รับมือหัวหน้า Toxic อย่างไรให้ทีมไม่พัง เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน

May 9, 2025
Disrupt Team
หัวหน้า Toxic
หัวหน้า Toxic

หัวหน้า Toxic หรือที่เรารู้จักกันในฐานะ หัวหน้างาน Toxic หรือ ผู้นำที่ไม่ดี คือหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้หลายองค์กรต้องสูญเสียทั้งทรัพยากรบุคคลและศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว พฤติกรรมของหัวหน้าลักษณะนี้อาจไม่แสดงออกอย่างรุนแรงในทันที แต่ส่งผลสะสมต่อทั้งสุขภาพจิต บรรยากาศในทีม และประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร

หากองค์กรต้องการพลิกโฉมเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน การเข้าใจและจัดการกับพฤติกรรมผู้นำ Toxic อย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสามารถพัฒนาได้ผ่าน หลักสูตรผู้บริหาร ที่จะช่วยสร้างผู้นำยุคใหม่ที่มีความเข้าใจเพื่อนร่วมทีม และมีภาวะผู้นำที่แท้จริง 

Highlight

  • หัวหน้า Toxic คือผู้นำที่แสดงพฤติกรรมเป็นพิษ เช่น ชอบควบคุม ตำหนิ หรือไม่เห็นคุณค่าของทีม มี Empathy ต่อพนักงานต่ำ
  • พฤติกรรมผู้นำที่ไม่ดีจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโดยตรง
  • รับมือได้ด้วยการพัฒนาทักษะภายใน เช่น การสื่อสารอย่างมีสติ และการสร้าง Boundary ที่เหมาะสม
  • องค์กรควรเร่งลงทุนในการอบรมพนักงาน เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำที่ถูกต้องพร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมที่เน้น Empathy และความเป็นทีมเวิร์ค

หัวหน้า Toxic ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอย่างไร

หัวหน้า Toxic มักจะกดดันทั้งในแง่ของการทำงานและสภาพจิตใจของพนักงาน อาจมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด ไม่เปิดรับความคิดเห็น หรือคุกคามจนทำให้พนักงานรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่กล้าแสดงออก และไม่อยากเติบโตต่อในองค์กรนั้น ๆ การมีทัศนคติที่ดี และเปิดพื้นที่ให้ฟังเสียงพนักงานจึงเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับผู้นำทุกระดับ

พฤติกรรมหัวหน้า Toxic มีสาเหตุมาจากอะไร?

การเป็นหัวหน้า Toxic ไม่ได้เกิดจากอุปนิสัยส่วนตัวเสมอไป แต่อาจเป็นผลจากวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ค่ากับผลลัพธ์มากกว่าคน กระบวนการประเมินผลที่ไม่รอบด้าน หรือความเครียดจากตำแหน่งที่ได้รับแรงกดดันสูง หากผู้นำไม่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำ หรือไม่ได้รับการอบรมพนักงานที่เน้นทักษะการบริหารคน ก็อาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ส่งผลเสียโดยไม่รู้ตัว

สาเหตุที่ทำให้หัวหน้า Toxic อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้

  • ความไม่มั่นคงในตนเอง: หัวหน้าบางคนแสดงพฤติกรรมควบคุมเพราะกลัวสูญเสียอำนาจ หรือกลัวว่าจะไม่ถูกยอมรับ
  • ขาดความตระหนักรู้ทางอารมณ์ (Self-Awareness): ไม่เข้าใจผลกระทบของพฤติกรรมตัวเองที่มีต่อทีม
  • วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการเติบโต: โดยเฉพาะองค์กรที่ให้ค่ากับผลลัพธ์มากกว่าความสัมพันธ์หรือการพัฒนาภาวะผู้นำ
  • ไม่มีพื้นที่ให้เรียนรู้จากความผิดพลาด: ขาดการฝึก Empathy และทักษะการบริหารคนอย่างเป็นระบบ
  • พฤติกรรมเลียนแบบ: เคยอยู่ใต้การบริหารของหัวหน้างาน Toxic มาก่อน จึงซึมซับและทำตามโดยไม่รู้ตัว

