Big Data คืออะไร องค์กรนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?

May 13, 2024
Big Data คือ

ในยุคที่โลกต้องขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล และการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI (Artificial Inteligence) ทำให้การเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า และสามารถช่วยองค์กรในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นข้อมูล Big Data เหล่านี้ ยังสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย เราจึงต้องทำความเข้าใจความหมาย ความสำคัญ และการนำไปประยุกต์ใช้ของ Big Data เหล่านี้

Highlight 

  • Big Data สามารถถูกนำมาใช้ ทำความเข้าใจปัญหา และความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด
  • ธุรกิจใช้ Big Data เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ เช่น เทรนด์ธุรกิจ ความนิยม อัตราการเติบโตของกลุ่มผู้บริโภค หรือแม้กระทั่งความเสี่ยงที่องค์กรจะต้องเผชิญ
  • การนำ Big Data ไปใช้ประโยชน์ ในด้านการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • เพื่อการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า หรือ Customer Service ผ่านการนำไปประยุกต์กับเทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น AI หรือ Chatbot

มาทำความรู้จัก Big Data คืออะไร?

Big Data คือ ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ถูกเก็บบันทึกโดยองค์กร ซึ่งชุดข้อมูลอาจจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับลูกค้า กระบวนการทำงานในองค์กร หรือ การทำธุรกรรมต่างๆ โดยอาจจะถูกจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลในองค์กร ผ่าน Clound Computing เป็นต้น 

ชุดข้อมูลในยุค Digital Disruption นั้นมีจำนวนมหาศาล และถูกสร้างขึ้นใหม่ในทุก ๆ วัน เทคโนโลยีหลายตัวจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น เช่น การใช้ AI ในการประมวลผลและจัดกลุ่มข้อมูล หรือการใช้ Cloud เพื่อจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากเพื่อเชื่อมต่อทั่วทั้งองค์กร

 และเนื่องจากการมีการเก็บและประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ Big Data จึงแตกต่างจากข้อมูลแบบธรรมดา คือมีความยืดหยุ่น และผันผวน รวมถึงสะท้อนตัวรูปแบบพฤติกรรม และ Pattern ของข้อมูลที่แตกต่างกันได้ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจให้ดีขึ้นได้

กระบวนการทำงานของ Big Data

Big Data

องค์กรที่สนใจเริ่มทำกระบวนการใช้ Big Data และอยากเริ่มต้นทำ สามารถเรียนรู้กระบวนการทำงานของ Big Data ที่สำคัญ ดังนี้

การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล (Storage)

ก่อนที่จะมีการนำ Big Data มาใช้ได้นั้น จะต้องผ่านการจัดเก็บข้อมูล โดยจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลดิบ (Raw Data) มาเพื่อประมวลผล ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น AI และ Machine Learning ในการประมวลผลข้อมูล หรือการใช้ เครื่องมือ Martech มาช่วยในการนำ Big Data ไปประกอบการตัดสินใจ และการคาดการณ์ เทรนด์การตลาดของผู้บริโภค

การประมวลผลข้อมูล (Processing) 

หลังจากเก็บข้อมูลดิบมาแล้ว การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ต่อ โดยรูปแบบการจัดระเบียบข้อมูลอาจประกอบไปด้วย การจัดกลุ่มข้อมูล การคลีนข้อมูล การเรียงลำดับข้อมูล เป็นต้น

การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล (Data Analytics and Visialization) 

โดยองค์กรที่มีการทำ Digital Transformation อาจมีการใช้ Machine Learning เพื่อการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ และช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยองค์กรหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งผู้ที่นำข้อมูล Big Data เหล่านี้ไปใช้ อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้มาทำ Visualization ที่มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น ภาพแผนภูมิ ตาราง หรือกราฟที่แสดงค่าข้อมูลที่สำคัญ

โครงสร้างของ Big Data

ข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data)

หมายถึง Big Data หรือข้อมูลที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบ ทั้งในแง่ของโครงสร้างและสามารถระบุออกมาได้อย่างชัดเจนทั้งในแบบตัวเลข ที่พร้อมใช้ง่าย เช่น Transaction ของลูกค้า จำนวนยอดขาย หรือการเติบโตของหุ้นในตลาดหุ้นห หรือ ข้อมูลในตาราง Excel เช่น ชื่อ, อายุ, น้ำหนัก, ส่วนสูง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำเอาไปใช้งานได้เลยทันที

ข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)

ข้อมูลกึ่งโครงสร้างเกิดจากการอยู่ระหว่างกลางของ Structure data ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย และ Unstructured data ซึ่งเป็นข้อมูลที่ง่ายและสะดวกในการจัดเก็บ 

ซึ่ง Semi-structured data เอาข้อดีของข้อมูลทั้ง 2 รูปแบบมาคือใช้การเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Unstructured data ที่เก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบและได้จากหลากหลายแหล่งที่มา แต่ทำให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งานได้ง่ายเหมือนกับ Structure data

ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบ Semi-structured data ได้แก่ Hash-tag ตามโลกออนไลน์ซึ่งรูปแบบการเก็บข้อมูลคือจะเป็นโพสต์หรือรูปภาพ แต่เราสามารถดึงมาใช้งานได้ง่ายขึ้นจากการที่เราเลือก Hash-tag ที่เฉพาะเจาะจง

ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data)

Unstructured data เป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพ คลิปวิดีโอ ไฟล์เสียง หรือเป็นข้อความที่เราคุยกันบนโลกออนไลน์  และที่สำคัญคือเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากคนทั่วไปสามารถสร้างสรรค์ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างได้อย่างไม่จำกัดบนโลกออนไลน์ ผ่านการเชื่อมโยงกับเครือข่าย Internet การที่องค์กรสามารถแปลงข้อมูลเหล่านี้เป็น Insight ได้ จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจมากกว่านั่นเอง

ประโยชน์ของ Big Data กับธุรกิจ

Big Data Consumer Insights

เข้าใจลูกค้าและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

Big Data ช่วยทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าดียิ่งขึ้น เพราะองค์กรสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการเข้าใจลูกค้า และดูแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ โดยอาจอ้างอิงจากประสบการณ์ของลูกค้าในอดีตและเก็บข้อมูลทุกจุดที่ผู้บริโภคได้มีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์  เช่น การเก็บข้อมูลรีวิวสินค้า แบบสำรวจความพึงพอใจสินค้า และบริการ ประวัติการซื้อขาย เป็นต้น โดยแบรนด์ต่างๆได้มีการนำ Big Data เข้ามาใช้กับระบบหลังบ้าน เช่น การใช้ Chat Bot โต้ตอบกับลูกค้าแบบเรียลไทม์ที่ตอบสนองได้ตรงจุด

หรือไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เทรนด์แบบเรียลไทม์ที่ทำได้ทันที จากการนำ Machine Learning และ AI เข้ามาใช้ ทำให้ธุรกิจการเงิน สถาบันการเงิน สามารถใช้วิเคราะ์หุ้น ราคาสินทรัพย์ หรืออัตราการเติบโตของหุ้นได้ ซึ่งส่งผลให้ระบบหน้าบ้านสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

วิเคราะห์ความต้องการของตลาดในอนาคต

แนวโน้มของตลาดเป็นสิ่งสำคัญ หากองค์กรสามารถอ่านเทรนด์ได้ขาดมากกว่าจะทำให้องค์กรได้เปรียบ การประมวลผล Big Data จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจภาพอนาคตของตลาด และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งอาจจะมีการใช้เครื่องมือ Analytics ที่หลากหลาย โดยที่เป็นนิยม เช่น Google Trend ที่ใช้วิเคราะห์จำนวนเสิร์ชของแต่ Key Word หรือคำศัพท์ เพื่อดูเทรนด์ของความสนใจ เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต

ปรับปรุงกระบวนการทำงาน

Data-driven Organization มีข้อดีอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยทำให้องค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงเป็น Digital Transformation ได้ยังช่วยพัฒนากระบวนการทำงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัดกระบวนการทำงานที่ไม่สำคัญออก และทำให้การตัดสินใจแม่นยำมากขึ้น ลดเวลาการประชุมซ้ำซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และความเสี่ยงจากการตัดสินใจผิดพลาดอีกด้วย เช่น การที่บริษัทโลจิสติกส์ ขนส่ง ใช้ Big Data ในการคำนวณ ต้นทุน ระยะเวลา และระยะทางของการขนส่ง ทำให้สามารถจัดเส้นทางที่ดีที่สุดในการขนส่งแต่ละรอบได้

พัฒนาศักยภาพธุกิจ 

Big Data ช่วยพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ เพราะช่วยทำให้ธุรกิจได้เห็นโอกาส และประโยชน์ใหม่ๆ จากข้อมูลจำนวนมาก การใช้ Big Data ในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะกับองค์กรที่ทำงานด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังกระจายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกมากมาย หากอุตสาหกรรมนั้นๆเป็น Data-driven Organization ยกตัวอย่าง เช่น  โรงพยาบาลและการให้บริการทางการแพทย์ (Healthcare) ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มการรักษาผู้ป่วย เพิ่มศักยภาพธุรกิจผ่านการต่อยอดโดยนำข้อมูลไปใช้ทำโปรโมชั่น หรือ การทำประกันสุขภาพเพื่อผู้ที่เข้ามารักษา

Big Data ควรประกอบด้วยคุณลักษณะใดบ้าง?

คุณลักษณะของ Big Data ประกอบไปด้วย 6V ดังนี้

  • ปริมาณมาก (Volume): Big Data ต้องเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และถูกจัดเก็บได้ทั้งแบบมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้าง โดยในปัจจุบันจะมีการจัดเก็บผ่านทั้งช่องทางแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งต้องมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) หรือเทียบเท่ากับข้อมูล 1,000 GB ซึ่งประมาณได้กับสมาร์ทโฟนความจุ 128 GB จำนวน 8 เครื่อง
  • มีความรวดเร็ว (Velocity): แน่นอนว่าข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากและมีความต่อเนื่องจึงจะเป็น Big Data และเป็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ คือชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นถูกจัดเก็บทันที และเนื่องจากมีปริมาณมาก จะทำให้ Big Data เหล่านั้น ไม่สามารถผ่านการประมวลผลแบบ Manual หรือการใช้เพียงแค่คนก็สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีขั้นสูงในการประมวลผลข้อมูล
  • มีหลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety): Big Data ควรมาจากหลากหลายที่มาและรูปแบบ โดยอาจจะมีทั้งแบบที่เป็น รูปภาพ วิดีโอ ตัวอักษร อาจจะมาจากทั้งในองค์กร ออฟไลน์ ออนไลน์ หรือมาจาก Open Source ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เปิดให้คนเข้าถึงได้ทั่วไป
  • ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity): Big Data เป็นข้อมูลที่ยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที เพราะมีข้อมูลปริมาณมหาศาล ดังนั้นจะต้องมีการจัดรูปแบบก่อน จึงจะนำไปใช้งานได้ 
  • แปรผันได้ตลอดเวลา (Variability): ประกอบกับจำนวนและความเร็วแล้ว Big Data จึงเป็นข้อมูลที่มีความแปรผันได้ตลอดเวลา ดังนั้นรูปแบบการใช้งานอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูล แหล่งที่มา หรือปริมาณ ณ ขณะนั้น
  • เป็นข้อมูลที่มีมูลค่า (Value): มูลค่าของ Big Data เกิดจากการประมวลผลข้อมูลและการนำไปใช้ ซึ่งเกิดจากมูลค่าของข้อมูลที่มีลักษณะที่แตกต่างกันตามกรณีการใช้ เช่น ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์เชิงลึก เป็นข้อมูลเชิงลึกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ จะเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าขึ้นมา 

การจะใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้นั้น จำเป็นต้องหาความเชื่อมโยมของข้อมูล และต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กันของข้อมูลด้วยเมื่อถูกนำมาใช้ด้วย จึงจะทำให้องค์กรสามารถจัดเก็บ Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้ Big Data ของธุรกิจ

Google

บริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านเทคโนโลยีและการเชื่อมโยงข้อมูล ที่รู้จักกันดีในนามว่า Google เป็นหนึ่งใน Data-driven Organization ที่มีตัวอย่าง Use Case ที่โดดเด่น และมีการใช้ประโยชน์จาก Big Data ในการเชื่อมฐานข้อมูลเพื่อดึงประสิทธิภาพออกมาจากทุกโปรดักของ Google เช่น มีการทำเครื่องมือในการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล Data จากการ Search ใน Google ออกมา โดยมีการประมวลผลการจัดอันดับ การนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ และการจัดทำข้อมูลดัชนี เช่น Google Trends และ Google Analystics ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูล และเรียกดูข้อมูลจำนวนมากในรูปแบบของ Dashboard โดยผู้ใช้เหล่านี้สามารถดึงประโยชน์ของ Big Data ออกมาใช้ได้โดยง่าย ผ่านการดูกราฟเทรนด์ และใช้ตัวเลขจากการวิเคราะห์ไปพัฒนาแคมเปญหรือสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคยิ่งขึ้น

ซึ่งคำค้นหา (Search Query) ของผู้บริโภคเหล่านี้นอกจากจะสะท้อนความเป็นไปได้ในอนาคตแล้ว ยังสะท้อนความชื่นชอบและความสนใจของผู้บริโภคได้ ผ่านการที่ AI และอัลกอริทึ่มของ Google เรียนรู้พฤติกรรมของเรา นอกจากนั้น ข้อมูล Real Time ของ Big Data ยังทำให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลที่ตรงตัวกับบริบทที่เป็นปัจจุบันและเฉพาะตัว เช่น การดูเรื่องความหนาแน่นของสภาพการจราจร ผ่าน Google Map เป็นต้น 

American Express

American Express บริษัทการเงินที่ให้บริหารบัตรชำระเงินหรือบัตรเครดิต ได้มีการนำ Big Data มาใช้เพื่อการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ของธุรกิจ โดยมีการใช้ Big Data ในการคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้า โดยเน้นไปที่การตรวจดูประวัติการทำธุรกรรม จากนั้นก็สร้างโมเดลเพื่อใช้ในการคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้าล่วงหน้าขึ้นมา เพื่อใช้คู่กับระบบธุรกิจอัจฉริยะ หรือ AI ที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงของการชำระหนี้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปใช้บริการจากผู้ให้บริการทางการเงินรายอื่น

นอกจากนี้ American Express ยังใช้ AI เข้ามาวิเคราะห์ตัว Big Data ที่สะท้อนถึงธุรกรรมที่น่าสงสัย และรูปแบบของธุรกรรมทางการเงินที่ทุจริตได้อีกด้วย

McDonald’s

McDonald’s  หรือร้านอาหารแฟรนไชส์ ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังที่ใครๆต่างก็รู้จัก ได้มีการขับเคลื่อนองค์กรโดยเฉพาะการทำ Customer Service ผ่านการทำ Big Data โดยมีการใช้ทั้งเทคโนโลยีของ AI ประเภท Predictive AI มาผสมผสานกับ Big Data ที่เป็นข้อมูลแบบ Real Time ในการใช้ประโยชน์ เพื่อการทำการตลาด เช่น 

  • การออกแบบ Personalized Marketing ผ่านข้อมูล Real Time ของ อากาศ การจราจร ช่วงเวลาประจำวัน เพื่อนำเสนอเมนูที่สอดคล้องกับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ 
  • นำเสนอโปรโมชั่นที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานบน Application โดนจะช่วยคัดกรอง และแนะนำเมนูให้ลูกค้าจากข้อมูลการบริโภคในอดีต ซึ่งช่วยในการตัดสินใจ และเพิ่มยอดขายในที่สุด
  • ใช้ฐานข้อมูล Big Data มาคาดการณ์ และออกแบบสินค้า หรือเมนูที่มีความต้องการในอนาคต

บทสรุป Big Data

จะเห็นได้ว่าการใช้ Big Data มาบริหารธุรกิจนั้น ช่วยให้องค์กรแสวงหาโอกาส และสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้มากขึ้น ประโยชน์ของ Big Data นั้นครอบคลุมตั้งแต่การปรับปรุงกระบวนการทำงาน ความเข้าใจลูกค้า และการตอบสนองแต่เทรนด์ในอนาคต ควบคู่กับเทคโนโลยีอย่างเช่น AI หรือ Machine Learning ที่ส่งผลให้ธุรกิจมีความคล่องตัว และแม่นยำมากยิ่งขึ้นไปอีก 

การที่องค์กรต้องการทำ Digital Transformation นั้นไม่ง่าย หากต้องเริ่มจากฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงและมีปริมาณมากจึงจะสร้างประโยชน์ได้ดี อยากเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงโดยทำความเข้าใจเรื่อง Big Data และการ Transform องค์กร สามารถติดต่อทีม Disrupt Technology Venture ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่เคียงข้างทุกการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดขององค์กรได้เลยที่ Disrupt Corporate Program

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง