จะสามารถช่วยเสริมสร้างการเติบโตได้ในระยะเริ่มต้น นำเงินลงทุนที่ได้รับมา scale ทีม ทำการตลาดและพัฒนาแพลตฟอร์มได้อย่างรวดเร็ว 
  2. เครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญ: VC หลายท่าน มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทเทคโนโลยีใน ซิลิคอนวาเลย์ หรืออาจมีประสบการณ์ที่หลากหลายมาก่อน สามารถแนะนำแนวทางได้หลายด้าน หรือแนะนำเครือข่ายให้กับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และ Connect ให้กับเครือข่ายนักลงทุนในระดับภูมิภาค สำหรับการระดมทุนรอบถัดไปได้
  3. ความน่าเชื่อถือ: เมื่อสตาร์ทอัพได้รับการสนับสนุนจาก VC ไม่ว่าจะในไทยหรือระดับภูมิภาค จะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือในการหาลูกค้ารายใหญ่ ต่อยอดหาพาร์ทเน่อร์ทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น 

ข้อเสียของการรับเงินทุนจาก VC:

  1. การลดอำนาจในการควบคุม: การรับเงินทุนอาจทำให้ต้องปรับทิศทางการบริหารธุรกิจ เช่น นักลงทุนอาจต้องการให้สตาร์ทอัพขยายตัวไปยังตลาดใหม่เร็วๆ หรือเร่งสร้างผลกำไร สร้างการเติบโต ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพูดคุย การทำงานร่วมกัน รวมถึงเคมีก็เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากทิศทางความเห็นไม่ตรงกัน 
  2. การลดสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ (Equity Dilution): เมื่อ VC เข้ามาลงทุน จะแลกด้วยหุ้นจำนวนหนึ่ง ทำให้ความเป็นเจ้าของของผู้ก่อตั้งอาจลดลง เช่น สตาร์ทอัพที่เคยมีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ 100% อาจลดลงเหลือเพียง 80% เพราะเมื่อรับเงินทุนมาต้องแลกกับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของบริษัทหรือสัดส่วนการถือหุ้น
  3. ค่าใช้จ่าย: อาจเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย เช่น ในกรณีที่การลงทุนที่มีเงื่อนไขซับซ้อน สตาร์ทอัพอาจต้องจ่ายเงินให้กับทนายความ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามข้อตกลง

หลังจากที่เราประเมินข้อดีข้อเสียได้แล้ว ลำดับถัดไป จะเป็นการวางแผนการใช้เงินทุนที่ชัดเจน สร้างความน่าชื่อถือของบริษัท เพื่อให้ความมั่นใจแก่ VC ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่ลงทุนไปสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด 

“มีแผนที่ชัดเจน”

การมีแผนที่ชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะการที่มีตัวเลข แต่ควรมีแผน "การใช้เงินทุน (Use of Fund)" ที่ระบุวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุนที่ได้รับ

ในส่วนใหญ่ หมวดหมู่หลักที่มักจะรวมอยู่ในแผนการใช้เงินทุน ได้แก่:

  1. การวิจัยและพัฒนา (R&D): เงินทุนที่จัดสรรเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ
  2. การขายและการตลาด (Sales & Marketing): เงินทุนที่จัดเตรียมไว้สำหรับกิจกรรมการส่งเสริมการขาย โฆษณา การจ้างพนักงานขาย และการเข้าร่วมกิจกรรมในอุตสาหกรรม และอื่น ๆ
  3. การดำเนินงาน (Operation): ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจในเชิงประจำวัน เช่น ค่าเช่าที่ ค่าน้ำ-ไฟ วัสดุสำนักงาน ฯลฯ
  4. รายได้เจ้าหน้าที่ (Payroll): จำนวนเงินที่จำเป็นสำหรับเงินเดือน สวัสดิการ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน (โดยส่วนใหญ่จำกัดเฉพาะพนักงานใหม่)
  5. การชำระหนี้ (Debt Service): ถ้าบริษัทมีหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระ อาจต้องมีเงินทุนที่ถูกตั้งไว้เพื่อชำระหนี้นี้
  6. รายจ่ายของต้นทุน (Capital Expenditures): เงินทุนที่ใช้สำหรับการซื้อหรือการบำรุงรักษาทรัพย์สินทางกายภาพ เช่น ที่ดิน อาคาร เทคโนโลยี ฯลฯ
  7. กองเงินสำรอง (Contingency or Reserve Fund): เป็นกองเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดไว้ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

การมีแผนการการใช้เงินทุนที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าใจ และมั่นใจต่อความเสถียรของธุรกิจของคุณมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อคุณมีแผนการแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ การเตรียมตัว

“เตรียมตัวด้วยเอกสารครบถ้วน”

ก่อนเข้าพบกับ VCs คุณต้องมีเอกสารและข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและแสดงภาพรวมของธุรกิจของคุณ เพื่อผู้ลงทุนเข้าใจในธุรกิจของคุณมากยิ่งขึ้น