หัวหน้า Toxic มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแสดงพฤติกรรมอย่างไร

ประเภทของหัวหน้า Toxic

หัวหน้า Toxic มีได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละประเภทส่งผลต่อพนักงานแตกต่างกัน:

  • หัวหน้าเจ้าอารมณ์ : แสดงออกด้วยการใช้อารมณ์เกินเหตุ เช่น ตะคอก ดุด่า ประชด หรือพูดจาเสียดสีต่อหน้าผู้อื่น
  • หัวหน้าจอมเผด็จการ (Micromanager) : ไม่ไว้วางใจทีม ต้องรู้และสั่งการทุกขั้นตอนอย่างละเอียด ไม่เชื่อใจใคร 
  • หัวหน้าสองมาตรฐาน : ปฏิบัติกับสมาชิกในทีมไม่เท่าเทียม แสดงออกชัดเจนถึงความลำเอียงหรืออคติ
  • หัวหน้าจอมเล่ห์เหลี่ยม : ใช้อำนาจบีบบังคับให้เกิดผลลัพธ์ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านจิตใจหรือบรรยากาศในทีม
  • หัวหน้า Ego สูง : มักมองว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น ไม่รับฟังคำแนะนำหรือข้อเสนอจากทีม เชื่อว่าตนถูกเสมอและต้องการให้ผลงานทุกอย่างสะท้อนความสำเร็จของตัวเอง
  • หัวหน้าขาดความเมตตา : ไม่เปิดใจฟังความคิดเห็น ไม่เข้าใจมุมมองหรือข้อจำกัดของแต่ละบุคคล

พฤติกรรมเหล่านี้ไม่เพียงทำร้ายความสัมพันธ์ในทีม แต่ยังลดโอกาสในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีอย่างถาวร

5 สัญญาณเตือน! คุณกำลังทำงานกับหัวหน้า Toxic หรือเปล่า?

เพื่อให้มั่นใจว่าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานอยู่กับหัวหน้า Toxic หรือเปล่า ลองพิจารณาจาก 5 สัญญาณเตือนต่อไปนี้

  1. อัตราการลาออกในทีมสูงกว่าปกติ หรือมีคนลาป่วยบ่อยกว่าทีมอื่น
  2. บรรยากาศในการประชุมตึงเครียดเสมอ พนักงานไม่กล้าเสนอความเห็น
  3. หัวหน้ามักตำหนิพนักงานต่อหน้าคนอื่น แต่ไม่เคยยอมรับความผิดตนเอง
  4. ไม่มีการสนับสนุนหรือให้ Feedback ที่พัฒนาได้จริง
  5. มีการแบ่งพวกในทีม หรือเกิดการแข่งขันภายในมากกว่าความร่วมมือ

หากพบคุณกำลังเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้อยู่หลายข้อ แน่นอนว่าหัวหน้าของคุณอาจจะกำลังทำตัว Toxic เป็นไปได้ควรเริ่มหาทางรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างเร็วที่สุด

สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อหัวหน้า Toxic บั่นทอนพนักงานและองค์กร

ไม่เพียงแค่สุขภาพจิตพนักงานที่เสียหายเท่านั้น การมีผู้นำที่ไม่ดี ยังส่งผลให้ทีมขาดความร่วมมือ ขาดแรงจูงใจ และสุดท้ายองค์กรต้องเผชิญกับอัตราการลาออกที่สูงขึ้น ซึ่งสร้างภาระทั้งด้านเวลาและต้นทุน การเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร และทีมเวิร์ค ให้กับพนักงานจึงเป็นวิธีป้องกันความเสียหายล่วงหน้า

แนวทางรับมือหัวหน้า Toxic อย่างสร้างสรรค์และได้ผลจริง

รับมือหัวหน้า Toxic

การเผชิญหน้ากับหัวหน้างาน Toxic อาจเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนรู้สึกอึดอัด เครียด หรือหมดแรงใจในการทำงาน แต่การนิ่งเฉยไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป หากเราเรียนรู้ที่จะรับมืออย่างมีสติ เราจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ พร้อมปรับตัวเพื่ออยู่รอดและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ได้อย่างมืออาชีพ 

รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง

ก่อนจะโต้ตอบหัวหน้า Toxic สิ่งแรกที่ควรทำคือควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้มั่นคง เพราะการตอบโต้ด้วยอารมณ์รุนแรงจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง การหายใจลึก ๆ หรือหยุดพักเพื่อหาทางออกอย่างสันติ อาจจะทำให้สถานการณ์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีมากกว่าการตอบโต้ด้วยอารมณ์

ขอคำแนะนำจากคนที่ไว้ใจได้

หากคุณเริ่มรู้สึกว่าความเครียดจากการทำงานกับหัวหน้ากำลังส่งผลต่อจิตใจหรือสุขภาพ ลองเปิดใจพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ หรือขอคำปรึกษาจาก HR เพราะการได้รับมุมมองใหม่จากผู้อื่นอาจช่วยให้คุณมองปัญหาในมุมที่ต่างออกไป

คิดบวกในมุมที่เป็นไปได้

แม้สถานการณ์จะดูไม่เอื้ออำนวย แต่การพยายามโฟกัสกับสิ่งที่ควบคุมได้ เช่น การพัฒนาตนเอง หรือการทำผลงานให้ดีภายใต้ข้อจำกัด จะช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังมากขึ้นในการรับมือกับหัวหน้า Toxic

มองเป้าหมายระยะยาวในสายงานของคุณ

การทำงานกับหัวหน้าที่มีทัศนคติเชิงลบไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อเส้นทางอาชีพของคุณ ลองตั้งเป้าหมายในระยะกลางถึงยาว โฟกัสการพัฒนาตนเองและมองหาทางลัด เช่น การเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านการ Training ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถให้เป็นบันไดสู่ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

รู้จักปฏิเสธอย่างมืออาชีพ

คุณมีสิทธิที่จะปฏิเสธงานที่ไม่สมเหตุสมผล หรือคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง การปฏิเสธอย่างมืออาชีพ โดยยึดหลักเหตุผลและเคารพซึ่งกันและกันคือเครื่องมือสำคัญในการตั้งขอบเขตที่ชัดเจน

ตัดสินใจออกจากองค์กรอย่างมีเหตุผล

หากคุณพยายามทุกทางแล้วแต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น และส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย-ใจอย่างรุนแรง การโบกมือลาองค์กรอาจเป็นการเลือกที่ดีที่สุด เพราะคุณควรอยู่ในที่ที่มองเห็นคุณค่าและเปิดโอกาสให้เติบโตได้อย่างแท้จริง โดยอาจมีแนวทางในการสื่อสารดังนี้ 

  • ตั้งขอบเขตให้ชัดเจน: บอกได้ว่าอะไรที่ยอมรับไม่ได้
  • ใช้การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์: พูดจากข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์
  • บันทึกเหตุการณ์: เพื่อเป็นข้อมูลในกรณีต้องขอความช่วยเหลือจาก HR 
  • พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง: ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills 

เปลี่ยนหัวหน้า Toxic สู่ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อความยั่งยืนองค์กร

ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและวัฒนธรรมการทำงานมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการคัดกรองและพัฒนาผู้นำในทุกระดับ พฤติกรรมของหัวหน้า Toxic ควรถูกแก้ไขตั้งแต่ต้นทาง เช่น การส่งอบรม Empathy, การปลูกฝังทัศนคติที่ดี และการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรอย่างแท้จริง

เพราะการเปลี่ยนแปลงผู้นำไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากคุณหรือองค์กรของคุณต้องการปั้นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้าใจมนุษย์ มีทักษะในการสร้างทีม ขอแนะนำ หลักสูตร Manager of the Future ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างผู้นำยุคใหม่โดยเฉพาะจาก Disrupt Technology Venture เตรียมพร้อมผลักดันองค์กรของคุณให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง