Q&A ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับงาน Minor Tasting The Future Hackathon 2018

1. Hackathon คืออะไร ? ไอเดียที่จะมาทำในงาน มีรูปแบบการแข่งขันเป็นอย่างไร ?
Hackathon คือ งานระดมสมองและสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนข้ามวันข้ามคืนเป็นเวลา 2 วันเต็ม ที่ให้ผู้ก่อตั้ง startups, designers, design thinkers, technologists, scientists, business persons รวมถึงคนหลากหลาย background มารวมตัวกันโดยเน้นคอนเซปท์ Build - Measure- Learn - Share ร่วมกันระดมสมอง คิดค้น และพัฒนานวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้ง business model ใหม่ แล้วแปลงไอเดียเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) พร้อมออกไปทดสอบกับลูกค้า/User จริงๆ รวมถึงสามารถปรึกษา Mentor เพื่อนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอ ภายในเวลา 2 วัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มักจะเป็น "ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ" หรือ "concept ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้" และสามารถนำไปพัฒนาต่อเนื่องได้หลังจากงาน Hackathon
สำหรับงาน “Minor Tasting The Future Hackathon” นี้ จะเน้นในเรื่อง Business (ไอเดียนวัตกรรม, แผนธุรกิจ, รูปแบบธุรกิจ Franschise แห่งอนาคต, รูปแบบร้านอาหาร Casual Dining แห่งอนาคตที่น่าสนใจ) และ Technology (Deeptech - FoodTech, Mobile Application/Website, Software-As-A-Service, AI/ML) โดยสามารถออกผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือนวัตกรรมใหม่ในงาน หรือแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Food, Dining และ Restaurant ภายใต้ Themes ทั้ง 7 ที่เรากำหนด
2. ขั้นตอนการสมัครเป็นอย่างไร จะสมัครต้องใช้อะไรบ้าง ?
กรอกแบบฟอร์มการสมัครเข้ามาภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 โดยประกอบไปด้วย
- ข้อมูลของผู้เข้าร่วม - ทีมต้อง มีสมาชิก 2-3 คนขึ้นไป
- Pitch Deck ไฟล์ระบุรายละเอียดไอเดีย นวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์
- ตอบคำถามทั่วไป เช่น ทำไมถึงสนใจด้านอาหาร ประสบการณ์/ Passion
ผู้ที่ได้รับคัดเลือก 20 ทีมสุดท้ายเท่านั้น ที่จะมีโอกาสได้เข้าร่วมงานในวันที่ 1-2 ธันวาคม
3. Pitch Deck คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ?
ไฟล์ presentation ขนาดสั้นไม่เกิน 10 Slides ที่แนะนำทีมงานและ ไอเดียคร่าว ๆ ที่จะทำใน Hackathon, Pain Point อะไรที่คุณกำลังจะแก้, ปัญหานี้ทำไมถึงใหญ่ และสำคัญ พร้อมเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรเลือกทีมคุณ
4. ยังไม่มีทีม แต่ต้องการร่วมแข่งขัน ทำอย่างไรดี ?
สามารถกรอกฟอร์มไว้ได้ โดยทางทีมงาน Disrupt จะช่วยหาผู้ร่วมทีมให้คุณ โดยมีการจัด Matchmaking Event ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ให้ผู้คนที่อยากแข่งแต่ยังไม่มีทีมได้มาเจอกัน
5. ในวันงาน Hackathon จริง มีลักษณะเป็นอย่างไร ?
เฉพาะ 20 ทีมสุดท้าย (Finalists) ที่ผ่านการคัดเลือกเท่านั้น ที่จะได้เข้าร่วมแข่งขัน โดยในระยะเวลางาน จะมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
- Lecture Session ร่วมฟังบรรยายเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของอนาคตอุตสาหกรรมอาหาร ในหัวข้อ Future of food retail industry และความรู้ต่าง ๆ ที่สำคัญกับ Startup เช่น การสร้าง Prototype อย่างรวดเร็ว รวมถึงวิธีการ Pitch ใน Session Pitch Clinic
- Mentoring Session ให้ทีมได้พูดคุยปรึกษา mentor ระดับ Top ของประเทศ เช่น คุณวิลเลี่ยม ไฮเน็ค Founder and Group CEO ของ Minor International , คุณกระทิง พูลผล Managing Partner ของ 500 TukTuks, คุณยอด ชินสุภัคกุล CEO ของ Wongnai, คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ CEO จาก Ookbee, คุณสมโภชน์ จันทน์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการ dtac accelerate เพื่อขอคำแนะนำ และความเห็น ในการพัฒนาต่อยอดไอเดียหรือ product
- Sprint มีเวลาจัดสรรให้ทีมได้ทำงาน เพื่อระดมสมองปรับแผนธุรกิจ แก้ไขพัฒนา Product ต่อ ตามที่ได้รับ feedback เพิ่มเติมจาก mentor
- First Round Pitch (Pitch 3 mins + Q&A 2 mins / Team)
หลังจากที่ได้พัฒนาไอเดียหรือ product เพิ่มเติมกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ช่วงที่ต้องนำเสนอให้คณะกรรมการเป็นเวลา 3 นาที และถามตอบ 2 นาที เพื่อคัดเลือก 10 ทีม เข้าสู่ Final Round Pitch
- Final Round Pitch on Stage (Pitch 4 mins + Q&A 3 mins /Team)
10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ขึ้น Pitch บนเวที เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการ เป็นเวลา 4 นาที และถามตอบ 3 นาที เพื่อตัดสินหาผู้ชนะ รางวัลที่ 1 และ 2 และ 3 ตามลำดับ
สามารถดู agenda ของวันงาน Hackathon ได้ที่ >> Minor Tasting The Future Hackathon
6. ผู้ชนะในงาน Hackathon จะได้รับอะไรบ้าง ?
นอกเหนือจากรางวัลที่ 1 ที่จะได้รับ 100,000 บาท และ fast track เข้าสู่ dtac accelerate Batch 7 รอบ Final Pitching Day ในปี 2019, ที่ 2 ได้รับ 70,000 บาท และที่ 3 ได้รับ 50,000 บาทซึ่งเป็นเงินรางวัลให้เปล่า
หลังจบงาน ทีมที่มี Product ที่น่าสนใจ รวมถึงมี Synergy กับ Minor จะได้รับโอกาส Fast Track ในการพิจารณาการลงทุนเพิ่มเติมจาก Minor Group และ 500 TukTuks (Runway to Seed/ Series A Funding) ***ทั้งนี้ขึ้นกับความน่าสนใจของ Product และทีมนั้นๆ
7. มีเกณฑ์การตัดสินทีมที่เข้ารอบและผู้ชนะอย่างไร ?
- Innovation : ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ มีความสร้างสรรค์ น่าสนใจ มีนวัตกรรม มีประโยชน์ และมี Impact ต่ออุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจอาหาร และร้านอาหาร
- Business Model : ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้ในสภาพธุรกิจจริงในเมืองไทย และมีโอกาสเติบโตในระดับภูมิภาค
- Synergy: ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ มีความเกี่ยวข้อง และมีความเป็นไปได้ ที่จะสามารถต่อยอดธุรกิจในเครือของไมเนอร์ฟู๊ด
- Presentation: Pitch Deck อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลสำคัญครบถ้วน รวมถึงสามารถสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอผลงาน รวมถึงการตอบคำถามของคณะกรรมการผู้พิจารณา
- Relevant Experience: ประสบการณ์ (หากมีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ): ประสบการณ์โดยรวมของทีมที่มีเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ เช่น อยู่ในธุรกิจร้านอาหาร, ค้าปลีกอาหาร, Blogger, Foodie ที่ชอบรีวิวอาหาร, เคยทำ Startup, เคยเขียนโปรแกรมร้านอาหาร, เคยบริหารงานร้านอาหาร หรือ นักศึกษา/กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบอาหาร หรือ ธุรกิจอาหาร
8. ภายในงาน จะได้พูดคุยปรึกษากับ mentor ทุกท่านครบเลยไหม ?
แต่ละทีมที่ผ่านเข้ารอบได้มาร่วมแข่ง hackathon (20 ทีมสุดท้าย) จะได้รับแบบฟอร์มให้ลงทะเบียนเลือก mentor ในฟอร์มจะมีให้จัดลำดับตามความสนใจ ทางทีมงานจะทำการ match ให้ โดย 1 ทีมจะได้พูดคุยกับ mentor อย่างน้อย 2 ท่านในงาน
9. ตัวอย่างนวัตกรรมและ startup เกี่ยวกับ Food/Dining ที่น่าสนใจในไทย
- JuiceInnov8 เป็น deeptech startup รวมตัวโดยทีมนักวิจัยที่เน้นในเรื่อง food biotechnology โดยได้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในน้ำผลไม้ ได้ถึง 30-50% ทำให้มีแคลอรี่ต่ำแต่ยังคงความหวานและรสชาติผลไม้ไว้ได้ ตอบโจทย์เรื่อง health trend ของผู้บริโภค
- Wongnai แพลต์ฟอร์มรีวิวร้านอาหารที่มีผู้ใช้มากที่สุดในไทย
- FoodStory ระบบ POS และบริหารจัดการสำหรับร้านอาหาร ช่วยให้ร้านอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น
- QueQ แอพพลิเคชั่นจัดการจองคิวร้านอาหาร
- บริการจัดส่งอาหาร อย่าง Foodpanda, LINE MAN, Grab Food
ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถกรอกใบสมัครได้โดยตรงที่ Minor Tasting The Future Hackathon 2018
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถส่งข้อความมาถามได้ที่เพจ DisruptUniversity