    • การนำเสนอธุรกิจ (Pitch Deck): เอกสารสั้นๆ ที่เน้นไปที่ภาพรวมของธุรกิจ รวมถึงปัญหา วิธีแก้ไข ขนาดตลาด โมเดลธุรกิจ ทีมงาน และภาพรวมการเงิน
    • แผนธุรกิจ (Business Plan): ภาพรวมที่ละเอียดของยุทธศาสตร์และวิธีการปรับตัวและแผนการขยายตัว
    • การคาดการณ์ด้านการเงิน (Financial Projections): สภาพการเงินปัจจุบันและแนวโน้มการเงินในอนาคต โดยมักจะรวมถึงงบดุล งบกระแสเงินสด และงบกำไรขาดทุน
    • ตารางการถือหุ้น (Cap table): การแสดงโครงสร้างการถือครองของบริษัท และส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้น
    • แผนการลงทุน (Term Sheet): เอกสารที่บ่งบอกถึงเงื่อนไขการลงทุนจาก VC
    • รายการการตรวจสอบข้อมูลก่อนลงทุน (Due Diligence): รายการเอกสารที่ VC ต้องการเพื่อวิเคราะห์การลงทุน ประกอบด้วยสัญญา ข้อตกลง และข้อมูลเพิ่มเติม
    • เอกสารทางกฎหมาย: เช่น ใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท ข้อบังคับบริษัท รายงานการประชุม และสัญญาต่างๆ
    • ประวัติทีมผู้บริหาร: ชี้แจงความสามารถและประสบการณ์การทำงานของทีมผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหาร

    การมีเอกสารเหล่านี้พร้อมและครบถ้วนจะเพิ่มโอกาสในการขอรับการลงทุนจาก VC อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายนี้ จะทำยังไงให้นักลงทุนสนใจและจดจำเราได้?

    “ต้องโดดเด่น”

    VC ได้ยินการนำเสนอธุรกิจมากมายทุกวัน สิ่งที่คุณมีให้แตกต่างจากท่านอื่นคืออะไร? ความเป็นผู้นำแบบ "Rogue Entrepreneurship" หรือผู้ที่ไม่เดินตามทางที่มีอยู่แล้ว แต่ค้นหาความรู้ใหม่ๆ และเสนอแนวทางที่หลายคนอาจจะไม่ยอมรับในตอนแรก

    ตัวอย่าง:

    • Grab เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทขนส่งแท็กซี่ออนไลน์ แต่ได้ขยายธุรกิจไปสู่บริการอื่นๆ เช่น อาหาร การจัดส่ง และการชำระเงิน แทนที่จะยึดติดกับธุรกิจแท็กซี่แบบดั้งเดิม Grab ได้มองหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    • Instacard เป็นบริษัทบัตรเดบิตแบบเติมเงินที่ให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคาร Instacard ได้นำเสนอทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้

    นอกจาก Grab และ Instacard แล้ว ยังมีบริษัทอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบความสำเร็จจากความเป็นผู้นำแบบ "Rogue Entrepreneurship" ตัวอย่างเช่น

    • Sea Group บริษัทอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการต่างๆ เช่น Shopee, Lazada และ Garena
    • GoTo Group บริษัทเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ เช่น Gojek และ Tokopedia
    • Bukalapak แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการในอินโดนีเซีย

    ดังนั้น นักลงทุนจึงมองหาผู้ประกอบกิจการที่มีลักษณะดังนี้

    • มองหาโอกาสที่ไม่ถูกค้นพบ: พวกเขามักจะระบุและใช้ประโยชน์จากช่องว่างในตลาดที่คนอื่นมองข้าม
    • มีศักยภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลง: พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม นำไปสู่การเติบโตและกำไรอย่างรวดเร็ว
    • มีความสามารถในการป้องกันการแข่งขัน: ไอเดียหรือความสามารถของทีมที่แตกต่าง สร้างเส้นทางให้คู่แข่งยากที่จะเดินตาม
    • มองหาผลตอบแทนระยะยาว: ยิ่งความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยังไม่ถูกท้าทาย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตลาดก็ยิ่งมากขึ้น
    • ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม: สร้างมาตรฐานใหม่ในตลาดและอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ โมเดลทางธุรกิจ หรือกลยุทธ์

    ดังนั้น อย่าลืมว่านี่เป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ด้วยการเดินทางร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุนเพื่อมุ่งเน้นสู่เป้าหมายที่สอดคล้องกัน พร้อมด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนและมูลค่าที่สามารถจับต้องได้ การทำให้บริษัทประสบผลสำเร็จ และสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีคุณค่าในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

    .

    .

    สำหรับใครที่สนใจคลาสเรียน VC101 by Disrupt #5 (Venture Capital and Angel Investing Into The World of 10x Investment รุ่นที่ 5)
    รายละเอียดคอร์ส: https://drive.google.com/file/d/1FaFZKn2IuWN3gSe3AFj-KwiEz2y4shhb/view?usp=sharing

    .

    📅 Timeline: เรียน Onsite ทุกวันศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น. (ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม 2566) + คลาสเสริมอีก 3 ครั้ง + Optional Private Mentoring Session 

    🏢 สถานที่:  โรงแรม Villa Deva Bangkok 

    Price: 

    Single Pax 175,000/คน net (รวม Vat แล้ว)

    มาเรียนเป็นคู่ 150,000/คน net (รวม Vat แล้ว)

    📌สนใจสมัครคลิก: https://uhvug5i4sgr.typeform.com/VC101byDisrupt

    #VC101byDisrupt 

     

    Source:

    • https://www.forbes.com/sites/forbesagencycouncil/2023/07/18/venture-capital-is-not-a-lottery-ticket-for-business-success/?sh=1c689182bb1d 
    • https://www.forbes.com/sites/melissahouston/2023/07/06/a-beginners-guide-to-understanding-venture-capital-funding/?sh=1658d2a25f9f 
    • https://www.forbes.com/sites/forbesfinancecouncil/2023/06/15/intro-to-venture-capital-investing/?sh=2a48e6b718dc

    Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง